เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์ หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม
ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ
1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)
ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
TSIC ID: 85302-0082
2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)
อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล
3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย
4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร
5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย
6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร
7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์
กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ขั้นตอนที่1
การแต่งตั้งคณะทำงานด้านการจัดการพลังงาน
คณะทำงานการจัดการพลังงาน
วิธีการเผยแพร่
- ติดบอร์ดประกาศ
- จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
- เว็บไซด์ IT GREEN
ขั้นตอนที่2
การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น เป็นการประเมินด้านการจัดการพลังงาน โดยหาข้อมูลประเด็นต่างๆตั้งแต่ปี 2556 -2561
ขั้นตอนที่3
นโยบายอนุรักษ์พลังงาน (ประกาศนโยบายอนุรักษ์พลังงาน)
หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลได้ ประกาศนโยบายอนุรักษ์พลังงาน โดย ดร. รุจเรขา วิทยาวุฒิกุล ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
ขั้นตอนที่4
การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน โดยการสร้างกราฟข้อมูลเปรียบเทียบการใช้พลังงานไฟฟ้ารายเดือนและปัจจัยที่ส่งผลให้ปริมาณการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น/ลดลงคือ
- เวลาการเปิดให้บริการ
- สมรรถนะของเครื่องจักร เพราะหากเครื่องจักรใช้ไปนานๆก็ไม่ได้ช่วยประหยัดไฟ มีแต่ทำให้ค่าไฟจะขึ้น
- จำนวนผู้เข้าใช้บริการ
ขั้นตอนที่5
การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล มีการกำหนดเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน
- เป็นร้อยละที่ลดลงของปริมาณพลังงานที่ใช้แต่เดิม > 6.76%
- ระดับของค่าการใช้พลังงานต่อหัวผู้ใช้บริการ 88 (kw/คน)
- ระดับของค่าการใช้พลังงานต่อเวลาการเปิดให้บริการ 14 (KW/Hr)
มาตรการอนุรักษ์พลังงานประจำปี ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
1.โครงการปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศแบบซิลเลอร์ (2550)
2.มาตรการบำรุงรักษาระบบปรับอากาศ (2552- ปัจจุบัน )
- ระบบปรับอากาศแบบชิลเลอร์
- ระบบปรับอากาศแบบแยกส่วน
3.โครงการ Splar Car Park (2557)
4.โครงการหลังคาเขียว (2556)
5.โครงการสวนมุมสวย (2560)
6.โครงการ MU Lights Out ชาวหอสมุดร่วมใจปิดไฟ 1 ชั่วโมง (2559- ปัจจุบัน )
7.มาตรการเปลี่ยนหลอดเป็น LED (2556- ปัจจุบัน )
7.1 โครงการเปลี่ยนหลอด Halogen เป็นหลอด LED MR-16
7.2 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Bulb บริเวณ E- Lecture
7.3 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Bulb บริเวณ Music Zone
7.4 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Tube ห้องน้ำ
7.5 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Tube ห้องสมุดดนตรี ฯ
7.6 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Tube ทางเดินรอบอาคาร
7.7 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Tube ห้องอบรมคอมพิวเตอร์
7.8 โครงการเปลี่ยนหลอด LED Tube ห้องอ่านชั้น1, 2 และ 3
8.มาตรการปรับพื้นที่ให้บริการเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน
9.มาตรการด้านสื่อประชาสัมพันธ์ด้านการอนุรักษ์พลังงาน
ขั้นตอนที่ 6
การดำเนินการตามแผน การตรวจสอบ และวิเคราะห์ การปฎิบัติตามเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงาน จากโครงการ MU Lights Out ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เริ่มขึ้นเมื่อ 30 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา หอสมุดและคลังความรู้ ฯได้นำโครงการมาสานต่อกับนโยบายของมหาวิทยาลัย นำมาใช้กับมาตรการอนุรักษ์พลังงานของหอสมุดและคลังความรู้ ฯ โดย
- ระยะที่ 1 ตุลาคม 2559 – กันยายน 2560 ปิดไฟที่ไม่จำเป็น 12.00 – 13.00 น. ของทุกวันทำการ
- ระยะที่ 2 ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 ปิดไฟที่ไม่จำเป็น 12.00 – 13.00 น. ของทุกวันทำการ
และปรับอุณหภูมิเป็น 27 องศาเซียลเซียส ในช่วงหลังเลิกงาน และจะต้องไม่กระทบต่อผู้ใช้บริการ
- ระยะที่ 3 ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562 ปิดไฟที่ไม่จำเป็น 12.00 – 13.00 น. ของทุกวันทำการ
และปรับอุณหภูมิเป็น 27 องศาเซียลเซียส ในช่วงหลังเลิกงาน และจะต้องไม่กระทบต่อผู้ใช้บริการ ซึ่งโครงการนี้มีการพัฒนาในการเก็บข้อมูลโดยใช้ Google From เพื่อให้สะดวกแก่ผู้บันทึกข้อมูล
ขั้นตอนที่ 7
การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน จะมีคณะผู้ตรวจประเมิน เพื่อดูว่ารักษามาตรการการจัดการพลังงานได้สำเร็จลุล่วงหรือไม่
ขั้นตอนที่8
การทบทวนการดำเนินงานการจัดการพลังงาน โดยจะมีการทบทวนการดำเนินงานการจัดการพลังงานส่งเป็นเล่มทุกปี
ในส่วนของการดูงานหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น ขอยกตัวอย่างมุมที่แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิเช่น
การรับบริจาคถุงผ้า
มุมพลังงานจะจัดเป็นมุมเฉพาะ บริเวณทางเข้าออกของบุคลากร เพื่อสร้างความตระหนักให้กับบุคลากรในช่วงการเดินเข้า ออกจากอาคารจะเห็นข้อมูลการประชาสัมพันธ์และข่าวสารหรือกิจกรรมที่เกี่่ยวกับการจัดการพลังงานอยู่ในมุมนั้น
มุมประชาสัมพันธ์การจัดการพลังงาน
ขยะแยกตามประเภท
ขยะแยกประเภท
การนำต้นไม้มาไว้ข้างเครื่องถ่ายเอกสารเพื่อลดมลภาวะ
แผนผังทางหนีไฟที่ชัดเจน
การรณรงค์ไม่ใช้โฟม
การเห็นความสำคัญของการให้ข้อมูลเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน มีการจัดทำป้ายในลักษณะตั้งโต๊ะและแบบแนวตั้ง (Roll-up)
ขั้นตอนและแนวปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
การทำ CPR
หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน