SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเข้าร่วมจัดนิทรรศการเสมือนจริง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้
กุมภาพันธ์ 4th, 2021 by namfon

ผู้เขียนได้มีโอกาสเรียบเรียงเนื้อหาแนะนำหอจดหมายเหตุหน่วยงาน และเอกสารโสตทัศนจดหมายเหตุ ประเภทภาพถ่าย ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ นับเป็นครั้งแรกที่หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมในครั้งนี้  เนื่องจากเป็นสมาชิกเครือข่ายสมาคมจดหมายเหตุไทย  โดยการเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการเสมือนจริง เรื่อง หอจดหมายเหตุ : พลังแห่งความรู้ (Archives: Empowering Knowledge Societies) เพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสวันจดหมายเหตุแห่งชาติสากล ตรงกับวันที่ 9 มิถุนายน  และวันแห่งการสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี

สื่อประชาสัมพันธ์ Cr. สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2563 หอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการดังกล่าว ประกอบด้วยกัน 2 ส่วน ดังนี้  ส่วนแรก  รู้จักภาคีเครือข่ายจดหมายเหตุ  เป็นการแนะนำหอจดหมายเหตุ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้กล่าวถึงการจัดตั้งหอจดหมายเหตุและพิธีเปิดหอจดหมายเหตุ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…หอจดหมายเหตุของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เป็นหน่วยงานสนับสนุนหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยที่ตั้งขึ้นในวาระครบรอบ 80 ปี ของ “มูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงตึ๊ง” ซึ่งเป็นองค์กรการกุศลจีนที่ใหญ่ที่สุดในสังคมไทย  เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติ  น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และมีความหมายต่อชาวจีนที่เข้ามาอยู่ใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารเป็นอย่างยิ่ง ด้วยประวัติการก่อตั้ง… วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งหอจดหมายเหตุ และข้อมูลการติดต่อ…”

และส่วนที่ 2  เอกสารจดหมายเหตุชิ้นสำคัญของชาติ  จดหมายเหตุว่าด้วยภาคีเครือข่ายหอจดหมายเหตุ (ห้องที่ 2)  ชื่อชุดพิธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2537 โดยมีเนื้อหาพอสังเขป “…พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานชื่อของมหาวิทยาลัยว่า “มหาวิทยาลัยหัวเฉียวหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ” เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2535 โดยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้พัฒนาโรงเรียนผดุงครรภ์หัวเฉียวมาเป็นวิทยาลัยหัวเฉียว และเป็นมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  มูลนิธิป่อเต็กตึ๊งได้ขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณให้มีคำว่า “หัวเฉียว” หมายถึง “จีนโพ้นทะเล” เป็นส่วนหนึ่งของชื่อพระราชทาน และเสด็จพระราชดำเนินในพิธธีเฉลิมพระเกียรติและสถาปนามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2537 เป็นสถาบันมหาวิทยาลัยเอกชนเพียงแห่งเดียวที่เสด็จฯ เมื่อทรงเปิดแพรคลุมป้ายชื่อมหาวิทยาลัย ท่านทรงรับสั่งกับแพทย์หญิงกรรณิการ์ ตันประเสริฐ (อธิการบดีในขณะนั้น) ว่า “มหาวิทยาลัยสวยมาก” แล้วเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการความสัมพันธ์ไทย-จีน และรูปปั้นคณะผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย และทรงปลูกต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย  เมื่อเสด็จฯ กลับ รับสั่งกับท่านประธานมูลนิธิฯ ดร.อุเทนฯ ว่าการสร้างมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ดีมาก “ขอให้ทำมหาวิทยาลัยให้ดี” นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นอย่างยิ่ง…”

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้เผยแพร่ในเว็บไซต์ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม สามารถเข้าชมทางออนไลน์แล้วทาง www.nat.go.th หัวข้อหอจดหมายเหตุ : พลังแห่งสังคมความรู้ หรือ https://virtualarchives.nat.go.th ตั้งแต่ 9 มิถุนายน-31 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาแล้วนั้น  ในส่วนนิทรรศการภาคีเครือข่ายหอจดหมายเหตุ (แนะนำองค์กร) จัดแสดง ณ ห้องนิทรรศการเสมือนจริง “ห้องที่ 12”

นอกจากนี้ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ได้มอบของที่ระลึกพร้อมหนังสืออภินันทนาการ ดังรายละเอียด ดังนี้
1. กระเป๋าผ้าพร้อมชุดโปสการ์ด
2. หนังสือคู่มือการปฏิบัติงานการจัดเก็บฟิล์มเนกาทีฟ ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
3. หนังสือก่อร่างสร้างจดหมายเหตุของชาติ
4. หนังสือคู่มือการจัดทำตารางกำหนดอายุการเก็บเอกสารหน่วยงานของรัฐ
5. หนังสือคู่มือการประเมินคุณค่าและการรับมอบเอกสารจดหมายเหตุของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
6. หนังสือคู่มือความรู้ด้านการจัดการคลังเอกสารจดหมายเหตุ การสำรวจเอกสารด้วยวิธีการ “UPAA METHOD”
7.  หนังสือคู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุ : การอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุโดยการแปลงรูปข้อมูลเข้าสู่ระบบดิจิตอล
8. หนังสือคู่มือการซ่อมอนุรักษ์เอกสารเย็บเล่มและอัลบั้มภาพถ่าย
9. หนังสือคู่มือการอนุรักษ์เอกสารจดหมายเหตุลายลักษณ์อักษร ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
10. หนังสือมาตรฐานการจัดเก็บเอกสารจดหมายเหตุ ของสำนักจดหมายเหตุแห่งชาติ
11. หนังสือคู่มือวิชาการพื้นฐานการบริหารและจัดการงานจดหมายเหตุ
12. หนังสือคู่มือการจัดหมวดหมู่และทำเครื่องมือช่วยค้นเอกสารจดหมายเหตุ
13. หนังสือคู่มือคำศัพท์วิชาการจดหมายเหตุ
14. หนังสือคู่มือการจัดตั้งหอจดหมายเหตุท้องถิ่นและการจัดทำบันทึกจดหมายเหตุเหตุการณ์สำคัญ
15. หนังสือคู่มือการจัดทำบันทึกจดหมายเหตุสำคัญ ของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ
สามารถสอบถามรายละเอียดการค้นคว้าหนังสือคู่มือดังกล่าวได้ที่  ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa