SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเข้าร่วมจัดนิทรรศการเสมือนจริง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้
ก.พ. 4th, 2021 by namfon

ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้  เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย  โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน  และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้  ส่วนแรก  รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ  เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย  เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ  น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…” Read the rest of this entry »

การเสวนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ เรื่อง ความปกติใหม่ (New Normal) ที่ท้าทายงานจดหมายเหตุ : บททดสอบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19
พ.ย. 13th, 2020 by namfon

ผู้เขียนได้ฟังการเสวนาผ่านเครือข่ายออนไลน์  เนื่องในวันจดหมายเหตุสากล 2563 และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เรื่องความปกติใหม่ (New Normal) ที่ท้าทายงานจดหมายเหตุ : บททดสอบจากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด 19  เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 14.00-15.30 น. จัดโดย สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ  วิทยากร มีดังนี้

วิทยากร Cr. ภาพ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

1. คุณจุฑาทิพย์ อังศุสิงห์ ผู้อำนวยการหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
2. นายแพทย์ โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
3. ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล รองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)  Thai PBS
4. ดร.ฐิติมา ธรรมบำรุง ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
5. นางจิราภรณ์ ศิริธร รองผู้อำนวยการส่วนบริหารงานเอกสาร บริหารงานจดหมายเหตุ และวัตถุพิพิธภัณฑ์ ฝ่ายส่งเสริมความรู้ทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย
6. นางสาวชลิดา เอื้อบำรุงจิต ผู้อำนวยการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) วิทยากรและผู้ดำเนินรายการ

สรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้ Read the rest of this entry »

รูปปั้นของนายเลี้ยง นวพันธ์ (苏谷良) หรือโซวก๊กเลี้ยง และภาพ ดร. สุขุม นวพันธ์ ผู้บริจาคสร้างอาคารบรรณสาร
มี.ค. 26th, 2020 by namfon

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๓  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเฉลิมพระเกียรติ  ก่อตั้งด้วยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง  ในวาระครบรอบ ๘๐ ปี คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้มีมติความคิดเห็นตรงกัน ที่มูลนิธิฯ จะจัดให้มีการเฉลิมฉลองพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ได้ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร์ทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ศาสนาให้มีความร่มเย็นสมานฉันท์ มีเจตจำนงที่จะช่วยส่งเสริมบำรุงการศึกษาระดับสูงของประเทศให้รุ่งเรืองขึ้น  จึงเกิด “โครงการมหาวิทยาลัยของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง”  โดย ดร.อุเทน  เตชะไพบูลย์ ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ได้บริจาคเงิน ๑๐๐ ล้านบาท เป็นท่านแรก และได้รณรงค์ขอรับสนับสนุนเงินบริจาค  ผู้มีจิตศรัทธาทั้งภาครัฐและเอกชน  จากนักธุรกิจ คหบดี ธนาคาร องค์การธุรกิจและองค์กรการกุศล  ตลอดจนประชาชนชาวไทยและชาวต่างชาติ  เรียกว่า “คณะผู้ก่อตั้ง” มหาวิทยาลัยฯ ตั้งแต่ ๑๐ ล้านบาทเป็นต้นไป ดร.สุขุม นวพันธ์ เป็นผู้หนึ่งที่ได้รับการเชิญให้ร่วมบริจาคด้วย โดย ดร.สุขุมฯ ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ในหนังสือ ๙๐ ปี มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งบนเส้นทางประวัติศาสตร์สังคมไทย : ประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่า ความว่า

…วันหนึ่ง คุณอุเทนกับผมเล่นกอล์ฟด้วยกัน ท่านบอกว่ากำลังดำริจะก่อตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นแห่งหนึ่งชื่อหัวเฉียว  และท่านเองก็จะบริจาคหอประชุมในนามบิดาท่าน ๑๐๐ ล้านบาท  ผมก็เรียนท่านว่าเป็นความคิดและโครงการที่ดี   ผมจะขอบริจาค ๒๐ ล้านบาท สร้างตึกห้องสมุดเพื่อเป็นที่ระลึกคุณพ่อผม ฉะนั้น คุณอุเทนถือว่าเป็นผู้บริจาครายแรก และผมก็เป็นผู้บริจาครายที่สอง …  Read the rest of this entry »

บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ต.ค. 8th, 2019 by namfon

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ หัวข้อเรื่อง บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-16.30 น. รวมระยะเวลา 2 วัน จัดโดยสมาคมจดหมายเหตุไทยร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ  สามารถสรุปผลที่ได้รับจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ดังนี้

 

1.ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สารสนเทศ : รากฐานของความรู้และการพัฒนา (โดย ดร. เตช บุนนาค)

พ.ศ. 2509-2510 การจดหมายเหตุไทยยังไม่เจริญเหมือนในปัจจุบัน เริ่มไปค้นหาเอกสารจดหมายเหตุที่ตึกถาวรวัตถุ กระทรวงมหาดไทย เอกสารเกี่ยวกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  การเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ ยังไม่มีห้องบริการค้นคว้า เอกสารกระจัดกระจายและมีฝุ่นหนามาก แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำงานกันอย่างเต็มที่

พ.ศ. 2512 รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 35 ปี ได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศ  นำเอกสารไปเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น แผนที่แม่น้ำโขง การแบ่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หรือจดหมายขอความร่วมมือเวียดนาม-ไทย  หลังเกษียณจากกระทรวงการต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเอกสารจดหมายเหตุสำนักราชเลขาธิการ เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศาลายา เป็นงานจดหมายเหตุที่ภาคภูมิใจมาก

หอจดหมายเหตุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ได้มีโอกาสไปทำงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงปัจจุบัน  เก็บเอกสารไว้เป็นอย่างดี   สมัยก่อนเขียนบนแผ่นศิลาจารึก ทำให้รู้ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึก ปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก  การดิจิทัลเป็นการอนุรักษ์เอกสาร ในขณะเดียวกัน  ยังใช้เอกสารแบบเก่าๆ อยู่บ้าง เช่น ไมโครฟิล์ม เพื่อจะได้รักษาเอกสารให้คงอยู่ได้นานๆ  ปัจจุบันมีจัดตั้ง
หอจดหมายเหตุ เช่น หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า และหอจดหมายท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นต้น Read the rest of this entry »

เยี่ยมชม “อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง”
ธ.ค. 22nd, 2018 by namfon

ประธานคณะกรรมการดำเนินการด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม นำโดย อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยฯ จำนวน 60 คน  ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีการดำเนินงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษา 2559-2561 มีโครงการที่มุ่งเน้นด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อมแบบมีส่วนร่วมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย กิจกรรมแบบมีส่วนร่วมที่มุ่งเน้นด้านการประหยัดพลังงานและดูแลสิ่งแวดล้อม กิจกรรมการศึกษาดูงานอาคาร สำนักงานประหยัดพลังงาน  เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการโครงการดังกล่าว  ในปีการศึกษา 2561 ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง จังหวัดนนทบุรี  เมื่อวันอังคารที่ 11 ธันวาคม 2561 เวลา 09.00-12.00 น.

อาคารศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. สำนักงานกลาง หรือ EGAT Learning Center  เป็นโครงการที่กฟผ. มุ่งทำขึ้นภายใต้ยุทธศาสตร์การแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคม ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานของประเทศไทยและพลังงานของโลก ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต  ตั้งอยู่บนเนื้อที่ 18 ไร่ มีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตร จำนวน 4 ชั้น  เจ้าหน้าที่พาชมบริเวณด้านหน้าทางขึ้นเป็นสวนแนวตั้ง  ประดับด้วยพรรณไม้ประเภทไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ที่มีความทนทานต่อแสงแดดเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เช่น ฟิโลเดนดรอนสีทอง สีเขียว (Philodendron) เฟิร์น เป็นต้น  บริเวณด้านหน้าประตูทางขึ้นมีตราสัญลักษณ์ของ กฟผ. มองลงไปเบื้องหน้าริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  บริเวณเชิงสะพานพระราม 7  และภายในบ่อบำบัด จะเห็นว่าในบ่อมีน้ำสีเขียว เรียกว่าบ่อซึม  สามารถใช้น้ำที่บำบัดแล้ว นำมาหมุนเวียนใช้ต่อได้

สวนแนวตั้งและตราสัญลักษณ์ กฟผ.

แสงเงาของผู้เยี่ยมชม

Read the rest of this entry »

การจัดการจดหมายเหตุดิจิทัล เอกสารสำคัญขององค์กร
ต.ค. 1st, 2018 by namfon

หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ได้เข้าร่วมฟังสัมมนาทางวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง การจัดการจดหมายเหตุดิจิทัล เอกสารสำคัญขององค์กร  เมื่อวันศุกร์ที่ 31 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2561   เวลา 07.45-16.30 น.  ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคารพิทยพัฒน์   มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช   จัดโดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)ในการฝึกอบรมวิทยากรผู้บรรยาย มีจำนวน 4 ท่าน ดังนี้

1.  รองศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน
2.  รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร พุทธาพิทักษ์ผล
3.  อาจารย์บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
4.  รองศาสตราจารย์ ดร.สมสรวง พฤติกุล

รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด พรมจุ้ย  (รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ มสธ.)  กล่าวรายงานผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาฯ โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรทางการศึกษาจากองค์กรภาครัฐ เอกชน และผู้สนใจทั่วไป   จำนวนทั้งสิ้น 170 หน่วยงาน   ผู้เข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 309 ท่าน    การจัดสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ครบรอบ 40 ปี วันที่ 5 ก.ย. 2561 ซึ่งได้รับทราบมุมมองการจัดการจดหมายเหตุขององค์กร ความคาดหวังและการเปลี่ยนแปลงด้านการจัดการเอกสารจดหมายเหตุ  ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า (รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช) กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิดการสัมมนาทางวิชาการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้  หัวข้อการบรรยาย มีดังต่อไปนี้ Read the rest of this entry »

มารียูส (Reuse) กันเถอะ
มิ.ย. 7th, 2018 by namfon

การรียูส (Reuse) คือ การนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ และพลาสติก ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์นำกลับมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด  เพราะการใช้ครั้งเดียว ทำให้เกิดขยะมากเกินจำเป็นและสูญเสียทรัพยากรในการผลิตวัสดุเหล่านี้ซ้ำ เพื่อเป็นการนำมาใช้เพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดใช้การใช้พลังงาน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังได้สิ่งของใหม่ไว้ใช้งานได้อีกด้วย  การใช้ซ้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการทางโรงงาน มี 2 วิธี

1. การนำกลับมาใช้ซ้ำด้วยวิธีการเดิม เช่นการนำภาชนะใส่อาหาร นำมาใส่อาหารซ้ำอีกครั้ง

2. การนำกลับมาใช้ซ้ำโดยผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ เช่น การประดิษฐ์ยางล้อรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

มาดูตัวอย่างที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ และขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ซึ่งพอสรุปกลุ่มสิ่งของที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ดังนี้ Read the rest of this entry »

วันวานแห่งความภาคภูมิใจ
ก.พ. 14th, 2018 by namfon

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดพิธีประสาทปริญญาบัตร ประจำปีการศึกษา 2559 เป็นครั้งที่ 25 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  การเข้ารับปริญญาบัตรในปีนี้ กำหนดวันรายงานตัว การฝึกซ้อม และการเข้ารับปริญญาบัตร มีดังนี้ วันซ้อมย่อย วันศุกร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 วันซ้อมใหญ่ วันเสาร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ 2561 และวันพิธีประสาทปริญญาบัตร วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ 2561 มหาวิทยาลัยฯ และคณะต่างๆ ได้จัดซุ้มแสดงความยินดีให้กับมหาบัณฑิตและบัณฑิตอย่างสวยงาม ท่ามกลางผู้ปกครอง พ่อ แม่ ญาติ พี่ น้อง และเพื่อนๆ ของบัณฑิต ต่างมาร่วมแสดงความยินดีกันมากมาย นำความปลาบปลื้มใจด้วยสีหน้าอันเปื้อนไปด้วยรอยยิ้มและเสียงหัวเราะอย่างมีความสุข ในสถานที่อันทรงเกียรติแห่งนี้

ซุ้มดอกไม้หน้าประตูเสด็จ (ประตูกลาง)

ซุ้มดอกไม้ประดับป้ายมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

27540126_1969304673087430_6178958915807635808_n

ซุ้มดอกไม้บริเวณสวนภายในมหาวิทยาลัย

Read the rest of this entry »

เรียนรู้ ดูชม อาคารประหยัดพลังงาน “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
พ.ย. 1st, 2017 by namfon

อาจารย์ฉลอง แขวงอินทร์ รองอธิการบดี  ได้นำคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม คณะอนุกรรมการดำเนินงานเพื่อการปรับปรุงและพัฒนา ด้านการจัดการพลังงานและสิ่งแวดล้อม ทูตพลังงาน รุ่นที่ 1 จากทุกหน่วยงานของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ รวมทั้งบุคลากรจากศูนย์บรรณสารสนเทศ จำนวน 80 คน ได้เข้าเยี่ยมชม ศึกษาดูงาน อาคารประหยัดพลังงาน “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ” ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เมื่อวันอังคารที่ 31 ตุลาคม 2560 เวลา 09.00-12.00น. โดยคุณณัฎฐศักดิ์ วาณิชย์เจริญ ผู้บริหาร สสส. และคณะฯ ได้ให้การต้อนรับและรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับอาคารประหยัดพลังงาน (ตึกเขียว) เป็นอาคารที่สวยงามและประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลระดับแพลทินัม (Platinum) จากหน่วยงานรับรองมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก (LEED) หรือ Leadership in Energy and Environmental Design ในประเภทการออกแบบอาคารใหม่ และเป็นอาคารหนึ่งเดียวในประเทศไทยที่ได้รับรางวัลสูงสุดนี้

คณะทำงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์บรรณสารสนเทศ

คณะทำงานด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ศูนย์บรรณสารสนเทศ

การศึกษาดูงานที่ “ศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ” ทำให้ได้ทราบถึง เกณฑ์การประเมินมาตรฐานอาคารเขียว LEED Green Building Rating Systems พิจารณา ดังนี้ Read the rest of this entry »

ความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ”
เม.ย. 22nd, 2017 by namfon

คิดถึงบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระน้ำ” มักถูกเรียกขานกันว่า “สระมรกต” ณ บริเวณภายในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

18009954_1600761653275069_425858312_n

สระน้ำ หรือ “สระมรกต” ถ่ายปี พ.ศ. 2552

หลายท่านอาจจะคุ้นเคยกับบรรยากาศเหล่านี้มาก่อน หรือหลายคนอาจจะยังไม่เคยรู้จัก ไม่เคยเห็นมาก่อนด้วยซ้ำไป มาทำความรู้จักกันเลยดีกว่า ว่าอยู่ตรงส่วนไหนกัน จากความทรงจำบรรยากาศเก่าๆ บริเวณรอบ “สระมรกต”  ก่อนได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 บริเวณด้านข้างสนามกีฬากลาง  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ในปัจจุบันนี้

บริเวณโดยรอบ “สระมรกต” มักเป็นจุดรวมการนัดพบ รวมตัวกันของคณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา  เนื่องจาก “สระมรกต” อยู่ติดกับสนามกีฬา ดังนั้น บริเวณนี้เป็นศูนย์รวมของการจัดกิจกรรมนันทนาการต่างๆ เช่น เป็นจุดพบปะสังสรรค์ระหว่างกลุ่มนักศึกษา เพื่อนๆ รุ่นพี่ รุ่นน้อง และกิจกรรมที่มักจะจัดอยู่บ่อยครั้ง แต่ที่จัดเป็นประจำทุกปี คือ ประเพณีลอยกระทง จัดประกวดกระทง ประเภทต่างๆ  ประกวดสาวงาม นางนพมาศ ฯลฯ  โดยมีการจัดทำสะพานไม้เล็กๆ ยื่นลงไปบริเวณสระน้ำ “สระมรกต” ลงไปลอยกระทงได้  เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบสานตามประเพณี  เป็นสระน้ำขนาดไม่ใหญ่มากนัก มีบัวสีสันสวยงาม น้ำใส บรรยากาศร่มรื่น  ลมพัดโชยอ่อน อากาศเย็นสบาย  และต่อมาภายหลังได้ทำสะพานสีแดง ข้ามผ่าน  และเดินไปมาได้  นักศึกษามักจะมาถ่ายภาพ  ทำกิจกรรมกันเป็นจำนวนมาก ภายหลังเมื่อ “สระมรกต” ได้มีการปรับพื้นที่เป็นอาคารโภชนาการ 2 จึงย้ายไปจัดประเพณีลอยกระทง ที่สระน้ำ  บริเวณภายในสวนสุขภาพ หน้าอาคารชิน โสภณพนิช แทน “สระมรกต”

ภาพถ่ายปี พ.ศ. 2554

นักศึกษาถ่ายภาพบนสะพาน ภาพปี พ.ศ. 2554

บริเวณรอบ “สระมรกต” ยังมีสวนไผ่ประดับ โต๊ะม้าหินสำหรับพักผ่อน ด้านทิศใต้ ติดกับทางเดิน Cover Way  ส่วนด้านทิศเหนือ ตรงหัวมุมทางเดินมีห้องน้ำ ชาย-หญิง   และถัดไปมีซุ้มอ่านหนังสือ  มักจะมีนักศึกษาแวะเวียนมานั่งเป็นกลุ่มๆ อย่างต่อเนื่อง กลุ่มเล็ก กลุ่มใหญ่บ้างแล้วแต่จำนวนสมาชิก เพื่อทำกิจกรรม อ่านหนังสือ ติวหนังสือ และพักผ่อนกันตามอัธยาศัย

ซุ้มอ่านหนังสือ

ซุ้มอ่านหนังสือ

วันเวลาที่ผ่านไป สถานที่เหล่านั้นไม่อาจหวนคืนกลับมาดังเดิมได้  แต่ละแห่งมักมีการปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ความเหมาะสม  และความคุ้มค่าประโยชน์การใช้สอย  แต่ผู้เขียนเชื่อว่าหลายท่านอาจยังระลึก นึกถึงและอยู่ในความทรงจำสถานที่เหล่านี้เช่นเดียวกัน  ที่ยังพอจำได้  ยังไม่ได้ลืมเลือนหายไป

รายการอ้างอิง

ภาพ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา

ภาพ หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa