Mendeley เป็นโปรแกรม Freeware ที่ผลิตขึ้นโดย Elsevier เป็นเครื่องมือจัดการบรรณานุกรมที่สามารถจัดเก็บและจัดการรายการบรรณานุกรม ทำรายการอ้างอิงในเนื้อหาและทำรายการบรรณานุกรมในรูปแบบที่ต้องการได้อย่างง่ายดาย
ข้อดีของ Mendeley
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้จัดกิจกรรม การจัดแสดงหนังสือตามวันสำคัญ และจัดแสดงหนังสือร่วมกับคณะวิชาในเทศกาลต่างๆ เพื่อเป็นการแนะนำหนังสือที่มีอยู่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้โดยง่าย เช่น วันแม่ เทศกาลกินเจ วันขงจื่อ หนังสือมุมคุณธรรม มุมหนังสือพุทธทาสภิกขุ มุมหนังสือ สสส. จากการจัดจัดกิจกรรมดังกล่าวมีผู้สนใจยืมหนังสือ จำนวน 200 คน/ 241 เล่ม ซึ่งถือว่าเป็นการบริการเชิงรุกที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนหนังสือสู่ผู้ใช้บริการได้มากขึ้น
แนะนำหนังสือสาขาวิชาต่างๆ
เทศกาลตรุษจีน
ห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่ให้บริการอยู่ชั้น 3 ได้รับการปรับปรุงครั้งใหญ่ สืบเนื่องจากกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง มีการออกกฎหมาย พระราชบัญญัติออกมามากมาย ทำให้กฎหมาย หรือพระราชบัญญัติที่เคยประกาศใช้ ไม่สามารถนำมาใช้อ้างอิงได้อีก
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ร่วมมือกับคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในการช่วยพิจารณาหนังสือกฎหมาย และดึงหนังสือที่มีเนื้อหาเก่าหรือเป็นกฎหมายเก่า ไม่สามารถนำมาใช้ได้แล้ว แยกออกมาจากหนังสือกฎหมายที่ยังใช้ได้อยู่ ด้วยความกรุณาจากอาจารย์คณะนิติศาสตร์ ทำให้หนังสือในห้องสมุดกฎหมายของศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็น Collection ทางด้านกฎหมายที่สมบูรณ์มากขึ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ที่อาจารย์และนักศึกษาสามารถเข้ามาใช้ในเพื่อการเรียนการสอนทางด้านกฎหมายได้เป็นอย่างดี
เมื่อมีการคัดเลือกหนังสือออกแล้ว ทำให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้จัดนิทรรศการถาวร พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ซึ่งเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย เพื่อเป็นมุมความรู้เกี่ยวกับพระองค์ท่าน ที่นักศึกษากฎหมายควรที่จะได้เรียนรู้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
นอกจากนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังได้จัดทำเว็บไซต์สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพื่อเป็นการเสริมการเรียนรู้สารสนเทศทางด้านกฎหมายเพิ่มเติมให้อีกด้วย
บุคลากรของศูนย์บรรณสารสนเทศ มีหน้าที่ในการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ เพื่อให้บริการผู้ใช้บริการ โดยมีหลายกรณีที่บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานตามตารางที่วางไว้ จึงต้องมีการกรอกข้อมูลเพื่อการปรับเปลี่ยนตารางการปฏิบัติงานนอกเวลาทำการ แต่หลายๆ ครั้งที่การกรอกแบบฟอร์มนั้น มีความไม่ชัดเจน และไม่สมบูรณ์ อาจส่งผลทำให้บุคลากร มีข้อมูลในระบบการปฏิบัติงานไม่ถูกต้องได้ ดังนั้น ผู้เขียน ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งข้อมูลการปฏิบัติงานส่งกองทรัพยากรบุคคล จึงขอให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีกันต่อไป
ข้อปฏิบัติการเขียนแบบเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ดังนี้
1.หากมีการเปลี่ยนแปลงการเข้าปฎิบัติงานเหลื่อมเวลาให้ขอแบบฟอร์มเปลี่ยนแปลงตารางปฏิบัติหน้าที่ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการ ชั้น 2 พร้อมลงชื่อรับแบบฟอร์มในสมุดรายการเบิกทุกครั้ง Read the rest of this entry »
เครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder
ศูนย์บรรณสารสนเทศได้จัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่ เพื่อส่งเสริมการอ่าน มีการจัดแสดงหนังสือแนะนำทุกเดือนที่บริเวณ ชั้น 1 และประชาชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook ของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ผู้เขียนมีหน้าที่ในการแนะนำหนังสือผ่าน FB ด้วย เริ่มตั้งแต่การสแกนหน้าปกของหนังสือ โดยมีขั้นตอน ดังนี้
เปิดเครื่อง HP Scanjet Autometic Document Feeder ขึ้นคำว่า Ready ก่อนจึงจะสแกนหนังสือได้
นำหนังสือที่ต้องการจะสแกน กลับหน้าปกวางลงบนเครื่องสแกน
ปิดฝาเครื่องสแกนให้เรียบร้อย
สแกนหนังสือโดยโปรแกรม NAPS2
หนังสือที่ผ่านการวิเคราะห์และลงรายการบรรณานุกรมในระบบห้องสมุดแล้ว จะถูกนำมาติดสันและประทับตราในตัวเล่ม ซึ่งเป็นกระบวนการในการเตรียมหนังสือเพื่อออกให้บริการ
ในการพิมพ์สันเพื่อติดหมวดหมู่ของหนังสือ มีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าระบบ WMS โดยเข้าที่ URL https://hcu.share.worldcat.org/wms เพื่อ Login เข้าสู่ระบบ
2. เลือกโมดูล Metadata และไปที่ Record Manager – Scope เลือก My Library Holding และ นำเลข Barcode ของหนังสือที่งานวิเคราะห์ฯ ออกให้กับหนังสือเล่มนั้นๆ มาค้นหา และเลือกหนังสือที่ต้องการพิมพ์สันคลิกที่ชื่อเรื่องหนังสือ Read the rest of this entry »
การปฏิบัติงานของฝ่ายวิเคราะห์หมวดหมู่ หนังสือ บางครั้งจะต้องมีการตรวจเช็คหนังสือในกรณีต่าง ๆ เช่น การตรวจเช็ครายการหนังสือเพื่อปรับเปลี่ยน Location ในการจัดเก็บ การตรวจเช็คหนังสือในกรณีที่อาจารย์หรือผู้ใช้ต้องการเร่งด่วน หรือตรวจเช็คหนังสือที่อยู่ระหว่างการดำเนินการวิเคราะห์หมวดหมู่ เป็นต้น
การตรวจเช็คหนังสือ ในกรณีที่ได้รับข้อมูลมาให้ตรวจสอบไม่ละเอียดนัก หรือผู้แจ้งให้ตรวจสอบไม่สามารถแจ้งข้อมูล ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง หรือ ISBN ได้ วิธีการที่ง่ายที่สุด ก็คือ การให้ดูหมายเลข Barcode ของหนังสือเล่มนั้นๆ เพื่อให้ตรวจสอบในระบบห้องสมุดได้ เนื่องจากระบบ WorldShare Management มีช่องคำค้นให้หาได้จาก Barcode ของหนังสือเล่มนั้นๆ โดยมีขั้้นตอนในการค้นหา ดังนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศเป็นแหล่งการเรียนรู้และเป็นสถานที่ให้นักศึกษา อาจารย์ ใช้เป็นสถานที่เพื่อระดมสมองในการศึกษาค้นคว้า การทำรายงาน การทำวิจัย หรือปรึกษาหารือ มีห้องสัมมนากลุ่ม โต๊ะวิจัยเดี่ยว ห้องสัมมนาเดี่ยวที่ผู้ใช้บริการสนใจเป็นจำนวนมาก ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพิ่มพื้นที่การให้บริการ ได้จัดทำ Learning Space (ซึ่งปรับปรุงจากห้อง Lab C) ผู้ใช้บริการสามารถนำอาหาร น้ำ ขนม เข้ามารับประทานในห้องได้แต่ต้องช่วยกันรักษาความสะอาด โดยเก็บขยะออกไปทิ้งตามจุดที่ศูนย์บรรณสารฯ จัดเตรียมไว้ให้
ตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ Learning Space ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 มีผู้ใช้บริการชื่นชอบ สนใจเข้าใช้จำนวนมาก ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงจัดกิจกรรมเติมเต็มหัวใจขึ้น (ระหว่างช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม 2562 เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน) โดยขอความร่วมมือจากผู้เข้าใช้บริการ เขียนความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ ลงในกระดาษ post it บอกถึงความต้องการที่ให้ทางศูนย์บรรณสารฯ จัดเพิ่มเติม แล้วนำมาติดที่กระจกหน้าศูนย์บรรณสารสนเทศ โดยตั้งชื่อมุมจัดแสดงความคิดเห็นว่า “คุณอยากบอก เราอยากรู้” ตกแต่ง Post it เป็นรูปหัวใจ เพื่อให้ผู้สนใจได้อ่านแลกเปลี่ยนเพิ่มเติมกัน ทุกข้อที่เสนอแนะ ทางศูนย์บรรณสารฯ จะนำมาเป็นข้อมูลปรับปรุงให้ดีขึ้น นักศึกษายินดีร่วมแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะกับกิจกรรมดังภาพ
ดีใจที่ได้เขียน post it
ในส่วนงานจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อได้รับเรื่องให้จัดซื้อหนังสือจากอาจารย์ นักศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ ทางแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะต้องตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือในระบบห้องสมุด WMS (WorldShare Management Services) ก่อนการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดทุกครั้ง
ประโยชน์ในการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือมีดังนี้
ดังมีวิธีการตรวจสอบฐานข้อมูลหนังสือ ดังนี้
1. เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms Read the rest of this entry »
การตรวจรับพัสดุ เป็นขั้นตอนที่สำคัญขั้นตอนหนึ่งในการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีภารกิจอย่างหนึ่งในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการสนับสนุนการเรียนการสอน การค้นคว้า วิจัย ของนักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไป การได้มาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศที่ศูนย์ฯ ดำเนินการจัดซื้อเองนั้น เมื่อได้จัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศตามขั้นตอนเรียบร้อย พร้อมได้รับตัวเล่มทรัพยากรแล้ว ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะต้องตรวจรับทรัพยากรสารสนเทศทุกชิ้นและต้องสมบูรณ์ครบถ้วน โดยมีขั้นตอนการตรวจรับหนังสือ ดังนี้
1. กรอกแบบฟอร์มการขอรับการตรวจรับพัสดุ ส่งไปยังกองพัสดุ เพื่อนัดหมายให้มาตรวจรับหนังสือ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ดำเนินการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศด้วยตนเอง และระเบียบของมหาวิทยาลัย ต้องให้มีบุคลากรจากกองพัสดุมาเป็นกรรมการตรวจรับด้วย โดยกรรมการตรวจรับ ประกอบด้วย 3 คน คือ Read the rest of this entry »