SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA
กรกฎาคม 7th, 2017 by jittiwan

บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล

ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA

RDA  มาจากคำว่า Resource Description and Access หมายถึง มาตรฐานการลงรายการและการเข้าถึงทรัพยากรในรูปแบบดิจิทัล

เริ่มใช้เมื่อปี ค.ศ.1997 เป็นมาตรฐานการลงรายการรูปแบบใหม่ ที่ได้รับการออกแบบสำหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัล กำลังเป็นที่สนใจ และเริ่มเข้ามามีบทบาทในการลงรายการบรรณานุกรมแทนที่ AACR II

RDA เป็นมาตรฐานการลงรายการใหม่  ที่ได้รับการออกแบบสําหรับใช้ในสภาพแวดล้อมที่เป็นดิจิทัล ใช้สำหรับลงรายการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์และวัสดุอื่น ๆ ในห้องสมุด รองรับสื่อสารสนเทศประเภทใหม่ๆ (New types of publication) เช่น Digital content, Web resources, Integrating resources, Continuing Resources นอกจากนี้ยังรองรับการขยายตัวของอินเทอร์เน็ต และการเข้าถึงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ด้วย

ความสำคัญและผลกระทบของ RDA ต่อการลงรายการ

  1. ช่วยในการสร้างรายการโดยผู้สร้างสารสนเทศเอง
  2. ทำให้สามารถใช้ Metadata จากสำนักพิมพ์ได้ (ONIX – Online Information exchange)
  3. สามารถบันทึกข้อมูลในระเบียนรายการแบบเต็มคำได้ ลดการบันทึกข้อมูลในแบบคำย่อ ซึ่งจากเดิมทำเพื่อประหยัดพื้นที่ในบัตรรายการ
  4. มีการเปลี่ยนแปลงในระเบียนบรรณานุกรม (Bibliographic Records) เช่น
  • มีการเพิ่ม รหัส เขตข้อมูลหลัก เขตข้อมูลย่อยใหม่ ๆ ใน MARC21 Bibliographic format
  • มีการใช้เขตข้อมูลอธิบาย Content types, Media types และ Carrier types
  1. มีการเปลี่ยนแปลงใน Authority records โดยการเพิ่มเขตข้อมูลใหม่ใน MARC Authority format

หลักการและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับ RDA

  1. International Cataloging Principles (ICP)
  2. FRBR และ FRAD
  • FRBR : Functional Requirements for Bibliographic Records (1998)
  • FRAD : Functional Requirements for Authority Records (2009)

หลักการของ FRBR และ FRAD เป็น Entity Relational Model  มีองค์ประกอบ 3 ส่วนดังนี้

  1. Entities มี 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1  ผลงานที่สร้างสรรค์ (Products of intellectual & artistic endeavor) ได้แก่  Work,  Expressions, Manifestations, Items

กลุ่มที่ 2  ผู้สร้างสรรค์ผลงาน (Those responsible for the intellectual & artistic content) ได้แก่ Persons, Families, Corporate Bodies

กลุ่มที่ 3  เนื้อหาของผลงาน (Subjects of works) ซึ่งสัมพันธ์กับกลุ่มที่ 1 และ 2 ได้แก่ Concept,  Object, Event, Place

  1. Attributes ลักษณะเฉพาะของ Entities
  2. Relationships ความสัมพันธ์ระหว่าง Entities

RDA in MARC 21

MARC  มีการเแปลงเพื่อรองรับการใช้กับ RDA ใน 4 ประเด็น ดังนี้

  1. Content, Media and Carrier Type and Characteristics กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในการระบุประเภทของเนื้อหา ประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ  และประเภท และลักษณะของตัวบรรจุทรัพยากรสารสนเทศ ตาม หลักการของ RDA
  • RDA Content Types

1) MARC ระบุ content type ไว้แล้วใน LDR/06

2) RDA บรรจุ a list of English language content types ที่จะบันทึกใน Field 336 ใหม่ของ MARC 21 ทั้ง MARC Bibliographic +MARC Authority

3) Field 336 มี – RDA content term ซึ่งบันทึกใน $a – RDA content code ซึ่งบันทึกใน $b

4) มีตารางแสดงความสัมพันธ์ของ MARC LDR/06 ที่มีต่อ RDA content term และ MARC

Codes for RDA content term ดูได้ที่ Term and Code List for RDA Content Types

S__26861589

  • RDA Media Types

1) MARC ระบุ content type ไว้แล้วใน 007/00

2) RDA บรรจุ a list of English language media types ที่จะบันทึกใน Field 337 ใหม่ของ MARC 21 ทั้ง MARC Bibliographic +MARC Holdings

3) Field 337 มี

  •  RDA media term ซึ่งบันทึกใน $a
  •  RDA media code ซึ่งบันทึกใน $b

4) มีตารางแสดงความสัมพันธ์ของ MARC 007/00 ที่มีต่อ RDA media term และ MARC codes for RDA media term ดูได้ที่ Term and Code List for RDA Media Types

S__26861590

  • RDA Carrier Types

1.) MARC ระบุ content type ไว้แล้วใน 007/01

2.) RDA บรรจุ a list of English language media types  ที่จะบันทึกใน Field 338 ใหม่ของ MARC 21 ทั้ง MARC Bibliographic +MARC Holdings

3) Field 338 มี

– RDA carrier term ซึ่งบันทึกใน $a

– RDA carrier code ซึ่งบันทึกใน $b

4.) มีตารางแสดงความสัมพันธ์ของ MARC 007/01 ที่มีต่อ RDA carrier term และ MARC codes for RDA carrier term ดูได้ที่ Term and Code List for RDA Carrier Types

S__26861591

  • RDA Carrier Characteristics

1.) MARC ระบุการบันทึกลักษณะกายภาพของทรัพยากรฯ หรือ Carrier Characteristics ตามหลัก RDA ไว้แล้ว ในรูปข้อความใน Field 300, 340, 5XX รวมทั้งในรูป Coded form ใน MARC Bibliographic +MARC Holdings ในส่วน Field 007

2.) RDA บรรจุ a list of English language terms ที่ใช้อธิบาย Carrier Characteristics ใน Field 300, 340, 344, 345, 346, 347, 5XX

S__26861592

  1. Attributes of Names and Resources

*Attributes คือ ข้อมูลส่วนขยายหรือข้อมูลระบุคุณสมบัติ / คุณลักษณะของสิ่งต่างๆ (entity/thing) ข้อมูลที่เป็น Attributes เช่น type, date/time, encoding,…etc.

*Attributes of Names and Resources เป็นข้อมูลฯ ที่เป็นแบบแผนที่ใช้บันทึกในส่วนของ…

– Name headings (อาทิ date of birth)

– Uniform title headings (อาทิ key for music)

– Note fields ใน Name/title authority record

*RDA กําหนดให้บันทึก attributes เหล่านี้ได้ทั้ง

– แยกจาก heading

– เป็นส่วนหนึ่งของ heading

*New  MARC Authority fields for Name & for Resources

S__26861593

  1. Relationships

Name to resource และ Name to name

  1. Name to resource

– RDA Appendix I ได้แสดง lists ของความสัมพันธ์ระหว่าง a Resource and Persons, families and corporate bodies เช่น ระบุว่าเป็น author, artist, cartographer ,….

– MARC ได้กําหนดคําระบุความสัมพันธ์ประเภทนี้ (Name to Resource) ไว้แล้ว โดยใช้ relator terms ($e) /เป็น codes ($4) ใน 1XX, 6XX, 7XX, 8XX ในส่วนของ Bib. และใน 1XX, 4XX, 5XX ใน MARC Authority

– RDA Appendix J ได้แสดง lists ของความสัมพันธ์ มากกว่า 400 ความสัมพันธ์ในระหว่าง (resource) works, expressions, manifestations, และ items

ตัวอย่าง — work: dramatized as , indexed in
— expressions: sequel, digest of
— manifestations: filmed with
— item: reproduction of

– RDA มีหลายวิธีในการระบุความสัมพันธ์อาทิ

— เป็น “identifiers” โดยใช้ในหลาย subfields เช่น $o, $u, $x, $w, และ $0 และ Field 856

— ระบุเป็นข้อความหมายเหตุ ใน field 5XX Bib. Format +6XX ใน Authority format

– RDA Appendix K ได้แสดง lists ของความสัมพันธ์ระหว่าง Persons, families and corporate bodies เช่น  ระบุว่าเป็น employee, sponsor, descendent family, employer,….

– MARC authority ใช้ subfield $i เพิ่มเข้าไปใน 4XX, 5XX เพื่อระบุความสัมพันธ์ประเภทนี้

  1. การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ของ MARC เพื่อรองรับ RDA (Miscellaneous other changes to MARC for RDA)

1.) เพิ่ม code i = RDA ใน Leader/18 (Descriptive Cataloging form) #= non-ISBD, a = AACR2, c = ISBD punctuation omitted I = ISBD punctuation included

2.) เพิ่ม code “rda” ใน MARC code list for Descriptive Conventions

3.) เพิ่ม codes ใน character position ของ 007 & 008

4.) กําหนดให้ลงซ้ำได้สําหรับ subfield ต่อไปนี้

— subfield $x (เลข ISSN) ใน Field 490 (Series Statement)

— subfield $e (Description conventions (R)) ใน Field 040 (Cataloging source (NR)) Miscellaneous other changes to MARC for RDA

5.) เพิ่ม subfields ใน Field ต่างๆ

— 033 (Date/time and Place of an event)

— 502 (Dissertation Note) ให้มีความเฉพาะมากขึ้น

— 518 (Date/time and Place of an event Note)

6.) เพิ่ม Field ใหม่ ใน Bib. Format คือ 264 Production, Publication, Distribution, Manufacture, and Copyright Notice (R) โดยมีเงื่อนไขการใช้เพิ่มจาก Field 260 คือ 264 ใช้ทั้งในกรณีผ่านและไม่ผ่านกระบวนการพิมพ์  และได้กําหนดให้มีค่าของ indicator ทั้ง 2 ตัว

Second Indicator

0          Production -Inscription, fabrication, construction, etc. of a resource in                an unpublished form

1          Publication, release or issuing of a resource

2          Distribution of a resource

3          Manufacture-Printing, duplicating or casting, etc., of a resource in a                   published form

4          Copyright or phonogram date

การประยุกต์ใช้ RDA ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ

สำหรับผู้ปฎิบัติงาน(บรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารนิเทศ/ผู้ลงรายการ)

  1. ทำความเข้าใจกับแนวคิด หลักการ คำศัพท์ วัตถุประสงค์และส่วนต่างๆ ของ FRBR & FRAD ทั้งหมด ได้แก่ เข้าใจส่วนประกอบของ RDA ความหมายของ FRBR terms รวมถึงการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องของ FRBR & FRAD
  2. ควรทราบคำต่าง ๆ ที่ใช้ใน RDA และความแตกต่างของคำที่ใช้ใน RDA และ AACR II เช่น
    – Work, Expression, Manifestation, Item, Preferred title (เทียบได้กับ Main entry ของ AACR II)
    – Authorized access points (เทียบได้กับ Headings ของ AACR II)
    – Creator (เทียบได้กับ author, composer, illustrator ของ AACR II)
  1. ควรศึกษาการใช้งานและทำความเข้าใจกับ RDA ทั้งโครงสร้างและการจัดระบบข้อมูล เนื่องจากโครงสร้างของ RDA มีความแตกต่างจาก AACR II อย่างมาก ทั้งนี้ ผู้ลงรายการ ควรจัดทำ map กฎการใช้งาน MARC โดยเฉพาะข้อมูลที่มีการใช้บ่อย ๆ รวมถึง RDA และใช้ RDA toolkit ทำแผนที่กฎการใช้ AACR II จนถึง RDA
  2. ควรทำความคุ้นเคยกับ RDA toolkit ซึ่งใน toolkit ประกอบด้วย ชุดการสอนและคอร์สการอบรม RDA อีกทั้งควรสามารถใช้ Keyword ในการค้น การค้นผ่านจากสารบัญของ RDA toolkit หมายเลขกฎของ AACR II เพื่อการเข้าถึงการใช้งานของ RDA, รวมถึงการสร้าง customized view ได้
  3. คำแนะนำ/เคล็ดลับสำหรับการเตรียมจัดฝึกอบรมภายในหน่วยงาน
  4. จัดเตรียมเอกสารเรื่องของ RDA โดยเฉพาะ
  5. ปรับเปลี่ยนนิสัยการทำงานของผู้วิเคราะห์รายการ (ยอมรับระเบียบการลงรายการใหม่)
  6. ศึกษาเรื่อง RDA อย่างต่อเนื่อง
  7. คำแนะนำสำหรับห้องสมุด
  8. แจ้งรูปแบบใหม่ของระเบียนรายการ RDA ไปยังส่วนงานบริการและผู้ใช้

เอกสารอ้างอิง

นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์. (2017, June 22). การลงรายการทรัพยากรสารสนเทศตามมาตรฐาน RDA (Resource Description & Access). Retrieve from http://stang.sc.mahidol.ac.th/kb/?p=588

นันทพร ธนะกูลบริภัณฑ์. (2556). การบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดภาครัฐ : การจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ และการลงรายการฯ ตามมาตรฐาน RDA. Presented at the โครงการบรรยายวิชาการชมรมเพื่อหอสมุดแห่งชาติ สำนักหอสมุดแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุดแห่งชาติ.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa