การประเมินหลักสูตรและโครงการวิจัยประเมินหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาแต่ละหลักสูตรที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาพรวมของแต่ละหลักสูตร มีความเหมาะสมและมีคุณภาพดีเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีความเหมาะสมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ทักษะด้านปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ รวบรวมงานวิจัยการประเมินหลักสูตรต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน มีการจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถยืมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการทำรายการให้มีความทันสมัยและได้ข้อมูลตามหลักสากล ง่ายต่อการเข้าถึง มีการเพิ่มรายละเอียดในส่วนของสารบัญย่อ การเพิ่มรายชื่อผู้วิจัยทุกคน และเพิ่มอักษรย่อสาขาวิชาไว้ภายใต้ปีพิมพ์ของการจัดหมวดหมู่ ให้อีกช่องทางหนึ่ง
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เปิดการเรียนการสอน หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโครงการสวัสดิการสังคม และ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ตั้งแต่ปีการศึกษา 2538 ต่อมามีหลักสูตรอื่น ๆ อีกหลายหลักสูตร มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาได้ส่งวิทยานิพนธ์ (Thesis) และภาคนิพนธ์ ต่อมาภาคนิพนธ์ได้เปลี่ยนเป็นการศึกษาอิสระ (Independent Study) เก็บให้บริการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ และเพื่อเป็นการจัดการทรัพยากรสารสนเทศประเภทนี้ ให้เป็นระบบมากขึ้น ได้มีการปรับเปลี่ยน Call Number ลดจำนวนการจัดเก็บ และทบทวนการลงรายการการศึกษาอิสระให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. เพื่อปรับเปลี่ยนการลงรายการการศึกษาอิสระให้มีสถานะทันสมัย มีการวิเคราะห์หมวดหมู่ (Call Number) ให้ง่ายขึ้น แต่เดิมศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำการวิเคราะห์หมวดหมู่การศึกษาอิสระ ตามเนื้อหา มี 2 ระบบ คือ ระบบการจัดหมวดหมู่รัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหาทางด้านสังคมศาสตร์ และสาขาอื่น ๆ ที่อยู่ในขอบเขตของระบบดังกล่าว และใช้ระบบการจัดหมวดหมู่ระบบการแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National library of Medicine Classification) สำหรับการศึกษาอิสระที่มีเนื้อหา หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ สาขาต่าง ๆ เช่น สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ เป็นต้น ปรับเปลี่ยน Call Number ให้เป็นหมวดหมู่ที่ศูนย์บรรณสารเทศ กำหนดเอง (Local Call Number) ประกอบด้วย มฉก (เพื่อแสดงถึงสิ่งพิมพ์ของมหาวิทยาลัย) ภ หมายถึง ภาคนิพนธ์ และตามด้วยชื่อผู้ทำรายงานการศึกษาอิสระ เลขผู้แต่ง ต่อด้วยตัวอักษรตัวแรกของชื่อเรื่อง และปีที่ทำรายงาน ตัวอย่าง มฉก. ภ ก397ก 2562 ดังตัวอย่างภาพข้างล่าง Read the rest of this entry »
การสืบค้นวิทยานิพนธ์ ทำได้หลายวิธี แล้วแต่ความถนัด หรือเทคนิคของแต่ละคน ในบางครั้ง อาจจะมีความต้องการสืบค้นว่า วิทยานิพนธ์ในสาขาที่ศึกษาอยู่นั้น มีรายชื่อใดบ้าง แต่ทั้งนี้ การสืบค้นด้วยสาขาวิชา หรือหลักสูตร ต้องขึ้นอยู่กับว่าในระเบียนการลงรายการวิทยานิพนธ์นั้น มีการใส่ข้อมูลสาขาวิชา หรือหลักสูตร เป็นคำค้นด้วยหรือไม่
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้อำนวยความสะดวกในการค้นหาวิทยานิพนธ์ ให้ได้ตรงตามสาขาวิชาที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จึงขอแนะนำวิธีการสืบค้นวิทยานิพนธ์ จากสาขาวิชา โดยมีแนวทางดังนี้
ตัวอย่าง คำค้นที่เลือกใช้โดยต้องการค้นวิทยานิพนธ์ การสอนภาษาจีน ใช้คำค้นคือ Teaching Chinese (Huachiew Chalermprakiet Unversity) ที่ subject แล้ว search ปรากฎหน้าจอที่ 2 Read the rest of this entry »
ตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมโครงการจัดเก็บเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ฉบับเต็ม (Digital Collection) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 เพื่อให้ผู้ใช้ได้ประโยชน์สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยง่ายมีความสะดวก ไม่เสียค่าใช้จ่าย ทำให้สามารถสืบค้นข้อมูลวิทยานิพนธ์ การวิจัย หนังสือหายาก และบทความ ทั้งที่เป็นของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และมหาวิทยาลัย หรือสถาบันอื่น ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ จึงขอแนะนำวิธีการค้นข้อมูล เบื้องต้น (Basic search) ตามขั้นตอนดังนี้
เริ่มต้นจากหน้าเว็บไซต์ศูนย์บรรณสารสนเทศ (https://lib-km.hcu.ac.th) Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้
1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์ 2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ 3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย 4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »
ในกุารลงรายการทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศ ในบางกรณี จะพบว่ามีการกำหนดชื่อของทรัพยากรสารสนเทศไว้ในส้วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่แหล่งข้อมูลหลัก (Chief source of information) เช่น หน้าปก สันหนังสือ เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีชื่อเรื่องที่แตกต่างกันออกไป หรือแม้แต่ชื่อเรื่องที่มาจากแหล่งข้อมูลหลักเอง เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นได้ทุกชื่อเรื่องที่ปรากฏ หรือทุกชื่อที่น่าจะเป็นช่องทางในการเข้าถึง บรรณารักษ์มักจะกำหนดชื่อเรื่องที่แตกต่างกันนั้น ไว้ในเขตข้อมูล 246 (Varying form of title) ซึ่งมีรายละเอียดของหลักเกณฑ์ในการลงรายการของเขตข้อมูล 246 ดังรายละเอียด
เสวนาความรู้เรื่องอยู่อย่างไรในยุค Digital ดิจิทัลกับผู้คร่ำหวอด แวดวง IT ในรูปแบบ Technology Talk โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ อธิการบดี และ อาจารย์สรวลสรรค์ พจนอารี (ผู้ดำเนินรายการ) วันที่ 8 มีนาคม 2561 เวลา 13.30 -16.00 น. ณ ห้องสื่อประสม อาคารบรรณสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ท่านอธิการบดี ได้กล่าวต่อผู้รับฟังการเสวนาว่าไม่ได้เรียนมาทางด้าน Information technology แต่เป็นคนที่สนใจ เมื่อตอนที่เป็นเด็กชอบอ่านหนังสือ ซึ่งบ้านอยู่ใกล้ร้านขายหนังสือ ชอบอ่านจนหมดร้าน ต่อมาได้ศึกษาคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ได้สืบค้นเรื่องทางการแพทย์ ผ่าน Medline เช่น ไข้หวัดนก เรื่องที่เกี่ยวข้องจะขึ้นมาหมด ทำให้เห็นว่ามีใครเป็นผู้เขียนบ้าง
ต่อมามีความสนใจคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์สมัยนี้มีความเร็วกว่าแต่ก่อนเป็นพัน ๆ เท่า เมื่อมาเป็นผู้อำนวยการสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบันคือสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) จึงมีความฝันจะทำฐานข้อมูล ซึ่งห้องสมุดเดิมใช้โปรแกรม CDS /ISIS โดยการใช้ CU MARC เป็นการรวบรวมข้อมูลให้ถูกต้องได้มาตรฐาน ในการนำห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย
ก่อนหน้าที่จะมีการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ได้มีการเริ่มนำ Internet มาใช้ เริ่มต้นจาก ศาสตราจารย์นพ.จรัส สุวรรณเวลา (อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในสมัยนั้น) ต้องการมี Electronic mail ซึ่งตอนนั้นมี Bitnet และ Internet การเข้าใช้ Internet นั้นแต่ก่อนของไทยมีศูนย์อยู่ที่จังหวัดสงขลา Login ไปประเทศออสเตรเลียวันละ 1 ชั่วโมง เมื่อได้ไปประชุมในปี 2534 เกี่ยวกับ Internet ครั้งแรกที่เกียวโต และได้พบกับ ริค อดัมส์ ยินดีให้ฟรี 1 ปี แต่จุฬาฯไม่มี Sever เป็น Mini Computer ไม่มีงบประมาณซื้อเครื่องมือ ริค อดัมส์ ให้เครื่องราคา 200,000-300,000 บาท และมี อ. ดร ยรรยง เต็งอำนวย เข้ามาช่วย จากนั้นจึงมีระบบ INNOPAC ซึ่งเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ทำให้สามารถใช้ FTP ข้อมูลผ่านระบบ Internet เมื่อทำ INNOPAC สำเร็จ หมดวาระ จึงไปช่วยงานที่ทบวงมหาวิทยาลัย ในส่วนของ IT Campus วางรูปแบบ ThaiLinet และโครงการ ThaiLIS
จากการฟังบรรยายในครั้งนี้ มีความเห็นว่า การเป็นผู้บริหารจะต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ ทันต่อเทคโนโลยี ทราบว่าควรจะนำเทคโนโลยีใดเข้ามาใช้ ที่เป็นประโยชน์และคุ้มค่า รู้จักใช้ Social Media ให้เกิดประโยชน์ ระมัดระวังในการใช้ เพราะอาจจะก่อให้เกิดอันตราย หรือมีโทษต่อตนเอง และสังคมตามมา ทั้งนี้ ท่านอธิการบดี ได้มอบแนวคิดให้ผู้มาฟังให้พยายามสร้างบัณฑิตเป็นคนพันธุ์หัวเฉียว ที่มีคุณธรรม 6 ประการ และเป็นคุณลักษณะเฉพาะของนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
National Library of Medicine Classification หรือ NLM คือ ระบบการจัดหมวดหมูแบบระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน จัดทำโดยหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เป็นระบบการจัดหมู่หนังสือที่มีความสัมพันธ์กับการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน หรือ LC (Library of Congress Classification) ระบบหนึ่ง
ระบบ NLM เริ่มมีการจัดทำ เมื่อประมาณปี ค.ศ 1940 โดยหอสมุดการแพทย์ทหารบกของประเทศสหรัฐอเมริกา (U.S. Army Medical Library) โดยจัดพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1951 ใช้ชื่อหนังสือว่า Army Medical Library Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1958 ใช้ชื่อหนังสือว่า National Library of Medicine Classification จัดพิมพ์ครั้งที่ 3 ในปี ค.ศ.1964 จัดพิมพ์ครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ.1978 จัดพิมพ์ครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 1994 และ ฉบับพิมพ์ซ้ำ ครั้งที่ 5 ปี ค.ศ. 1999
ระบบ NLM ได้ใช้อักษร W เป็นสัญลักษณ์ของหมวดใหญ่ (Class) เป็นหมวดสำหรับแพทยศาสตร์ (Medicine) และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง มีสัญลักษณ์แทนหมวดย่อย (Subclasses) ตั้งแต่ WA-WZ ส่วนหมวดย่อย QS-QZ เป็นหมวดสำหรับสาขาวิชาเตรียมแพทยศาสตร์ (Preclinical Sciences)
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการจัดหมวดหมู่ของทรัพยากรสารสนเทศ 2 ระบบ คือ การจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) สำหรับหนังสือทั่วไป และจะใช้การจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) สำหรับหนังสือทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ผู้เขียนได้รวบรวมขอบเขตการจัดหมวดหมู่ระบบหอสมุดแพทย์แห่งชาติอเมริกัน (National Library of Medicine) เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาหนังสือดังกล่าว ซึ่งจะจัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 4 หนังสือที่เป็นภาษาจีน และคณะการแพทย์แผนจีน จัดไว้ที่แผนกบริการสารสนเทศ ชั้น 5 Read the rest of this entry »
ทรัพยากรสารสนเทศ ที่แจ้งหายคือ ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ผู้ใช้บริการ เช่น อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ทำหายระหว่างการยืม ส่วนใหญ่เป็นหนังสือ เมื่อผู้ใช้ทำหายให้มาติดต่อเขียนแบบฟอร์มการแจ้งหายที่เคาน์เตอร์ ชั้น 1 งานบริการยืม – คืน ซึ่งงานบริการยืม – คืน จะมีแบบฟอร์มให้กรอกรายละเอียดของทรัพยากรสารสนเทศเล่มที่ได้ทำหาย ถ้ายังไม่ถึงวันกำหนดส่ง ก็จะไม่มีค่าปรับ
ในประกาศมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ 44/2536 ประกาศ ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2536 เรื่องการใช้ห้องสมุด หมวด 8 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ใช้ห้องสมุดและผู้ยืมทรัพยากรสารสนเทศ ข้อ 27 ผู้ยืมทรัพยากรสารสนเทศต้องรับผิดชอบดังต่อไปนี้
(3) เมื่อมีการสูญหาย ผู้ยืมจะต้องชดใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้นเป็นการทดแทน ในกรณีที่เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ไม่สามารถจะหาซื้อได้อีก หรือไม่ทราบราคา และผู้ยืมไม่สามารถจะหามาแทนได้ ผู้ยืมจะต้องชดใช้เป็นจำนวนเงินตามที่ศูนย์บรรณสารสนเทศเห็นสมควร
ในปัจจุบันได้กำหนดค่าปรับเกินกำหนดส่งวันละ 5 บาทต่อเล่ม และค่าปรับสูงสุดอยู่ที่จำนวนเงิน 300 บาท หากผู้ใช้มาแจ้งการทำทรัพยากรสารสนเทศสูญหาย ก็จะคิดค่าปรับตามจำนวนวัน และเป็นจำนวนเงินดังกล่าว พร้อมด้วยค่าดำเนินการในการจัดทำอีก เล่มละ 50 บาท หลังจากการกรอกแบบฟอร์มการแจ้งหายแล้วจะให้เวลาผู้ใช้ในการหาซื้อ หรือจัดทำเป็นเวลา 14 วัน โดยบุคลากรผู้ที่รับการแจ้งหายจะให้คำแนะนำการปฏิบัติ เช่น ให้ซื้อทรัพยากรสารสนเทศชื่อเดียวกัน แต่เป็นปีพิมพ์ที่ทันสมัยกว่า หรือปีพิมพ์ล่าสุด ราคาไม่น้อยกว่าเล่มที่สูญหาย กรณีหาซื้อไม่ได้ให้ไปถ่ายสำเนาทรัพยากรสารสนเทศ ชื่อเดียวกันมาดำเนินการจัดทำรูปเล่มให้เรียบร้อย นำมาทดแทน หรือเมื่อตรวจสอบฐานข้อมูลแล้วยังมีทรัพยากรสารเทศ เนื้อหาเดียวกันแต่เป็นคนละชื่อเรื่อง ก็สามารถซื้อมาทดแทนได้เช่นกัน
เมื่อกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มและรับทรัพยากรสารสนเทศแล้ว งานบริการสารสนเทศจะนำส่งใบสำเนาการแจ้งหาย (สีเหลือง) พร้อมทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้ใช้ซื้อมาทดแทน ส่งที่แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อดำเนินการทำข้อมูลประวัติสิ่งพิมพ์ที่แจ้งหาย โดยบรรณารักษ์ที่ได้รับมอบหมายทำการวิเคราะห์หมวดหมู่ และทำข้อมูลทดแทนหรือข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศระเบียนใหม่เข้าในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ และติดสัน ประทับตราให้เรียบร้อย เพื่อนำส่งแผนกบริการสารสนเทศต่อไป