SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
มารียูส (Reuse) กันเถอะ
มิถุนายน 7th, 2018 by namfon

การรียูส (Reuse) คือ การนำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์สินค้าประเภทต่างๆ เช่น กระดาษ แก้ว โลหะ และพลาสติก ที่ยังสามารถใช้ประโยชน์นำกลับมาใช้ให้คุ้มค่าที่สุด  เพราะการใช้ครั้งเดียว ทำให้เกิดขยะมากเกินจำเป็นและสูญเสียทรัพยากรในการผลิตวัสดุเหล่านี้ซ้ำ เพื่อเป็นการนำมาใช้เพิ่มเติมอีกครั้ง เป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ลดใช้การใช้พลังงาน เป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยังได้สิ่งของใหม่ไว้ใช้งานได้อีกด้วย  การใช้ซ้ำโดยไม่ผ่านกระบวนการทางโรงงาน มี 2 วิธี

1. การนำกลับมาใช้ซ้ำด้วยวิธีการเดิม เช่นการนำภาชนะใส่อาหาร นำมาใส่อาหารซ้ำอีกครั้ง

2. การนำกลับมาใช้ซ้ำโดยผ่านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อใช้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ เช่น การประดิษฐ์ยางล้อรถยนต์ที่ไม่ได้ใช้แล้ว

มาดูตัวอย่างที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรตินำวัสดุหรือบรรจุภัณฑ์มาใช้ซ้ำ และขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ซึ่งพอสรุปกลุ่มสิ่งของที่นำกลับมาใช้ซ้ำได้ดังนี้
1. ชั้นวางของจากกล่องกระดาษติดด้วยกระดาษสลากกินแบ่งรัฐบาล (โครงการของกลุ่มนักศึกษา ตัวแทนกลุ่ม น.ส.จุฬารัตน์ จะแล)

อุปกรณ์

1.ไม้อัด
2. กระดาษสลากกินแบ่งรัฐบาล
3. กล่องหรือลังกระดาษที่ไม่ได้ใช้แล้ว
4. ไม้บรรทัด
5. กรรไกร
6. คัตเตอร์
7. เหล็กพับ
8. สกรูน๊อต
9. กาว

ขั้นตอนการทำ

1. ใช้ไม้อัดตัดเป็นฐานหกเหลี่ยม
2. นำกล่องกระดาษหรือลังกระดาษมาตัดวัดตามขนาดที่ต้องการแบ่งเป็นช่องทั้งหมด 6 ช่อง
3. ติดเหล็กพับ ยึดด้วยสกรูน๊อตให้แน่น
4. นำกาวมาติดทับด้วยกระดาษกินแบ่งรัฐบาล

ชั้นวางของจากกล่องกระดาษติดด้วยกระดาษลอตเตอรี่

ชั้นวางของจากกล่องกระดาษติดด้วยกระดาษสลากกินแบ่งรัฐบาล

2) กรอบรูปหรือชั้นวางหนังสือวัสดุจากหญ้าแฝก

ชั้นวางหนังสือจากหญ้าแฝก

ชั้นวางหนังสือจากหญ้าแฝก

ชั้นวางหนังสือจากวัสดุหญ้าแฝก

กรอบรูปหรือชั้นวางหนังสือจากวัสดุหญ้าแฝก

พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงแนะนำให้เกษตรกรปลูกหญ้าแฝก เพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำ  “พระองค์จึงทรงมีแนวพระราชดำริให้นักวิจัยได้คิดหาวิธีการใช้ประโยชน์จากใบหญ้าแฝกให้มีประโยชน์อย่างครบวงจร…” นักวิจัยจึงคิดค้นพัฒนาและพบว่าใบหญ้าแฝกมีศักยภาพในการนำมาทำแผ่นไม้อัด ทำเฟอร์นิเจอร์ได้  โดยมีเส้นใยลิกนินและเซลลูโลส เป็นส่วนประกอบสำคัญ

อุปกรณ์

1.แผ่นไม้อัดจากหญ้าแฝก
2. เลื่อยฉลุ
3. แผ่นพับ
4. สกรูน๊อต
5. ไม้บรรทัด
6. ดินสอ
7. ไขควง

ขั้นตอนการทำ
1. วัดแผ่นไม้อัดจากหญ้าแฝกตามขนาดที่ต้องการ
2. ใช้ดินสอวาดลวดลายตามต้องการใช้เลื่อยฉลุ ใช้ไขควงยึดด้วยแผ่นพับและสกรูน๊อตก็จะได้ชิ้นงานตามต้องการ

3) ที่วางหนังสือจากกล่องกระดาษ

อุปกรณ์
1. กล่องหรือลังกระดาษสำหรับใส่เครื่องใช้สำนักงานที่ไม่ได้งานแล้ว
2. ดินสอ
3. มีดคัตเตอร์
4. ไม้บรรทัด

ขั้นตอนการทำ
1. นำกล่องหรือลังกระดาษที่ใส่เครื่องใช้สำนักงาน ที่ไม่ได้งานแล้ววัดด้วยไม้บรรทัด
2. ใช้มีดคัตเตอร์ตัดกล่องตามรูปแบบที่ต้องการ
3. นำหนังสือมาวางเพื่อจัดแสดงบนที่วาง

ที่วางหนังสือจากกล่องกระดาษ

ที่วางหนังสือจากกล่องกระดาษ

4)  ดอกไม้จากหลอดพลาสติก

อุปกรณ์

1.หลอดกาแฟสีต่างๆ ขนาดยาว 12 นิ้ว
2. กรรไกร
3. เกสร
4. ลวด
5. ฟลอร่าเทป

ขั้นตอนการทำ
1. ใช้กรรไกรผ่าครึ่งตรงกลางหลอดกาแฟแล้วใช้กรรไกรรีดให้หลอดแบน
2. ใช้กรรไกรตัดหลอดกาแฟซอยเป็นฝอยๆประมาณ 1 มม. เว้นด้านบนไว้ 1 ซม.
3. ม้วนจากปลายหลอดเป็นวงกลมไปจนครบรอบ
4. ใช้เกสรสอดตรงกลาง เพื่อทำเกสร
5. สอดลวดตรงกลางดอก เพื่อทำก้านดอก
6. พันก้านด้วยฟลอร่าเทป

ดอกไม้จากหลอดพลาสติก

ดอกไม้จากหลอดพลาสติก

5) ดอกกุหลาบและดอกโบตั๋นจากถุงพลาสติก

ปัจจุบันมีการผลิตถุงพลาสติกและมีการใช้ถุงพลาสติกเป็นจำนวนมาก พลาสติก 1 ใบ ต้องใช้เวลาย่อยสลายถึง 450 ปี แต่หากเอาไปเผาก็จะทำให้เกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอนทำให้เกิดมลภาวะโลกร้อน การใช้งานที่เหมาะสมรวมถึงการใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่  น่าจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุดเพื่อนำขยะมารีไซเคิล  ลดปริมาณขยะที่มีนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ลดปริมาณการใช้พลาสติก สามารถนำมาแปรรูปเป็นดอกไม้ เช่น การทำดอกกุหลาบและการทำดอกโบตั๋น

 อุปกรณ์
1. ถุงพลาสติก
2. กระดาษต้นแบบ
3. ลวดพันก้าน
4.กาวลาเท็กซ์
5. กรรไกร
6. ไม้เสียบลูกชิ้น/ก้านสำเร็จรูป
7. ฟลอร่าเทป (สำหรับพันก้าน)
8.ใบสำเร็จรูป
9. ด้าน (สำหรับพันกลีบดอกไม้)

ติดตามดูคลิปการทำดอกไม้ทั้ง 2 แบบ ได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.thKMdo-ityourself-flowers-plastic-bag/

ดอกไม้จากถุงพลาสติก

ดอกกุหลาบจากถุงพลาสติก

ดอกโบตั๋นจากถุงพลาสติก

ดอกโบตั๋นจากถุงพลาสติก

6) ที่ใส่ของอเนกประสงค์จากแผ่นดิสก์เก็ตต์

อุปกรณ์
1. แผ่นดิสก์เก็ตต์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จำนวน 5 แผ่น
2. กาวร้อน

ขั้นตอนการทำ
แผ่นดิสก์เก็ตต์ ติดกาวร้อนประกบให้ครบทุกด้าน

7) ที่ใส่ของอเนกประสงค์จากแผ่น CD 

อุปกรณ์
1. แผ่น CD จำนวน 5 แผ่น
2. มีดคัดเตอร์
3. ไม้บรรทัด
4. กาวร้อน

ขั้นตอนการทำ

1. ใช้มีดคัตเตอร์ตัดบนแผ่น CD วัดขนาด ส่วนบนและส่วนล่างออกทั้ง 2 ชิ้นเท่ากัน ทำเป็นส่วนข้าง
2. แผ่น CD ตัดเหมือนแผ่นที่ 1 และแบ่งครึ่งทำเป็นส่วนฐานล่าง
3. แผน CD 2 แผ่น ตัดออกด้านเดียว นำมาประกอบ ทาด้วยกาวร้อน

ที่ใส่ของอเนกประสงค์จากแผ่นดิสก์เก็ตต์และแผ่น CD

ที่ใส่ของอเนกประสงค์จากแผ่นดิสก์เก็ตต์และแผ่น CD

8) ที่นั่งจากถังสี

ที่นั่งจากถังสี

อุปกรณ์
1. ถังสี จำนวน 7 ใบ
2. ผ้าสีส้มหรือหนัง
3.เบาะทรงกลม สำหรับรองนั่ง
4. ด้าย

ขั้นตอนการทำ
1. ถังสีใช้แล้วทำความสะอาดให้เรียบร้อย
2. เย็บเบาะรองนั่งจากผ้าหรือหนัง
3. เย็บผ้าคลุมเพื่อครอบเบาะและถังสีเพื่อให้มีความสวยงามมากขึ้น

9) โต๊ะอ่านหนังสือทำจากยางรถยนต์

อุปกรณ์

1.ยางรถยนต์ 2 เส้น
2.ไม้อัด
3.น๊อต 4 ตัว
4.กาวยางพารา
5.เลื่อย

ขั้นตอนการทำ

1.นำยางรถยนต์ที่ไม่ใช้งานแล้ว ทำความสะอาด
2.ทากาวที่ยางรถยนต์ประกบกันทิ้งไว้ให้แห้ง
3. ใช้เลื่อยตัดไม้อัดเป็นรูปทรงกลม ให้มีขนาดใหญ่กว่าวงกลมด้านในยางรถยนต์
4. ติดน๊อตยึดบนไม้อัดกับยางรถยนต์เป็นอันเสร็จสิ้น

ที่นั่งจากถังสีและโต๊ะจากยางล้อรถยนต์

ที่นั่งจากถังสีและโต๊ะจากยางล้อรถยนต์

10) ที่คั่นหนังสือจากเชือกแขวนนามบัตรที่ไม่ใช้งาน

อุปกรณ์
1. ที่คั่นหนังสือ
2. เชือกแขวนนามบัตรที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว
3. ที่เจาะรู

ขั้นตอนการทำ

1.เจาะรูบนที่คั่นหนังสือ
2.สอดเชือกร้อยบนที่คั่นหนังสือ เพื่อใช้สำหรับแจกผู้ใช้บริการนำมาคั่นหนังสือ

ที่คั่นหนังสือจากเชือกแขวนนามบัตร

ที่คั่นหนังสือจากเชือกแขวนนามบัตร

11) ดอกไม้จากกระดาษสีโปสเตอร์

อุปกรณ์
1. กระดาษสีโปสเตอร์ สีตามชอบ
2. ปืนกาว
3. กาวแท่งซิลิโคน
4. กระดาษแข็ง (ต้นแบบ)
5. กรรไกร
6. ดินสอ

ขั้นตอนการทำ
1. ตัดกระดาษแข็งเพื่อเป็นต้นแบบ จำนวน 4 แผ่น
2. ตัดกระดาษสีโปสเตอร์ตามต้นแบบ
3. ติดด้วยปืนกาวกลีบดอกชั้นที่ 1 เป็นดอกตูม แล้วติดชั้นที่ 2-4 กลีบ จะได้ชิ้นงานเป็นดอกกุหลาบ ใช้ประดับ ตกแต่ง ตามเทศกาลพิธีต่างๆ

ดอกไม้จากกระดาษสีโปสเตอร์ แบบที่ 1

ดอกไม้จากกระดาษสีโปสเตอร์

ดอกไม้จากกระดาษสีโปสเตอร์

ดอกไม้จากกระดาษสีโปสเตอร์

ดังนั้น การ“ใช้ซ้ำ”อย่างไรให้ปลอดภัย ได้ข้อสรุปดังนี้

1.บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วทุกชนิดสามารถ “ใช้ซ้ำ”ได้ หากไม่ได้ใช้กับอาหารและเครื่องดื่ม

2.บรรจุภัณฑ์หรือวัสดุที่นำมา “ใช้ซ้ำ”กับอาหารและเครื่องดื่มจะต้องเป็น Food Grade เท่านั้น

3.นอกจากแก้วแล้วหากคิดจะ “ใช้ซ้ำ”บรรจุภัณฑ์ชนิดอื่นกับอาหารและเครื่องดื่ม  ต้องพึงระวังเรื่องนี้

จึงขอเชิญชวนทุกคนว่าควรตระหนักและหันมาใส่ใจกับการลดปริมาณขยะกันให้มากขึ้น การใช้ซ้ำก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกันเปลี่ยนแปลงและช่วยโลกได้  เริ่มเปลี่ยนแปลงกันตั้งแต่วันนี้ ทำเพืื่อโลกของเราจะได้สวยงามและน่าอยู่  เริ่มต้นได้ที่ตัวเราเองก่อน แล้วค่อยๆ ขยายไปยังชุมชน และสังคม ให้ทุกคนมีส่วนร่วมและช่วยกัน เราทุกคนทำได้แน่นอน


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa