SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ 
ต.ค. 8th, 2019 by namfon

จากการเข้าร่วมประชุมวิชาการ หัวข้อเรื่อง บทบาทงานจดหมายเหตุในกระแส Big Data และสังคมแห่งการเรียนรู้ ณ ห้องประชุม ชั้น 5 ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8-9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 เวลา 08.30-16.30 น. รวมระยะเวลา 2 วัน จัดโดยสมาคมจดหมายเหตุไทยร่วมกับหอจดหมายเหตุพุทธทาสอินทปัญโญ  สามารถสรุปผลที่ได้รับจากการประชุมวิชาการในครั้งนี้ ดังนี้

 

1.ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง สารสนเทศ : รากฐานของความรู้และการพัฒนา (โดย ดร. เตช บุนนาค)

พ.ศ. 2509-2510 การจดหมายเหตุไทยยังไม่เจริญเหมือนในปัจจุบัน เริ่มไปค้นหาเอกสารจดหมายเหตุที่ตึกถาวรวัตถุ กระทรวงมหาดไทย เอกสารเกี่ยวกับกรมพระยาดำรงราชานุภาพ  การเก็บเอกสารยังไม่เป็นระบบ ยังไม่มีห้องบริการค้นคว้า เอกสารกระจัดกระจายและมีฝุ่นหนามาก แต่เจ้าหน้าที่ก็ทำงานกันอย่างเต็มที่

พ.ศ. 2512 รับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เป็นเวลา 35 ปี ได้เสนอให้กระทรวงการต่างประเทศ  นำเอกสารไปเก็บไว้ที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ  เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญ ตัวอย่างเช่น แผนที่แม่น้ำโขง การแบ่งดินแดนระหว่างไทยกับฝรั่งเศส หรือจดหมายขอความร่วมมือเวียดนาม-ไทย  หลังเกษียณจากกระทรวงการต่างประเทศ ในหลวงรัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเอกสารจดหมายเหตุสำนักราชเลขาธิการ เกี่ยวกับในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ศาลายา เป็นงานจดหมายเหตุที่ภาคภูมิใจมาก

หอจดหมายเหตุเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ได้มีโอกาสไปทำงานที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติอังกฤษ ตั้งแต่ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึงปัจจุบัน  เก็บเอกสารไว้เป็นอย่างดี   สมัยก่อนเขียนบนแผ่นศิลาจารึก ทำให้รู้ประวัติศาสตร์จากศิลาจารึก ปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างมาก  การดิจิทัลเป็นการอนุรักษ์เอกสาร ในขณะเดียวกัน  ยังใช้เอกสารแบบเก่าๆ อยู่บ้าง เช่น ไมโครฟิล์ม เพื่อจะได้รักษาเอกสารให้คงอยู่ได้นานๆ  ปัจจุบันมีจัดตั้ง
หอจดหมายเหตุ เช่น หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้า และหอจดหมายท่านพุทธทาส อินทปัญโญ เป็นต้น Read the rest of this entry »

Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
มี.ค. 28th, 2019 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการประจำปี เรื่อง Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21  เมื่อวันที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยการบรรยาย  5 หัวข้อ ได้แก่

  • AI and Big Data in KU  โดย ผศ. ดร. ภุชงค์ อุทโยภาส (รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • Library Analytic and Matrix Using Data to Driven Decision Services โดย Dr.Jin Chen (Shanghai Jiao Tong University Library)
  • AI กับงานห้องสมุด โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ (ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • การเสวนาวิชาการเรื่อง Data Analytics จากประสบการณ์สู่การประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุด  โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ อาจารย์สาโรช เมาลานนท์ (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผศ. ดร. ศจี ศิริไกร (สาขาวิชาบริหารปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  และนายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. สมชาย นำประเสริฐชัย (ผู้อำนวยการ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • SciVal เครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดย นางสาวมณีรัตน์ จอมพุก (ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จะขอสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้ Read the rest of this entry »

i-School and Information Science Education in South Korea
มี.ค. 2nd, 2019 by pailin

จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง i-School and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh, Sungkyunkwan University, South Korea, SKKU Library  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562  ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้

i-School เป็นภาคีความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสารสนเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศจากหลากหลายสาขาในสถาบันต่างๆ มาร่วมกันแบ่งปัน องค์ความรู้ ประสบการณ์ ทรัพยากร เพื่อพัฒนาสร้างหลักสูตรด้าน Information Science ร่วมกัน ซึ่งมุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตที่จบมาให้สามารถหางานได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนำความต้องการในการทำงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาใช้ฝึกฝน เรียนรู้จากปัญหาที่พบในการทำงานจริง ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการในการรับบัณฑิตกลุ่มนี้เข้าทำงาน โดย i-School เริ่มต้นในปี 2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับความมือจากทวีปอื่น เช่น ยุโรป เอเซีย ตามมา แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ i-School

เนื่องจากในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราทุกคนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เราจึงควรนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีการนำข้อมูลจำนวนประชาชนที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์ในช่วงเวลาต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า จะเลือกรถเมล์สายใดในการเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ดูข้อมูลจากสถิติสัญญาณโทรศัพท์ที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของป้ายรถเมล์ ดังนั้น ในการนำข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของ Information Science ที่เป็นศาสตร์ในการศึกษา ความเชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์ ในความสัมพันธ์ของ 3 สิ่ง ได้แก่ มนุษย์ ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและบริหารจัดการสารสนเทศ ประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์ให้มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจ

วิทยากรได้แนะนำ i-School โดยมีลักษณะของการเป็นสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ จุดเด่นของ i-School เช่น การเป็น i-School จะเป็นการนำไปสู่การเป็น Data Science และ Digital humanities ซึ่งทั้งสองเรื่องสำคัญมากพอๆ กัน iPerspective (หรือ information perspective)  จะยั่งยืนได้ต้องมีใจที่เปิดกว้าง พนักงานหรือบุคลากรที่มีนวัตกรรมจะเป็นตัวเชื่อมนักศึกษาและอุตสาหกรรมในการทำงาน โครงการแลกเปลี่ยนที่เป็นสากลจะทำให้นักศึกษาที่มุมมองที่กว้างขึ้น ฯลฯ

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa