SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
สื่อดิจิทัล/สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีให้บริการของศูนย์บรรณสารสนเทศ
ธันวาคม 25th, 2020 by sirinun

จากการไปศึกษาดูงานที่ห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ Unmanned Library ภายใต้ชื่อ “Chula Ultimate X Library” โดย สำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 ทำให้รู้สึกและมีความเห็นว่า ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ก็มีสื่อทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ที่พัฒนาเองและที่ซื้อมาให้บริการ อยู่พอสมควร น่าจะได้มีการรวบรวมและแนะนำ ให้เป็นที่รู้จัก และจะได้มีการเข้าถึงในวงกว้างมากขึ้น

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่จะขอแนะนำ ขอแบ่งเป็น

1. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง

2. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเอง หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ทรือฐานข้อมูลที่เก็บสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อดิจิทัล ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมหาวิทยาลัยพัฒนาเอง โดยครอบคลุมถึงการดิจิไทซ์เอกสาร พัฒนาระบบเพื่อให้สืบค้น และเข้าถึงได้ นำเผยแพร่ขึ้นเว็บไซต์ ได้แก่

1. ฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เป็นฐานข้อมูลหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ดิจิไทซ์และให้บริการตั้งแต่ฉบับปี 2464 จนถึง ปี 2530 และยังดิจิไทซ์อย่างต่อเนื่อง สามารถอ่านรายละเอียดของประวัติความเป็นมาได้จากบทความ ความร่วมมือระหว่างศูนย์บรรณสารสนเทศกับหอสมุดแห่งชาติ ที่  https://lib-km.hcu.ac.th/library-cooperation-national-library-thailand-hcu  เป็นฐานข้อมูลระบบปิด นักวิจัยหรือผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าสามารถติดต่อมาที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อขออนุญาตการเข้าใช้

2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มูลนิธิป่อเต็กตึํง โรงพยาบาลหัวเฉียว สามารถเข้าอ่านได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/e-book-hcu

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของ มฉก. / มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง

3. วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ ของมหาวิทยาลัย เป็นการรวบรวมวารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ที่มหาวิทยาลัยผลิต ติดตามได้ที่ https://lib-km.hcu.ac.th/index.php/journal-hcu

วารสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัย

4. วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Thesis) โดยความร่วมมือกับโครงการ ThaiLis ในการแบ่งปันวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบ โดยศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ทำช่องทางการสืบค้นรายชื่อวิทยานิพนธ์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถคลิกเพื่อเข้าถึงวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มได้ทันที (ทั้งนี้ต้องเป็น IP ของมหาวิทยาลัย) สามารถคลิกดูรายชื่อวิทยานิพนธ์ของมหาวิทยาลัยได้ที่นี่

5. บทความอิเล็กทรอนิกส์ (e-Journal) เป็นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมในโครงการ ThaiLis สามารถติดตามบทความผลงานของมหาวิทยาลัยได้ที่นี่

6. วิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Research) เป็นสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์อีกประเภทหนึ่งที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ เข้าร่วมในโครงการ ThaiLis สามารถติดตามบทความผลงานของมหาวิทยาลัยได้ ที่นี่

7. HCUIR คลังปัญญา มฉก. (The Huachiew Chalermkrakiet Institutional Repository) เป็นฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการ งานวิจัย ในรูปแบบของดิจิทัล ของคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ ตลอดจนนักศึกษามหาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  แม้ว่าจะยังมิได้เปิดเป็น Open access แต่สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ https://lib-km.hcu.ac.th/hcuir/

สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศจัดซื้อมาให้บริการ หมายถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่บอกรับหรือจัดซื้อหรือสมัครเป็นสมาชิกในการเข้าใช้บริการ 

นอกจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศพัฒนาเองแล้ว ยังมีที่มีการจัดซื้อมาให้บริการด้วย ได้แก่

1. E-Magazine จากบริษัท อมรินทร์ ประกอบด้วย เนชั่นแนล จีโอกราฟิก ศิลปวัฒนธรรม ท่องจีน-ไทย หมอชาวบ้านและชีวจิต ติดต่อขอ username ในการเข้าใช้ได้ที่งานวารสาร ชั้น 6

e-Magazines

2.  iQNewsClip กฤตภาคข่าว ออนไลน์ (Online News Clipping) ที่ตัดข่าวจาก หนังสือพิมพ์ ภายในประเทศ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษกว่า 30 ฉบับ ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ในรูปแบบที่คมชัด สามารถเลือกดูได้ทั้งภาพสีและภาพขาว-ดำ

ฐานข้อมูล iQnewsClip

3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ ที่สามารถสืบค้นได้จากระบบห้องสมุด WorldShare Management – WMS สามารถเข้าถึงได้ที่  https://hcu.on.worldcat.org/discovery

4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่จัดซื้อจากสำนักพิมพ์ต่าง ๆ เข้าอ่านได้ ที่นี่

5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่จัดซื้อจากบริษัท Bookkaze (อยู่ระหว่างการนำขึ้นระบบ) https://hculib.bookcaze.com/


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa