SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
พฤศจิกายน 19th, 2016 by dussa

โครงการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำระดับต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยจัดขึ้นเพื่อเป็นการพัฒนาบุคลากรระดับหัวหน้า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17 และ 25-26 ตุลาคม 2559 เพื่อเป็นการพัฒนาตนเองและองค์กรอย่างเข้มแข็ง และเพื่อให้เป็นการบริหารสถาบันอุดมศึกษาจึงจำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีความรู้และทักษะความชำนาญด้านการบริหารจัดการสามารถปรับตัวได้ตามสภาวะแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีคุณธรรมจริยธรรมและทัศนคติที่ดี มีสมรรถนะที่สอดคล้องและเหมาะสมกับตำแหน่งหน้าที่ เพื่อจะสามารถปฏิบัติพันธกิจให้บรรจุเป้าหมาย และวิสัยทัศน์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและพัฒนาตนเองให้ก้าวไปสู่ความสำเร็จอย่างมั่นใจ ดังนั้น ความรู้ในการเป็นผู้นำหรือผู้บริหารที่ได้รับจากอบรมครั้งนี้ ในส่วนของความหมายของภาวะผู้นำ ผู้นำ ความสำคัญของการเป็นผู้นำ การมีภาวะผู้นำ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้น สามารถสรุปได้ ดังนี้

ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ความสามารถในการนำจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ และได้รับการยอมรับและยกย่องจากบุคคลอื่นให้เป็นผู้นำในกลุ่ม สามารถกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมายผู้นำ
ผู้นำ (Leader) เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งต่อความสำเร็จขององค์กร ทั้งนี้ เพราะผู้นำมีภาระหน้าที่ และความรับผิดชอบโดยตรงที่จะต้องวางแผนสั่งการดูแล และควบคุมให้บุคลากรขององค์การปฏิบัติงานต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ตลอดจนการทุ่มเทความสามารถ และพยายามที่จะทำให้งานสำเร็จด้วยความเต็มใจ

ผู้บริหาร (Manager) การทำงานให้สำเร็จโดยอาศัยผู้อื่น ผู้ที่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าหรือผู้มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่กำหนด ดังนั้นผู้บริหารจึงแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้

  • ผู้บริหารระดับสูง (Top Manager) ดูแลกำหนดทิศทางขององค์กร ด้านวิสัยทัศน์ นโยบาย เป็นการวางแผนในระยะยาว จะใช้การตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ (Strategic planning )
  • ผู้บริหารระดับกลาง ( Middle Manager ) รับนโยบายจากผู้บริหารระดับสูงมาวางแผนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ จะใช้การตัดสินใจในระดับยุทธวิธี (Practical planning )
  • ผู้บริหารระดับปฏิบัติการ (Operational Manager) รับผิดชอบดูแลควบคุมด้านการปฏิบัติงานรายวัน โดยรับแผนปฏิบัติมาจากผู้บริหารระดับกลาง จะใช้การตัดสินใจระดับปฏิบัติการ (Operational planning )

การเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการบริหารกับภาวะผู้นำ

ขอบเขตการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการ ภาวะผู้นำ
การกำหนดทิศทาง -การวางแผน การกำหนดงบประมาณ

-มองที่เส้นเกณฑ์ต่ำสุด

–  สร้างวิสัยทัศน์และกลยุทธ์

– มองสูง กว้างไกล

การเข้าร่วมของพนักงาน -การจัดองค์การและจัดอัตรากำลัง

-การอำนวยการและควบคุม

-สร้างขอบเขตของหน่วยงาน

 

-สร้างวัฒนธรรมและค่านิยมร่วม

-ส่งเสริมการเติบโตและความก้าวหน้าของพนังานลดการแบ่งขอบเขตลง

การสร้างความสัมพันธ์ -เน้นที่วัตถุประสงค์-การผลิต-การขาย

-ขึ้นกับอำนาจโดยตำแหน่ง

-ยึดกรอบทำงานแน่นอน

-เน้นที่คน

-การสร้างแรงบันดาลใจผู้ตาม

-ขึ้นกับอำนาจจากบุคคล

-วางตัวเหมือนพี่เลี้ยงอำนวยความสะดวก

 

คุณลักษณะส่วนบุคคล -ความรู้สึกที่ห่างไกล

-ยึดความเชี่ยวชาญของคน

-เน้นการพูด

ยึดกรอบทำงานแน่นอน

-ความรู้สึกที่ใกล้ชิดสนิทสนม

-เปิดใจกว้างเน้นการฟัง

-ไม่ยึดกรอบการทำงานที่ตายตัว

ผลลัพธ์ -มุ่งรักษาสถานภาพและความมั่นคง -ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

ดังนั้น สิ่งที่เป็นคุณสมบัติของผู้นำตามอักษรแต่ละตัวในคำว่า  LEADERSHIP  มีความหมายบ่งชี้ถึงลักษณะต่างๆ  ของผู้นำที่ดี ประกอบไปด้วย

L คือ Listen เป็นผู้ฟังที่ดี

E คือ Explain  สามารถอธิบายสิ่งต่างๆ ให้เข้าใจได้อย่างชัดเจน

A คือ Assist  ให้ความช่วยเหลือเมื่อควรช่วย

D คือ Discuss  รู้จักแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

E คือ Evaluation  ประเมินผลการปฏิบัติงาน

R คือ Response  แจ้งข้อมูลตอบกลับ

S คือ Salute ทักทายปราศรัย

H คือ Health มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

I คือ Inspire รู้จักกระตุ้นและให้กำลังใจลูกน้อง

P คือ Patient มีความอดทนเป็นเลิศ

จีงสรุปได้ว่าผู้นำนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จ หรือความล้มเหลวขององค์กร  ผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานสูง การดำเนินงานทุกครั้งก็จะบรรลุเป้าหมายและมีข้อผิดพลาดหรือโอกาสเกิดความผิดพลาดได้น้อย และผู้นำที่ดีควรมีลักษณะ รวมถึงคุณสมบัติที่เหมาะสม โดยเฉพาะในโลกยุคที่โลกเเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดจนความรู้ เป็นสิ่งที่ทรงพลังอย่างยิ่ง ซึ่งสามารถทำให้องค์การอยู่รอดได้ หรือต้องล้มละลาย หากเกิดความผิดพลาดแม้เพียงเล็กน้อย ดังนั้นทุกย่างก้าวจะมุ่งไปสู่เป้าหมายขององค์กรด้วยความสำเร็จของบุคลากรทุกคนและบรรลุตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa