SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design)
ธันวาคม 3rd, 2017 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้

เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก

– Passive learning เป็น Active learning
– Learning space ให้ผู้เรียนมีพื้นที่ในการฝึก
– LiLLE Community ให้ผู้เรียนและอาจารย์ในสาขาต่างๆ มีโอกาสพบปะ พูดคุย
– Online Platform ที่ประกอบด้วย Online courses, Online library และ Online lectures

Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE

Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัด Learning Space กระจายทั่วทั้งมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

Interactive Room มีชุดอุปกรณ์ Interactive Whiteboard สำหรับใช้ในห้องเรียนที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเหมาะสำหรับจำนวนนิสิต 15-20 คน เพื่อใช้ในการ Discussion กันในห้องเรียน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการทำงานกลุ่มได้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

Smart Classroom เป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ เหมาะสำหรับจำนวนนิสิต 30-70 คน เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนในลักษณะกลุ่ม กลุ่มละ 7-8 คน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างนิสิตกับนิสิต และนิสิตกับอาจารย์ได้มากยิ่งขึ้น

Multi-Monitor Room เป็นห้องเรียน Lecture ขนาดใหญ่ สำหรับนิสิตจำนวน 100-200 คน ซึ่งแต่ละห้องจะมีการเพิ่มจอรับภาพและเครื่อง LCD เพิ่มเติม 2-3 จอ และมีอุปกรณ์ควบคุมสัญญาณภาพ แต่ละจอได้อย่างเป็นอิสระ เพื่อให้เกิดการเรียนการสอนแบบบรรยายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนา CHULA MOOC ที่ให้ทุกคนสามารถเข้าเรียนได้แบบไร้ขีดจำกัด ที่ http://www.mooc.chula.ac.th

วิทยากรท่านอื่นๆ อีกหลายท่าน ได้นำเสนอแนวคิดที่มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานสนับสนุน เช่น ห้องสมุด ซึ่งนอกจากทำหน้าที่เป็นคลังความรู้ เผยแพร่ความรู้ แล้วต้องทำหน้าที่กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ ควรจะจัดหาพื้นที่หรือสถานที่ (Learning space) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก กระบวนการเรียนรู้ที่เปลี่ยนไป แนวทางการออกแบบ Learning space สามารถอธิบายได้ดังภาพ

หลักการออกแบบ Learning Space

หลักการออกแบบ Learning Space

จากการศึกษาเรื่องการออกแบบพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ด้วยตัวเองในมหาวิทยาลัยของบุษกร รมยานนท์ ได้สรุปผลการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการของนักศึกษาสำหรับพื้นที่เรียนรู้ด้วยตนเอง ดังนี้

พื้นที่หรือกิจกรรม

  1. ใช้ทบทวนวิชาเรียน หาข้อมูลและการทำงานกลุ่มร่วมกัน
  2. ห้องประชุมย่อยเพื่อใช้ทำงานหลายอย่าง เช่น ทบทวนวิชาเรียน ดูหนัง เตรียมข้อมูลเพื่อเสนอ
  3. บริเวณที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่จัดให้ ควรมีทั้งเครื่องที่ใช้งานคนเดียวและที่สามารถใช้งานเป็นกลุ่มพร้อมกันได้

ข้อกำหนดประโยชน์ใช้สอย

  1. เฟอร์นิเจอร์ประเภทโต๊ะที่สามารถใช้งานได้สะดวก ควรมีบอร์ดจำนวนมาก เก้าอี้นั่งสบาย
  2. นอกจากโน๊ตบุ๊ค ต้องการปลั๊กไฟ
  3. ห้องประชุมปิดที่มีความเป็นส่วนตัว จอสำหรับต่อเชื่อมคอมพิวเตอร์เพื่อการใช้งานหลายแบบ และบอร์ดเขียนงานได้
  4. คอมพิวเตอร์จัดให้เป็นกลุ่มพูดคุยกันได้ไม่ต้องมีแผงกั้นและแบบที่มีความเป็นส่วนตัวใช้คนเดียว จำนวนใกล้เคียงกัน
  5. อาร์มแชร์นั่งสบายสำหรับโน๊ตบุ๊คส่วนตัว หรือพูดคุย
  6. ส่วนพื้นที่เพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง ควรเคลื่อนย้ายปรับเปลี่ยนได้

พฤติกรรมหรือกิจกรรม

  1. เข้ามาใช้งานคอมพิวเตอร์ที่จัดให้โดยแจ้งเจ้าหน้าที่
  2. เข้ามานั่งทำงาน ทำการบ้าน อ่านหนังสือ พิมพ์งานหรือใช้คอมพิวเตอร์ ส่ง e-mail ระหว่างรอเรียน
  3. เข้ามาพูดคุย ทำงานกลุ่มร่วมกันหรือการทบทวนวิชาเรียน
  4. ใช้ห้องประชุมที่สามารถจองได้ การทบทวนวิชาเรียน ดูหนัง เตรียมข้อมูลเพื่อเสนองานกลุ่ม
  5. ต้องการความเงียบสำหรับห้องเรียนและต้องการส่งเสียงดังได้สำหรับพื้นที่เพื่อเรียนรู้ด้วยตนเอง

พฤติกรรมและสภาพแวดล้อมคาดหวัง

  1. ขนาดและการจัดวางผังเฟอร์นิเจอร์ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด และไม่มีความเป็นส่วนตัว
  2. อุณหภูมิห้องต้องเหมาะสม ไม่ร้อน หรือหนาวเกิน เสียงและแสงที่เหมาะสมกับการเรียนก่อให้ผู้เรียนเกิดความสบาย และสมาธิ
  3. บรรยากาศที่ไม่เป็นทางการมากนัก ให้ความรู้สึกสนุกสนาน และควรมีสีสันสดใส
  4. ไม่ควรมีลักษณะเหมือนห้องเรียนแบบเดิม
  5. การจัดผังที่ปรับได้ตามการใช้งาน แต่ในเวลาเดียวกันต้องมีความเป็นระเบียบ เข้าใจง่ายไม่ยุ่งยากดูสะอาดตา
  6. เน้นการวางผังที่ส่งเสริมให้ผู้ใช้งาน มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมได้ง่าย แต่บางส่วนเน้นให้เกิดความเป็นส่วนตัวหรือปรับเปลี่ยนควบคุมความเป็นส่วนตัวได้ตัวเอง

ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน เอื้อให้ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของเนื้อหา เพราะมีอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทำให้ผลิตเนื้อหาและเผยแพร่สู่ในสังคมออนไลน์ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว คุณศุภชัย จรรยาสวัสดิ์  ได้แนะนำ LiveU อุปกรณ์ถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้วยการนำเสนอการ Streaming ภาพวิดีโอสด เพื่อการออกอากาศ เชื่อมต่อได้ทุก Online Platform สามารถใช้กับงานข่าวออนไลน์ สินค้าออนไลน์ กีฬา เพลง การศึกษา และอื่นๆ สามารถเชื่อมต่ออัตโนมัติโดยตรงสู่ Facebook Live และ Social media อื่นๆ

จากมุมมองของ ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ในหัวข้อ Reinventing the Library : Best Practice วิทยากรได้นำเสนอจุดเด่นของห้องสมุดแต่ละประเทศ รวมทั้งเสนอข้อคิดเห็นจากหนังสือหลายๆ เล่มที่น่าสนใจ เช่น จากหนังสือ The Library in the Life of the User ของ OCLC ได้สรุปลักษณะของห้องสมุดในศตวรรษที่ 21 ไว้ดังนี้

  • ห้องสมุดเป็นสถานที่เก็บหนังสือและสถานที่อ่านหนังสือ
  • ห้องสมุดให้บริการการวิจัยและการเรียนของมหาวิทยาลัย
  • ห้องสมุดเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัย
  • ห้องสมุดเป็นสถานที่ของการเรียนรู้
  • ห้องสมุดเป็นส่วนขยายของชั้นเรียน
  • ห้องสมุดเป็นเหมือนบ้านหลังที่สอง
  • Experience Economy เป็นการต่อยอดของผู้รับบริการจากห้องสมุด
  • ห้องสมุดให้ความสำคัญกับผู้รับบริการมากกว่าเรื่องทรัพยากรสารสนเทศ
  • ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด หรือ ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับบริการ
  • การมองแบบภายนอก (Outside-in) หรือจากผู้รับบริการ มากกว่าการมองจากผู้ให้บริการ หรือจาก (Inside-Out) ห้องสมุด

แนวความคิดเหล่านี้ เป็นประเด็นที่ห้องสมุดควรจะต้องนำมาพิจารณา เพื่อปรับโฉมให้ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้รับบริการ

Learning Management System : MyCourseVill โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อติวงศ์ สุชาโต รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย MyCourseVill เป็น Learning Management System – LMS ระบบหนึ่ง พัฒนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร. อติวงศ์ สุชาโต เป็น LMS ที่เข้ามาช่วยในการบริหารการเรียนการสอน โดยมีแนวความคิดในการนำ Social networks เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้สึก always on และ connect อยู่ตลอดเวลา ผู้เรียนใช้ account ด้วย FB  ไม่ใช่ตัว login ของสถานศึกษา เนื่องจากผู้เรียนสามารถใช้ได้ตลอดเวลา แม้ว่าจะจบการศึกษาแล้วก็ตาม โปรแกรม CourseVill ประกอบด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ มากมาย เช่น การประกาศข่าวสาร การสอบย่อย การเก็บคะแนน การเช็คชื่อ การแจกเอกสาร และยังเชื่อมโยงกับเฟซบุ๊ก ผู้สอนและผู้เรียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กัน ผู้สอนสามารถใช้ CourseVill ในการสอน ศึกษาพฤติกรรมของผู้เรียน ทำให้สามารถปรับวิธีการสอนให้มีประโยชน์และตรงประเด็น  นอกจากนี้ ยังได้มีการนำฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดบอกรับเชื่อมต่อในระบบเพื่อให้สามารถสืบค้นสารสนเทศที่ต้องการได้ทันที  ติดตามได้ที่ https://www.mycourseville.com/

ทั้งนี้ ผู้จัดงานได้จัดทำวิดีทัศน์ของการบรรยายไว้ที่

http://www.car.chula.ac.th/tlc33/video2.php

http://www.car.chula.ac.th/tlc33/video3.php

ไฟล์ประกอบการบรรยายของวิทยากร

http://www.car.chula.ac.th/tlc33/document.php


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa