SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ธันวาคม 25th, 2020 by navapat

จากการที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ไปศึกษาดูงานห้องสมุดมารวย เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2563 เวลา 10.00 น. – 12.00 น.  ซึ่งเปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.30 – 21.00 น. นั้น สรุปการศึกษาดูงาน ได้ดังนี้

วิทยากรผู้นำชม คือ คุณณัฐยา  ตันเจริญ  ผู้ช่วยผู้จัดการ ส่วนงานห้องสมุดมารวย   ได้ให้ข้อมูลว่า ห้องสมุดมารวย เป็นห้องสมุดเฉพาะทางด้านตลาดทุนครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทยที่ทันสมัย  ด้วยหนังสือและสื่อความรู้ด้านการเงิน การลงทุนมากกว่า 20,000 รายการ  พร้อมยกระดับสู่การเป็นห้องสมุดดิจิทัลด้านตลาดทุนชั้นนำระดับประเทศ เพื่อให้นักลงทุน ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุน และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงองค์ความรู้ด้านตลาดทุนได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง ตามเป้าหมาย คือ

ประชาชนทั่วไป        เริ่มต้นเรียนรู้การวางแผนการเงินและการบริหารเงินให้งอกเงย

นักลงทุน                   เริ่มต้นลงทุนศึกษาปัจจัยพื้นฐานและต่อยอดการลงทุนแนวเทคนิค

ผู้ประกอบวิชาชีพ     ก้าวสู่การเป็นผู้แนะนำการลงทุน นักวิเคราะห์ และนักวางแผนการเงิน

ผู้ประกอบการ           ก้าวสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มีแนวคิดใหม่ และนำนวัตกรรมมาใช้ขับเคลื่อนองค์กร

ในภาพรวมตลาดหลักทรัพย์ มีหน้าที่หลักคือ  1) Exchange Function  หา Product ต่าง ๆ ให้นักลงทุน  2) Education  นักลงทุน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ อยากมีความรู้ไปบริหารจัดการการเงินของตน  ซึ่งในส่วนของงานห้องสมุดทำหน้าที่ในส่วนของการให้ความรู้ (Education) ประกอบด้วย  2 ส่วน คือ งานบริการ และการจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศ

ทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ

  1. หนังสือ
  2. วารสาร / นิตยสาร
  3. หนังสือพิมพ์
  4. สื่อมัลติมีเดีย
  5. สื่ออิเล็กทรอนิกส์
  6. ฐานข้อมูล

ทรัพยากรสารสนเทศมีมากกว่า 20,000 รายการ   80% เป็น Core Subject ด้านการเงิน การลงทุน การบริหารธุรกิจ ส่วนอีก 20%  เป็น Support Core Subject ได้แก่ การพัฒนาตนเอง ไอที ภาษา วรรณกรรม หนังสือเด็ก รูปแบบการให้บริการยังไม่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรืออิเล็กทรอนิกส์ ได้ทั้งหมด เนื่องจากผู้ใช้บริการยังมีทั้งคนรุ่นเก่า และรุ่นใหม่

ห้องสมุดใช้ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification-LC)  ในการจัดหมวดหมู่ทรัพยากรสารสนเทศ  แต่มีการปรับการทำสันหนังสือ โดยจัดหมวดหมู่ตามหมวดหลักที่ห้องสมุดมารวยให้บริการ และกำหนดตัวย่อของหมวดหมู่ เพื่อให้หาหมวดหมู่ได้ง่าย และนำจัดขึ้นชั้นหนังสือ เพื่อสะดวกในการให้บริการบุคคลทั่วไป เช่น FA หมายถึง Financial  หรือ IT หมายถึง เทคโนโลยีสารสนเทศ และมีหมายเลขเรียงตามลำดับ แต่ยังคงมีหมวดหมู่ตามระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันติดไว้ที่สันหนังสือไว้ด้วย

การทำสันหนังสือ แบ่งหมวดหมู่ด้วยตัวอักษร และสี

การแบ่งหมวดหนังสือและการจัดชั้นหนังสือ

ห้องสมุดมารวย มีการสำรวจหนังสือ (Inventory) หนังสือทุก 5 ปี โดยนำหนังสือที่คัดออกไปจัดกิจกรรมปันกันอ่าน หรือบริจาคต่อให้กับห้องสมุดโรงเรียนในเครือข่าย

รูปแบบหนึ่งของการนำหนังสือออกมาแบ่งปัน

การแบ่งพื้นที่การให้บริการของห้องสมุดมารวย  แบ่งเป็น 4 โซนหลัก ได้แก่

1Internet Zone
2. Social Zone
3. Self Study Zone
4. Silent Zone

 

การแบ่งพื้นที่การให้บริการ จากเว็บไซต์ห้องสมุดมารวย https://www.maruey.com/about/floorplan

ชั้นหนังสือดิจิทัล (Digital Bookshelf)  พบตัวอย่างหนังสือใหม่และสื่อมัลติมีเดียด้านการเงินการลงทุน ผ่านจอสัมผัสขนาด 70 นิ้ว ด้วยแนวคิดแบบง่าย ๆ “Browse then Borrow” เลือกชมตัวอย่างหนังสือ ตรวจสอบสถานะและติดต่อขอยืม (อยู่ใน Social Zone)


เครื่องยืมคืนอัตโนมัติ
(Self Service Kiosk) (ในส่วน Self Check ตามแผนผังการแบ่งพื้นที่การให้บริการ) เป็น Kiosk ให้บริการยืม คืน  ต่ออายุการยืม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการให้สามารถทำรายการด้วยตนเอง ซึ่งจุดนี้เองเป็นจุดที่ผู้ใช้บริการใช้ประโยชน์ในการพิจารณาหนังสือไปอ่านจากหนังสือที่เพิ่งคืน มักจะถูกหยิบไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำหนังสือไปจัดแสดงที่มุมหนังสือ Just returned


บริการอินเทอร์เน็ต
(Internet & Self Study Zone) ให้บริการคอมพิวเตอร์เพื่อสืบค้นข้อมูลข่าวสาร เข้าถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย (e-Resources) รวมทั้งฐานข้อมูลบริษัทจดทะเบียน (SETSMART) ผ่านอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อตอบสนองการเรียนรู้รูปแบบใหม่อย่างไร้ขีดจำกัด (ในส่วน Internet Zone)

การจัดพื้นที่สวนแนวตั้ง (Vertical Garden) ช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในห้องสมุด

สวนแนวตั้ง (Vertical Garden)

 

การจัดพื้นที่นั่งบริเวณสวนแนวตั้ง

มุมบริการสืบค้น (Search)

มุมสืบค้น

ในเวลาปรกติจะให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้น  แต่ช่วงเวลาที่ไปดูงานนั้น เป็นช่วงที่ยังต้องคงมาตรการป้องกันโควิด-19 ทางห้องสมุดจึงนำเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นออก แต่ได้จัดทำ QR Code เพื่อเข้าระบบห้องสมุดในการสืบค้นจากอุปกรณ์ (Device) ของผู้ใช้บริการเอง ซึ่งก็คือ สมาร์ทโฟน นับว่าเป็นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ

การให้บริการสืบค้น (เอาคอมพิวเตอร์ออกในช่วงเวลานี้)

Silent Zone

Silent Zone

Silent Zone คือ ส่วนที่ห้ามใช้เสียง จัดหนังสือชิดผนัง ตรงกลางเป็นพื้นที่นั่งอ่าน พร้อมปลั๊กที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ในวันนั้น ใช้เป็นพื้นที่เพื่อการต้อนรับการอธิบาย

การจัดแสดงหนังสือแนะนำ ที่น่าสนใจ/หนังสือใหม่

การจัดแสดงแนะนำหนังสือใหม่/หนังสือน่าสนใจที่มีการยืมมาก 5 อันดับ

ทางด้านก่อนเข้าห้องสมุดมีการจัดแสดงหนังสือใหม่ หนังสือที่น่าสนใจ และมีการติด QR Code เพื่อให้สแกนเข้าถึงการแนะนำหนังสือในแต่ละเล่ม การแนะนำหนังสือนั้น ห้องสมุดมารวยมีนโยบายให้บุคลากรทุกคนของห้องสมุดแนะนำหนังสือตามความถนัดของแต่ละคน เช่น การทำคลิปแนะนำหนังสือ การเขียนบทความ เป็นต้น ทำให้ห้องสมุดมีการแนะนำหนังสือในช่องทางและรูปแบบต่างๆ ตามความสนใจของผู้ใช้บริการ

การแนะนำการเข้าหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

การแนะนำหนังสือใหม่

การแนะนำหนังสือตามชั้นหนังสือ

การจัดชั้นหนังสือ

การจัดชั้นหนังสือทุกโซน จัดชั้นหนังสือชิดผนัง ส่วนตรงกลางจัดเป็นที่นั่งอ่าน ซึ่งทำให้เกิดความโล่งโปร่งตา มากกว่าการจัดวางชั้นหนังสือเป็นแถวแบบห้องสมุดโดยทั่วไป

ชั้นบริการวารสารและนิตยสาร

การจัดชั้นหนังสือชิดผนัง

การจัดชั้นหนังสือ

พื้นที่ส่วนกลางห้องใช้จัดแสดงหนังสือ

จัดแสดงหนังสือที่ตู้ตรงกลางห้อง จะใช้โทนสีมีความโดดเด่น สะดุดตา

จัดแสดงหนังสือที่ตู้ตรงกลางห้อง จะใช้โทนสีมีความโดดเด่น สะดุดตา

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ขอขอบคุณ ห้องสมุดมารวย ที่กรุณาให้เข้าศึกษา ดูงาน นำชม และอธิบายให้ข้อมูลอย่างเต็มที่ มีหลาย ๆ กิจกรรมหรือบริการที่น่าสนใจและจะนำไปประยุกต์ใช้ตามบริบทของศูนย์บรรณสารสนเทศ ต่อไป


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa