SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
“Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล
ธันวาคม 25th, 2020 by supachok

กิจกรรม เรื่อง “Keep Your Heart Strong … in Digital Era” จงมีหัวใจที่เข้มแข็ง….ในยุคดิจิทัล เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ดิจิทัล ซึ่งจัดโดยศูนย์ดิจิทัลเพื่อการศึกษา  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องสื่อประสม ชั้น 2 อาคารบรรณสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยมีวิทยากรที่ให้ความกรุณามาบรรยายในหัวข้อนี้ คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์  ศิริเจริญ อาจารย์ จากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

วิทยากรถ่ายภาพร่วมกับผู้เข้ากิจกรรม

ซึ่งเป็นหนึ่งในที่กิจกรรมที่ส่งเสริมการให้ความรู้ทางวิชาการเพื่อการปรับตัวของผู้คนยุคใหม่ให้ทันโลกในยุคดิจิทัล และเพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้และนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องเพื่อห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ

วิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำไปฝึกปฎิบัติได้จริง  มีการทำ workshop ซึ่งเป็นไปอย่างสนุกสนาน มีกิจกรรม และเกมส์ พร้อมรางวัลมาแจกให้ได้ลุ้นตลอดเวลา เช่น การวาดรูปบุคคลในดวงใจที่ไม่สามารถลืมได้ การร้องเพลงประกวดบนเวทีหรือ Best talent singing contest ทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้กล้าแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก และจดจำบทเพลงที่ตัวเองชื่นชอบได้ในเวลาจำกัด และการตอบปัญหาชิงรางวัลกับความรู้รอบตัว

 

สรุปเนื้อหาสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรม

การจะทำอย่างไรให้หัวใจเข้มแข็งได้ หรือจงมีหัวใจที่เข้มแข็ง วิธีง่ายๆ  ต้องเชื่อมั่นในตัวเองในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ทำตามคนอื่นที่ชวนทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ เป็นที่พึ่งของตัวเอง ใจก็ต้องมีคุณธรรมที่สูงด้วย  จะต้องมีความสุขกับปัจจุบัน ส่วนอนาคตก็พร้อมจะเผชิญ ถ้าคิดดีทำดีหรือ มีเหตุดีแล้วผลก็ย่อมจะดีตามไปด้วย  นอกจากนี้  จะต้องมี  ”หัวใจที่เข้มแข็งทั้งในเรื่องการทำงาน และการใช้ชีวิต (Work-Life Balance)”  หรือการใช้ชีวิตให้สมดุลกันทั้งด้านการทำงานและการใช้ชีวิตในยุคที่ต้องเชื่อมโยงชีวิตกับ “สารสนเทศ”  และ “ดิจิทัล”

โรคหัวใจ ไม่ได้เกิดกับแค่ผู้สูงอายุหรือเพศใดเพศหนึ่งเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คนและ โรคหัวใจเกิดจาก 5 ปัจจัยเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. การสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่จัดโอกาสเสี่ยงสูงกว่าคนไม่สูบบุหรี่
  2. อายุ คนอายุ 40 ปี ขึ้นไป ทั้งชายและหญิงถ้าไม่หมั่นดูแลร่างกาย ไม่ออกกำลังกายย่อมมีโอกาสเสี่ยงสูง
  3. โรคเบาหวาน น้ำตาลในเลือดสูงก็โอกาสมีเป็นโรคหัวใจสูงเช่นกัน
  4. ไขมันในเลือดสูง ก็ยิ่งอันตรายและน่ากลัวมากเช่นกัน
  5. ความดันโลหิตสูง ย่อมเอื้อต่อการเป็นโรคหัวใจและก่อเกิดอันตรายได้ถือเป็นฆาตกรเงียบ

นอกจากนี้ “ดวงตา”  ยังบ่งบอกต่ออาการเกิดโรคต่างๆ ได้  ควรหมั่นสังเกตุดูอาการดังต่อไปนี้เช่น ตาขาวสีแดง อาจจะระคายเคือง ตาบวม ดวงตาดำคล้ำ ตาดำมีสีขาวขุ่น (อาจจะสู่ภาวะโรคต้อกระจก) ตาดำเป็นสีเขียว (ภาวะการเป็นต้อหิน) มีจุดเหลืองตรงหัวตา ตาขาวมีสีเหลือง อาจเกิดการผิดปรกติของดวงตาได้

วิธีง่ายๆ ที่จะทำให้อายุยืนนานโดยไม่ต้องลงทุนหรือเสียเงิน

  1. การสะบัดมือเป็นวิธีง่ายๆ ยังสามาถช่วยดูแลสุขภาพให้นิ้วมือแข็งแรงได้ ไม่ปวดบ่า ไหล่ หรือยังทำให้แขนแข็งแรง ควรทำอย่างน้อยครั้งละ 3 นาที ถ้าทำเกินวันละ 10 นาที จะช่วยทำให้เส้นเลือดฝอยที่เริ่มอุดตันกลับมาฝื้นตัวได้อีกด้วยโดยเฉพาะคนอายุ 40 ปีขึ้นไป หรืออายุมากๆยิ่งมีโอกาสอุดตันสูง
  2. การบริหารลิ้นโดยการแลบลิ้นไปมาจะช่วยทำให้ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งสัญญาณแรกที่บ่งบอกว่าเข้าสู่วัยชราคือ “อาการลิ้นแข็ง”

พัฒนาทักษะการใช้สื่อดิจิทัล  สื่อสังคม Social media และสารสนเทศต่างๆ จากสื่อออนไลน์

  1. เพื่อพักผ่อนให้ชีวิตมีความอภิรมย์ เกิดสุนทรียะ เกิดความเพลิดเพลินใจ
  2. เพื่อประยุกต์ให้เข้ากับการทำงานภารกิจหน้าที่ของแต่ละคน ที่แตกต่างกันออกไป

ข้อควรระวังการใช้ สื่อ Social Media ในที่ทำงาน

  1.  บ่นไปทุกเรื่อง เช่น เขียนลงเฟสบุ๊คส์ เรื่องที่ทำงานเพื่อระบายอารมณ์ ปลดปล่อยความเครียด ความกดดันจากที่ทำงาน
  2. โพสต์ข้อความหมิ่นประมาท เคยมีข่าวดังข่าวหนึ่ง มีการขุดคุ้ยประวัติใน Social Media ของชายหนุ่มผู้หนึ่ง แล้วพบข้อความวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยอย่างรุนแรง เพียงแค่ชั่วข้ามคืนทำให้กลายเป็นบุคคลในข่าวด้านลบ จนบริษัทต้นสังกัดต้องให้ออกจากงาน
  3. อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของผู้อื่น เพราะเสี่ยงต่อการถูกขโมยอัตลักษณ์บุคคล (Identity Theft) หรือ ขโมยข้อมูลประจำตัวเป็นการเอื้อประโยชน์ให้มิจฉาชีพฉกฉวยข้อมูลได้
  4. แชร์ข่าวปลอม ปล่อยข่าวลือ เพราะความล้ำยุคของเทคโนโลยีสมัยนี้ ทำให้เกิดการตัดต่อรูปภาพ ดัดแปลงข้อมูลและทำได้แนบเนียนมาก เพราะฉะนั้นเวลาเกิดดราม่าข้อถกเถียงใน Social media อย่าเพิ่งรีบแชร์ ควรฟังความเห็นหลายๆ มุมก่อน เพราะอาจกลายเป็นกระบอกเสียงกระจายข่าวปลอมโดยไม่รู้ตัวและอาจมีความผิดโดยไม่รู้ตัวก็ได้

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa