SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย: เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน

Job Safety Analysis (JSA): Hazard Identification Technique for Work Accident Prevention

บทคัดย่อ

การที่แนวโน้มของจำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงานในช่วง พ.ศ. 2550-2552 ลดลง ไม่เกินร้อยละ 50 และสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ การหกล้ม / ลื่นล้ม และการยก/เคลื่อนย้ายของหนัก / ท่าทางการทำงาน สะท้อนให้เห็นว่าขั้นตอนแรกของ การบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการมีการดำเนินการที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วน การวิเคราะห์หาอันตราย ซึ่งเทคนิค job safety analysis (JSA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์หา อันตรายที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การจัดทำ JSA ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน คือ การคัดเลือกงาน การแตกงานให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ การวิเคราะห์หาอันตรายจาก งานที่เลือกนั้น การพิจารณาวิธีขจัดและลดอันตรายที่พบและการจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเทคนิค JSA ไปใช้มีอยู่ 4 ช่วง คือ ช่วงก่อสร้างหรือเริ่ม การผลิต ช่วงดำเนินการผลิตเป็นปกติช่วงขยายหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต และช่วงซ่อมแซมบำรุงหรือ ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ ข้อควรระวังในการจัดทำได้แก่ การเลือกงานมาวิเคราะห์ซึ่งจำเป็นต้องเป็น งานที่เกิดอุบัติเหตุสูงและควรศึกษารายละเอียดการสืบสวนอุบัติเหตุประกอบด้วยทุกครั้ง การแตกงาน เป็นขั้นตอนย่อยไม่ควรแตกงานแคบเกินไปหรือกว้างเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการวิเคราะห์หาอันตราย การจัดทำ JSA และ Safety Standard Operation Procedure (SSOP) จำเป็นต้องผ่านการทบทวน โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานนั้นเสมอ อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถวิเคราะห์ หาอันตรายได้ถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic cause) และผู้จัดทำต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างดี ในงานที่นำมาวิเคราะห์และ ไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ถ้าไม่มีการเดินการผลิตก่อน Read the rest of this entry »

การวิเคราะหตนไมแหงความลมเหลว : เทคนิคการชี้บงอันตรายเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะหตนไมแหงความลมเหลว : เทคนิคการชี้บงอันตรายเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน

Fault Tree Analysis: Hazard Identification Techniques for Preventing Work Accidents

บทคัดย่อ:

การสอบสวนอุบัติเหตุเป็นกิจกรรมหนึ่งของการบริหารงานด้านความปลอดภัยเชิงรับซึ่งทำให้ทราบถึงสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น การใช้เทคนิคการวิเคราะห์ต้นไม้แห่งความล้มเหลว (fault tree analysis : FTA) เข้ามาช่วยจะทำให้สามารถค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุหรือการเกิดความล้มเหลวของระบบได้อย่างละเอียดจนไปถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic event) เนื่องจากเป็นเทคนิคในการคิดย้อนกลับที่อาศัยหลักการทางตรรกะวิทยาของ Boolean หาความเป็นเหตุเป็นผลของการเกิดปัญหาหรือความล้มเหลวนั้นโดยประกอบด้วย 4 ขั้นตอน    คือ การกำหนดหรือเลือกเหตุการณ์ตั้งต้น (top event) การจัดทำแผนภูมิโครงสร้างต้นไม้ของความล้มเหลว   การสรุปชุดสาเหตุ (cut sets) ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ตั้งต้น การจัดลำดับความสำคัญของชุดสาเหตุพื้นฐานเพื่อพิจารณาแก้ไขป้องกันต่อไป     การใช้เทคนิคนี้จึงจำเป็นต้องใช้ทีมวิเคราะห์ที่มีความรู้และเข้าใจในรายละเอียดของกระบวนการทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับปัญหาหรือความล้มเหลวนั้น    ทั้งนี้การใช้เทคนิค FTA ในการวิเคราะห์เพียงเทคนิคเดียวอาจไม่เพียงพอจึงอาจจำเป็นต้องใช้เทคนิคอื่นร่วมเช่น failure modes  and effects analysis (FMEA) และ hazard and operability analysis (HAZOP) เป็นต้น

Accident investigation is an activity of advanced safety management which helps us know only some causes of accidents. The use Fault Tree Analysis (FTA) technique could search for causes of accidents or system failures in details and lead us to know basic event. FTA presents failure logic using Boolean logic model to find out rational causes of problems or failures which comprises of 4 processes as follows: setting or selecting top event, constructing Fault Trees diagram, finding the route through a tree between an event and an initiator in the tree called a cut set and setting priority of basic events for considering to solve problems on the next step. By using this technique, the analysis team should have knowledge and well understand in the entire processes relating problems or failures. Only FTA technique, this might not be sufficient, it should combine with other techniques for analysis such as failure modes and effects analysis (FMEA) and hazard and operability analysis (HAZOP) etc.

อุมารัตน ศิริจรูญวงศ. (2555). การวิเคราะหตนไมแหงความลมเหลว : เทคนิคการชี้บงอันตรายเพื่อปองกันการเกิดอุบัติเหตุจากงาน. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (30), 167-180.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa