SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การเพิ่มผลผลิตก๊าซชีวภาพจากกากตะกอนชีวภาพและการเตรียมชุดทดลองศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การเพิ่มผลผลิตก๊าซชีวภาพจากกากตะกอนชีวภาพและการเตรียมชุดทดลองศึกษาศักยภาพการผลิตก๊าซชีวภาพ

Enhancement of biogas production from bio-sludge and batch experiment for biogas potential set-up

บทคัดย่อ

Anaerobic digestion is an efficient waste treatment and generates biogas. The producing biogas can be used for electricity and heat a generator. Biogas obtained from bio-sludge is an attempt to achieve the waste gain and minimization. The enhancement of biogas production from bio-sludge can be achieved by conducting of a treatment stage before or after anaerobic digestion. Thermal-alkaline condition at 170 C with pH 10 used ํ as a pre-treatment provided an improvement of 54% of biogas production while, athermal microwave showed an increase in 16% of biogas production. The important aspects to create a batch experiment on biogas potential from the waste include the homogeneity and analysis of the waste composition, which consists of total solids, volatile solids, total kjeldahl nitrogen, ammonium, lipids, COD, and pH. Volatile fatty acids evolution is recommended to monitor during the batch experiment for investigating the relation or inhibition effect on biogas production especially during the start-up period of the experiment. Nevertheless, considering of statistical and experimental control is also recommended for accuracy and reliability of the obtained results Read the rest of this entry »

ยาไฮบริด แนวทางใหม่ในการพัฒนายาต้านมาลาเรีย
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ยาไฮบริด แนวทางใหม่ในการพัฒนายาต้านมาลาเรีย

Hybrid Drugs, A New Approach to Develop Antimalarial Drugs

บทคัดย่อ

ยาไฮบริด คือยาที่ไดนำเอาสวนออกฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา 2 ชนิดมารวมไวในโมเลกุลเดียวกัน วัตถุประสงคในการพัฒนายาไฮบริดนั้น ก็เพื่อที่จะเอาชนะปญหาการดื้อยาของเชื้อ ซึ่งเปนอุปสรรค ใหญของการบำบัดรักษาโรคติดเชื้อที่รายแรงอยางมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะไดกลาวรวมถึง คุณลักษณะและโครงสรางทางเคมีของโมเลกุลยาไฮบริด โดยจะเนนตัวอยางการศึกษาพัฒนาตัวยาไฮบริด ใหมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อมาลาเรีย Plasmodium falciparum สายพันธุที่ดื้อยา ซึ่งผลจาก การศึกษาไดแสดงใหเห็นถึงความเปนไปไดในทางปฏิบัติของแนวคิดของยาไฮบริด และศักยภาพในการ พัฒนาและปรับปรุงสารตนแบบในกลุมนี้เพื่อใหเปนตัวยาสำหรับใชกับผูปวยไดในอนาคต Read the rest of this entry »

หลักกฎหมายห้ามย้อนหลังในประมวลกฎหมายอาญา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

หลักกฎหมายห้ามย้อนหลังในประมวลกฎหมายอาญา

Ex post facto law in criminal code

บทคัดย่อ

หลักกฎหมายหามยอนหลังในทางอาญานี้เปนหลักนิติปรัชญาสากล มีตนกำเนิดมาจากภาษิต กฎหมายละตินวา Nullum crimen sine lege คือ ไมมีการกระทำความผิดหากไมมีกฎหมายกำหนด และ Nulla poena sine lege คือ บุคคลจะไมตองรับโทษหากไมมีกฎหมายกำหนดไว หลักกฎหมาย หามยอนหลังดังกลาวนี้หากเปนการยอนหลังในโทษทางอาญาถือเปนหลักกฎหมายเครงครัด ผูใช กฎหมายจะตีความเปนอยางอื่นนอกจากที่กฎหมายกำหนดไมได เวนแตกฎหมายที่ออกมาภายหลัง มีลักษณะเปนคุณแกผูกระทำความผิดยิ่งกวาและไมขัดหรือแยงกับรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญแหง ราชอาณาจกรไทย ั พทธศ ุ กราช ั 2550 หามม  ใหิ มการออกกฎหมายท ี มี่ โทษทางอาญาย ี อนหล  งอั นเป ั นผลร  าย แกผูกระทำความผิด แตถาเปนกฎหมายอื่นที่ไมใชโทษทางอาญายังคงมีความเห็นเปน 2 แนวทาง แนว ทางแรกมองวา กฎหมายไมสามารถออกยอนหลังอันเปนผลรายแกผูกระทำความผิดไดไมวากรณีใด ๆ อีก แนวทางหนึ่งมองวา เฉพาะกฎหมายที่มีโทษทางอาญาเทานั้นที่ไมสามารถยอนหลังอันเปนผลรายแก ผูกระทำความผิดได แตถาเปนกฎหมายอื่นที่ไมใชกฎหมายที่มีโทษทางอาญา ไมมีกฎเกณฑใดหามมิให กฎหมายนั้นมีผลยอนหลัง Read the rest of this entry »

การศึกษาการดูแลต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาการดูแลต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลางในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรก

The Study of Family-Centered Continuing Care in First Stroke Patients

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษาปญหา ความตองการและความคาดหวัง ตลอดจน สังเคราะหแนวทางเบื้องตนในการดูแลผูปวยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกอยางตอเนื่องที่เนนครอบครัว เปนศูนยกลาง โดยใชการวิจัยเชิงคุณภาพ ผูใหขอมูลคือ ผูปวยโรคหลอดเลือดสมองครั้งแรกจำนวน 7 คน สมาชิกในครอบครัวผูปวยที่เปนผูดูแลหลักจำนวน 7 คน บุคลากรสุขภาพจำนวน 11 คน เก็บขอมูลระหวางเดือนกุมภาพันธ – ตุลาคม พ.ศ. 2550 เครื่องมือที่ใชในการวิจัยคือ แนวคำถามใน การสัมภาษณเจาะลึก การสังเกตแบบมีสวนรวมและไมมีสวนรวมและตัวผูวิจัย ความนาเชื่อถือของ เครื่องมือไดจากการตรวจสอบแบบสามเสาขอมูลจากเครื่องมือทุกสวน วิเคราะหขอมูลดวยการ วิเคราะหเชิงเนื้อหาภายใตการพิทักษสิทธิ์ผูถูกวิจัย Read the rest of this entry »

มาลาเรียกับการตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

มาลาเรียกับการตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา

Malaria and Immunological Diagnosis

บทคัดย่อ

คณะผูวิจัยไดศึกษารวบรวมวิธีการวินิจฉัยโรคมาลาเรียดวยเทคนิคทางภูมิคุมกันวิทยา เพื่อ คนหาวิธีการตรวจวิเคราะหทางภูมิคุมกันวิทยาที่ดีและเหมาะสมในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย โดย การวิเคราะหขอมูลจากงานวิจัยตาง ๆ และมุงเนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจทาง ภูมิคุมกันวิทยาในดานความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ระหวางวิธี Indirect hemagglutination test (IHA), Indirect immunofluorescent antibody test (IFAT), Enzymelinked immunosorbent assay (ELISA) และ Immunochromatography (ICT) โดยใชวิธี microscopy หรือวิธีอื่นๆ ที่เปนวิธีมาตรฐาน พบวาวิธี ELISA ซึ่งใชในการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG, IgM และโปรตีนชนิด HRP2 มีความไวอยูในชวง 68.2-100% และความจำเพาะ 63.5-100% วิธี IFAT ที่ใชตรวจหา IgG มีความไวอยูในชวง 40.0-86.4% ความจำเพาะ 91.7-99.6% วิธี IHA ใชใน การตรวจหา IgG มีความไวอยูในชวง 82.0-91.0% สวนวิธี Immunochromatography ซึ่งตรวจ หาโปรตีนชนิด HRP2 และเอนไซม PLDH มีความไวอยูในชวง 49.7-100% และความจำเพาะ 73.8- 100% ในสวนคุณสมบัติของแตละวิธีพบวาวิธี IFAT และ ELISA เปนวิธีที่มีความไวและความจำเพาะ สูง แตตองใชเครื่องมือพิเศษและใชระยะเวลาในการตรวจนาน ตางจากวิธี IHA ซึ่งทำไดงาย แตคา ความไวและความจำเพาะต่ำ สวนวิธี ICT มีความสะดวก รวดเร็วและมีความไวสูง แตมีความจำเพาะ ต่ำและราคาแพง ดังนั้น จากผลการศึกษาจึงสรุปไดวา ทุกวิธีการมีทั้งขอดีและขอจำกัดแตกตางกัน การเลือกใชวิธีใดในการตรวจวินิจฉัยขึ้นอยูกับหลายปจจัย เชน ชนิดของเชื้อมาลาเรีย พื้นที่ จำนวน ผูปวยและงบประมาณ เปนตน Read the rest of this entry »

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย: เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน

Job Safety Analysis (JSA): Hazard Identification Technique for Work Accident Prevention

บทคัดย่อ

การที่แนวโน้มของจำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงานในช่วง พ.ศ. 2550-2552 ลดลง ไม่เกินร้อยละ 50 และสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ การหกล้ม / ลื่นล้ม และการยก/เคลื่อนย้ายของหนัก / ท่าทางการทำงาน สะท้อนให้เห็นว่าขั้นตอนแรกของ การบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการมีการดำเนินการที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วน การวิเคราะห์หาอันตราย ซึ่งเทคนิค job safety analysis (JSA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์หา อันตรายที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การจัดทำ JSA ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน คือ การคัดเลือกงาน การแตกงานให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ การวิเคราะห์หาอันตรายจาก งานที่เลือกนั้น การพิจารณาวิธีขจัดและลดอันตรายที่พบและการจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเทคนิค JSA ไปใช้มีอยู่ 4 ช่วง คือ ช่วงก่อสร้างหรือเริ่ม การผลิต ช่วงดำเนินการผลิตเป็นปกติช่วงขยายหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต และช่วงซ่อมแซมบำรุงหรือ ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ ข้อควรระวังในการจัดทำได้แก่ การเลือกงานมาวิเคราะห์ซึ่งจำเป็นต้องเป็น งานที่เกิดอุบัติเหตุสูงและควรศึกษารายละเอียดการสืบสวนอุบัติเหตุประกอบด้วยทุกครั้ง การแตกงาน เป็นขั้นตอนย่อยไม่ควรแตกงานแคบเกินไปหรือกว้างเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการวิเคราะห์หาอันตราย การจัดทำ JSA และ Safety Standard Operation Procedure (SSOP) จำเป็นต้องผ่านการทบทวน โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานนั้นเสมอ อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถวิเคราะห์ หาอันตรายได้ถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic cause) และผู้จัดทำต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างดี ในงานที่นำมาวิเคราะห์และ ไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ถ้าไม่มีการเดินการผลิตก่อน Read the rest of this entry »

วัยรุ่นชายกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านเพศภาวะ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

วัยรุ่นชายกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพด้านเพศภาวะ

Male Adolescence with Health Promoting Behavior for Gender

บทคัดย่อ

วัยรุ่นชาย เป็นวัยที่ควรได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ จิตสังคม และจิตปัญญา เพื่อให้มีความพร้อมในการแสดงบทบาททางเพศของตนตามที่สังคมคาดหวัง โดยเฉพาะสังคมไทย ผู้ชาย ควรต้องมีความเป็นผู้นำ เสียสละ และช่วยเหลือเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับบุคคลที่อ่อนแอกว่าในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงซึ่งสังคมไทยจัดว่าเป็นเพศที่อ่อนแอ ผู้ชายควรช่วยกันปกป้องและต้องให้ เกียรติไม่ประพฤติปฏิบัติพฤติกรรมต่อเพศหญิงอย่างไม่เหมาะสม เช่น ไม่เห็นแก่ตัว มีน้ำใจช่วยเหลือ ตามโอกาสที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จัดว่าเป็นความงดงามของสังคมไทยที่ผู้ชายได้แสดงบทบาททางสังคม เหมาะสม หรือที่เรียกว่า การแสดงบทบาทด้านเพศภาวะของตนได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของสังคม ไทย แต่ในสภาพการณ์ปัจจุบันนี้ พบว่า พฤติกรรมการเอื้อเฝือ เผื่อแผ่ ความเอื้ออาทร การให้เกียรติ และยกย่องเพศหญิงเป็นพฤติกรรมที่นับวันจะเริ่มลดน้อยลง นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้หญิง เช่น การทารุณกรรม การทำแท้ง การใช้ชีวิตคู่ที่ไม่ราบรื่น สาเหตุหนึ่งมาจาก การพัฒนาบทบาททางเพศหรือเพศภาวะของผู้ชายไม่ได้รับการปลูกฝังและพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ เป็นปัจจัยผลักดันทางอ้อมของปัญหาเหล่านั้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดการส่งเสริม พฤติกรรมสุขภาพด้านเพศภาวะที่เหมาะสมสำหรับวัยรุ่นชาย Read the rest of this entry »

ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันที่เกิดจากสารมลพิษรวมในน้ำ จากคลองชวดหมันโดยใช้เมล็ดข้าวโดยเปรียบเทียบระดับความเป็นพิษเฉียบพลันจากค่ายับยั้งการงอกที่ 50% (Inhibition Concentration at 50% : IC50) ของการงอกและความยาวราก ร่วมกับการทดสอบ การกลายพันธุ์ด้วยวิธีเอมส์ (Ames test) นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพน้ำและตะกอนดินเบื้องต้นทาง กายภาพ เคมี และชีวภาพรวมทั้งปริมาณโลหะชนิดต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำทาง กายภาพของคลองชวดหมัน มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 6.40 – 8.03 และค่าสภาพนำไฟฟ้า (Conductivity) อยู่ในช่วง 1076 – 3660 µµS/cm คุณภาพน้ำทางเคมีพบว่ามีความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) อยู่ในช่วง 23.23 – 45.88 mg/l Chemical Oxygen Demand (COD) อยู่ในช่วง 166.4- 873.6 mg/l และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 0.49-7.12 mg/l สำหรับคุณภาพน้ำทางชีวภาพ ในน้ำพบว่ามีปริมาณแบคทีเรียอยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ นอกจากนี้ปริมาณโลหะ ในน้ำคลองชวดหมันพบโลหะที่เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ของประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) คือ ตะกั่ว (Lead) และ สารหนู (Arsenic) ซึ่งมีความเข้มข้นที่ 0.11 และ 0.01 mg/l ตามลำดับ สำหรับคุณภาพตะกอนดินทางกายภาพและเคมีของคลองชวดหมันพบว่า มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 7.42 – 8.05 ความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 42.22 – 51.72 และ 32.76 – 103.45 mg – Nkg dry sediment ตามลำดับ สำหรับปริมาณโลหะหนักในตะกอนดิน พบว่า ปรอทมีค่ามากที่สุด คือ 0.5846 µg/kg Read the rest of this entry »

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา : บริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา : บริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย

A Study of  Waterway Transportation and Logistics Development Case Study : Overseas Chinese Corporation in Thailand

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาพัฒนาการด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำ กรณีศึกษา บริษัท ชาวจีนโพ้นทะเลในไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติพัฒนาการและปัญหาอุปสรรคของการดำเนิน ธุรกิจด้านโลจิสติกส์และการขนส่งทางน้ำของบริษัทชาวจีนโพ้นทะเลในไทย ขอบเขตของการวิจัย เป็นการศึกษาประวัติและพัฒนาการ ระบบ การบริหารงาน และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ และการขนส่งทางน้ำของบริษัทที่คณะผู้วิจัยศึกษาระหว่างปีพ.ศ. 2472-2552 และเป็นการศึกษาการ พัฒนาการของบริษัทที่คณะผู้วิจัยศึกษาเท่านั้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีเชิงพรรณนา อธิบายคุณลักษณะของข้อมูลที่ศึกษา ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากเอกสารทางประวัติศาสตร์รายงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การเดินทางไปเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากสถานที่จริง การสำรวจและศึกษาเอกสารประวัติการดำเนินงานของบริษัท เพื่อนำมาวิเคราะห์และประมวลข้อมูล ตามกรอบวิจัยที่กำหนด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร คณะกรรมการ และที่ปรึกษาบริษัท ลูกหลานของผู้ก่อตั้ง หรือมีความสัมพันธ์กับการจัดตั้งหรือการดำเนินงานของบริษัทตั้งแต่อดีต รวมทั้ง บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการในปัจจุบัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ Read the rest of this entry »

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดี ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดี ของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษา

The Development of Quality Indicators and Best Practices For Study Skills in Higher Education

บทคัดย่อ:

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพและแนวปฏิบัติที่ดีของทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีโดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ

ขั้นตอนที่1 สัมภาษณ์นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของทุกคณะวิชาของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยสะสม 3.50 ขึ้นไป จำนวน 67 คน และประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 18 คน เพื่อให้ได้ทักษะการเรียนในระดับอุดมศึกษาที่ส่งผลให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดี Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa