SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

ความเป็นพิษเฉียบพลันและการกลายพันธุ์ จากสารมลพิษรวมในน้ำและตะกอนดิน กรณีศึกษา คลองชวดหมัน จังหวัดสมุทรปราการ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันที่เกิดจากสารมลพิษรวมในน้ำ จากคลองชวดหมันโดยใช้เมล็ดข้าวโดยเปรียบเทียบระดับความเป็นพิษเฉียบพลันจากค่ายับยั้งการงอกที่ 50% (Inhibition Concentration at 50% : IC50) ของการงอกและความยาวราก ร่วมกับการทดสอบ การกลายพันธุ์ด้วยวิธีเอมส์ (Ames test) นอกจากนี้ยังศึกษาคุณภาพน้ำและตะกอนดินเบื้องต้นทาง กายภาพ เคมี และชีวภาพรวมทั้งปริมาณโลหะชนิดต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่า คุณภาพน้ำทาง กายภาพของคลองชวดหมัน มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 6.40 – 8.03 และค่าสภาพนำไฟฟ้า (Conductivity) อยู่ในช่วง 1076 – 3660 µµS/cm คุณภาพน้ำทางเคมีพบว่ามีความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) อยู่ในช่วง 23.23 – 45.88 mg/l Chemical Oxygen Demand (COD) อยู่ในช่วง 166.4- 873.6 mg/l และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 0.49-7.12 mg/l สำหรับคุณภาพน้ำทางชีวภาพ ในน้ำพบว่ามีปริมาณแบคทีเรียอยู่ในระดับที่ไม่สามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ นอกจากนี้ปริมาณโลหะ ในน้ำคลองชวดหมันพบโลหะที่เกินเกณฑ์มาตรฐานน้ำผิวดินประเภทที่ 3 ของประกาศคณะกรรมการ สิ่งแวดล้อมฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) คือ ตะกั่ว (Lead) และ สารหนู (Arsenic) ซึ่งมีความเข้มข้นที่ 0.11 และ 0.01 mg/l ตามลำดับ สำหรับคุณภาพตะกอนดินทางกายภาพและเคมีของคลองชวดหมันพบว่า มีค่าพีเอช (pH) อยู่ในช่วง 7.42 – 8.05 ความเข้มข้นของไนเตรต (Nitrate) และแอมโมเนีย (Ammonia) อยู่ในช่วง 42.22 – 51.72 และ 32.76 – 103.45 mg – Nkg dry sediment ตามลำดับ สำหรับปริมาณโลหะหนักในตะกอนดิน พบว่า ปรอทมีค่ามากที่สุด คือ 0.5846 µg/kg Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa