SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ทำต่อ ออร์เดอร์เดิม
ม.ค. 8th, 2021 by uthairath

ทำต่อออร์เดอร์เดิม คือ การทำขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders)  ต่อจาก (Orders) ที่ยังทำไม่เสร็จในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

Acquisitions module เป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด ในบทความนี้ขอนำเสนอการทำ Orders ต่อจาก Orders ที่ยังทำไม่เสร็จ จะใช้สำหรับ Orders ที่มีจำนวนรายการหนังสือจำนวนมาก ๆ ที่ไม่สามารถทำให้เสร็จภายในวันเดียว และสามารถทำต่อได้ในวันถัด หรือมีงานอื่นที่ต้องทำก่อน ก็สามารถ Save Orders ไว้ทำในคราวถัดไป ทำให้เกิดความสะดวกและง่าย ในการทำรายการต่อ มีขั้นตอนดังนี้

เข้าระบบ WMS ที่ https://hcu.share.worldcat.org/wms

ไปที่โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search

ภาพ 1 โมดูล Acquisitions เลือก Discover Items Search

Read the rest of this entry »

Group related editions ฟังก์ชั่นเพื่อช่วยในการสืบค้นของ WMS
ม.ค. 6th, 2021 by supaporn

ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่

รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น

Current Search        –  Keep selections for subsequent searches

เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »

สร้าง Vote ได้ง่ายๆ ใน Line Group
ธ.ค. 25th, 2020 by Natchaya

ปัจจุบัน Line กลายเป็นแอฟพลิเคชั่นที่จำเป็นสำหรับสมาร์ทโฟนและ PC ทุกเครื่องไปแล้ว เพราะสะดวกในการสื่อสารทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว โดยเฉพาะการตั้งกลุ่มหรือ Group ก็มีมากมายหลายกลุ่ม การสื่อสารแบบที่ต้องการให้เลือกหรือโหวต ย่อมเป็นเรื่องยุ่งยาก แต่ปัญหานี้จะหมดไปด้วยการสร้างโหวต หรือ Poll ในกลุ่มไลน์ค่ะ

1 เริ่มจากในหน้าแชทสนทนา คลิกที่เครื่องหมาย + ที่อยู่มุมล่างด้านซ้าย

2 คลิกคำว่า “โหวต”

3 จะเข้าสู่หน้าจอการสร้างโหวต คลิกที่ “สร้างหน้าโหวต”

Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธ.ค. 25th, 2020 by navapat

จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. – 12.00 น.  ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. นั้น สรุปการศึกษาดูงาน ได้ดังนี้

วิทยากรผู้นำชม คือ คุณณัฐยา  ตันเจริญ  ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนงานห้องสมุดมารวย   ได้ให้ข้อมูลว่า ห้องสมุดมารวย เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านตลาดทุนครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ทันสมัย  ด้วยหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุนมากกว่า 20,000 รายการ  พร้อมยกระดับสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านตลาดทุนชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านตลาดทุนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตามเป้าหมาย คือ

ประชาชนทั่วไป        เริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงินและการบริหารเงินให้งอกเงย

นักลงทุน                   เริ่มต้นลงทุนศึกษาปัจจัยพื้นฐานและต่อยอดการลงทุนแนวเทคนิค

ผู้ประกอบวิชาชีพ     ก้าวสู่การเป็นผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักวางแผนการเงิน

ผู้ประกอบการ           ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดใหม่ และนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร

ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่หลักคือ  1) Exchange Function  หา Product ต่าง ๆ ให้นักลงทุน  2) Education  นักลงทุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยากมีความรู้ไปบริหารจัดการการเงินของตน  ซึ่งในส่วนของงานห้องสมุดทำหน้าที่ในส่วนของการให้ความรู้ (Education) ประกอบด้วย  2 ส่วน คือ งานบริการ และการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ

  1. หนังสือ
  2. วารสาร / นิตยสาร
  3. หนังสือพิมพ์
  4. สื่อมัลติมีเดีย
  5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  6. ฐานข้อมูล

ทรัพยากรสารสนเทศมีมากกว่า 20,000 รายการ   80% เป็น Core Subject ด้านการเงิน การลงทุน การบริหารธุรกิจ ส่วนอีก 20%  เป็น Support Core Subject ได้แก่ การพัฒนาตนเอง ไอที ภาษา วรรณกรรม หนังสือเด็ก รูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้บริการยังมีทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ Read the rest of this entry »

“Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล
ธ.ค. 25th, 2020 by supachok

กิจกรรม เรื่อง “Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งจัดโดยศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวิทยากรที่ให้ความกรุณามาบรรยายในหัวข้อนี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์  ศิริเจริญ อาจารย์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วิทยากรถ่ายภาพร่วมกับผู้เข้ากิจกรรม

ซึ่งเป็นหนึ่งในที่กิจกรรมที่ส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการปรับตัวของผู้คนยุคใหม่ให้ทันโลกในยุคดิจิทัล และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเพื่อห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำไปฝึกปฎิบัติได้จริง  มีการทำ workshop ซึ่งเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีกิจกรรม และเกมส์ พร้อมรางวัลมาแจกให้ได้ลุ้นตลอดเวลา เช่น การวาดรูปบุคคลในดวงใจที่ไม่สามารถลืมได้ การร้องเพลงประกวดบนเวทีหรือ Best talent singing contest ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และจดจำบทเพลงที่ตัวเองชื่นชอบได้ในเวลาจำกัด และการตอบปัญหาชิงรางวัลกับความรู้รอบตัว Read the rest of this entry »

สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธ.ค. 25th, 2020 by sirinun

จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่

1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu  เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10
ธ.ค. 25th, 2020 by chonticha

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงาน Chula UltimateX Library ณ อาคารจามจุรี 10 ภายใต้การบริหารของสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. ซึ่งเป็นต้นแบบห้องสมุดแบบ Unmanned Library  โดย ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รองศาสตราจารย์ ดร.อมร เพชรสม และทีมงาน เป็นผู้บรรยาย

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดตัว Chula UltimateX Library ห้องสมุดที่ให้บริการในรูปแบบ Unmanned Library แห่งแรกของประเทศไทย ณ บริเวณชั้น 2 และชั้น M2 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)  เปิดให้บริการ วันจันทร์  –  วันศุกร์ เวลา 09.00 – 19.00 น. วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 18.00 น. และช่วงการสอบจะขยายเวลาจนถึง 21.00 น. ทุกวันจันทร์ – วันอาทิตย์ Read the rest of this entry »

ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน
ธ.ค. 25th, 2020 by wanna

จากการปฏิบัติงานวิเคราะห์หมวดหมู่และลงรายการบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนเข้าระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services-WMS ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนที่ห้องสมุดนำข้อมูลเข้าในระบบ WMS เขตข้อมูลชื่อผู้แต่ง (tag 100) และเขตข้อมูลชื่อเรื่อง (tag 245) จะต้องสะกดออกเสียงตามระบบ pinyin ชื่อผู้แต่ง (tag 100) จะต้องลงรายการเป็นอักษรจีน และ ต้องเพิ่ม tag 100 อีกเพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตามระบบ pinyin โดยอิงหลักเกณฑ์ตาม ALA-LC และ ชื่อเรื่อง (tag 245) จะเขียนเป็นอักษรจีน และเพิ่ม tag 245 อีกเช่นกัน เพื่อแปรอักษรจีนเป็นคำสะกดตาม ระบบ pinyin โดยเขียนสะกดแยกคำออกจากกัน แต่เนื่องจากโดยทั่วไปการสะกดคำตามระบบ pinyin จะสะกดตามที่นิยมเขียนเป็นคำศัพท์ที่ติดกัน เช่น 外国 เขียนสะกดตามระบบ pinyin เป็น waiguo หรือ 文化 จะเขียนเป็น wenhua จะไม่เขียนแยกเป็น wai guo หรือ wen hua

ข้อสังเกตจากการปฏิบัติงาน คือ ทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีนบางเล่มจะพิมพ์ชื่อเรื่องตามหลักทั่วไป คือเขียนติดกันในหน้า colophon (หมายถึง หน้าที่มีข้อมูลทางบรรณานุกรม ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และ ที่อยู่ของสำนักพิมพ์ เป็นต้น) ดังนั้น การลงรายการชื่อเรื่อง (tag 245 ) นอกจากเพิ่ม tag 245 เพื่อพิมพ์สะกดชื่อเรื่องเป็น pinyin ที่สะกดคำแยกกันแล้ว จะต้องลงรายการเพิ่มชื่อเรื่องในเขตข้อมูล 246 (tag 246) เพื่อสะกดชื่อเรื่อง pinyin ที่เขียนติดกันตามที่ปรากฏในหน้า colophon เพื่อให้สามารถสืบค้นชื่อเรื่องตามที่ใช้กันโดยทั่วไป

 

Read the rest of this entry »

ขั้นตอนการเบิกจ่ายวัสดุและครุภัณฑ์
ธ.ค. 24th, 2020 by ratchanee

ศูนย์บรรณสารสนเทศ เป็นหน่วยงานที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ ในการนำทรัพยากรออกให้บริการ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้วัสดุต่างๆ ในการจัดเตรียมการนำทรัพยากรสารสนเทศออกมาให้บริการแก่ผู้ใช้บริการหลาย ๆ อย่าง จึงต้องมีการเบิกวัสดุต่างๆ ซึ่งการเบิกวัสดุนั้น จะแบ่งเป็น วัสดุสำรองคลัง และวัสดุไม่สำรองคลัง

วัสดุสำรองคลัง หมายถึง  รายการวัสดุที่ทางกองพัสดุมีจัดซื้อไว้แล้ว (ซึ่งทางกองพัสดุแจ้งไว้ปัจจุบันมี 39 รายการ)

วัสดุไม่สำรองคลัง หมายถึง รายการวัสดุที่ทางกองพัสดุจะต้อง ดำเนินการขออนุมัติจัดซื้อให้ เมื่อมีการเขียนเบิก

การเบิกจ่ายวัสดุสำรองคลัง

1. ให้แต่ละแผนกเขียนรายการมาในแบบฟอร์มขอเบิก ส่งมายังสำนักงานเลขานุการ

2. ผู้ทำหน้าที่เบิกพัสดุตรวจสอบงบประมาณในปีนั้นๆ (งบประมาณต้องไม่เกินตามที่จัดสรรให้)

3. ส่งใบเบิกเสนอผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อลงนามอนุมัติการเบิก

4. ผู้อำนวยการ อนุมัติการเบิกวัสดุแล้ว ทำการสแกนเอกสารและส่งเข้า Mail ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ธุรการออกเลข เอกสารในระบบ Less paper  เมื่อได้เลขที่ออกแล้วจึงนำเอกสารตัวจริงส่งไปยังผู้อำนวยการกองพัสดุ

5. ส่งใบเบิกวัสดุไปยังกองพัสดุแต่ละเดือนนั้น ต้องไม่เกินวันที่ 1 ของทุกเดือน

6.ได้รับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนหากการเขียนเบิกวัสดุ เกินวันที่ 1 ของเดือน ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับวัสดุในวันศุกร์ที่ 2 ของเดือนถัดไป

7. การรับวัสดุ จะรับได้ที่ศูนย์หนังสือ มฉก. เมื่อรับวัสดุมาแล้ว จะจ่ายให้กับแผนก และมีผู้ลงนามการเบิกวัสดุไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในการเบิก ในสมุดเบิกวัสดุ ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดเตรียมไว้

8.เมื่อจ่ายวัสดุไปยังผู้ที่ขอเบิกวัสดุไว้เรียบร้อย ส่งต่อให้ผู้รับผิดขอบตัดงบประมาณให้ตรงกับแต่ละแผนกได้รับการจัดสรร และสรุปผลเป็นรายเดือน และเสนอผู้อำนวยการต่อไป Read the rest of this entry »

การประเมินหลักสูตรและโครงการวิจัยประเมินหลักสูตร
ธ.ค. 17th, 2020 by kalyaraksa

การประเมินหลักสูตรและโครงการวิจัยประเมินหลักสูตร ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาแต่ละหลักสูตรที่เปิดให้มีการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ภาพรวมของแต่ละหลักสูตร มีความเหมาะสมและมีคุณภาพดีเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีความเหมาะสมทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ทักษะด้านปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบต่อสังคม การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ ผลการวิจัยสามารถนำไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรต่อไป

ศูนย์บรรณสารสนเทศ รวบรวมงานวิจัยการประเมินหลักสูตรต่าง ๆ ไว้อย่างครบถ้วน มีการจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถยืมไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว มีการพัฒนาการทำรายการให้มีความทันสมัยและได้ข้อมูลตามหลักสากล ง่ายต่อการเข้าถึง มีการเพิ่มรายละเอียดในส่วนของสารบัญย่อ การเพิ่มรายชื่อผู้วิจัยทุกคน และเพิ่มอักษรย่อสาขาวิชาไว้ภายใต้ปีพิมพ์ของการจัดหมวดหมู่ ให้อีกช่องทางหนึ่ง

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa