SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี

The Development of Injury Prevention Model for Primary Students in Rajini School, Bangkok Metropolitan

บทคัดย่อ:

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในโรงเรียนร้อยละ 75.5 โดยเฉลี่ยเกิดอุบัติเหตุเดือนละ 3 ครั้งต่อคน ส่วนใหญ่เกิดจากสะดุดล้มหรือถูกชนขณะวิ่งเล่นในโรงเรียน ซึ่งพบมากในชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุ 6-9 ปี เป็นช่วงพักกลางวันในบริเวณใต้ถุนตึกเรียน สนามกีฬาและบันไดทางขึ้นตึกเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาและความพิการของนักเรียน รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ประทับใจจากเด็กสู่ครู การร่วมดูแลใส่ใจ ความปลอดภัยของนักเรียนและการร่วมกันดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และเมื่อนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปใช้พบว่า มีผลช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บของนักเรียน ครูนำความรู้การป้องกันอุบัติเหตุสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อต่างๆ มากขึ้น มีการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนภายใต้มาตรฐานโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย ครูพยาบาลให้การบริการสุขภาพเชิงรุกที่มีการนำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของเด็กมาใช้เพื่อสร้างพฤติกรรมป้องกันให้แก่เด็ก มีการพัฒนาสื่อการสอนทางการพยาบาลและมีส่วนร่วมในการบริหารความปลอดภัยภายในโรงเรียน ที่สำคัญพบว่านักเรียนและผู้ปกครองมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุสูงขึ้นและนักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่าให้นำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินการตามมาตรฐานของโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัยและการนำไปใช้ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนนั้นๆ Read the rest of this entry »

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย : เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

การวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย: เทคนิคชี้บ่งอันตรายเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากงาน

Job Safety Analysis (JSA): Hazard Identification Technique for Work Accident Prevention

บทคัดย่อ

การที่แนวโน้มของจำนวนผู้ประสบอันตรายจากการทำงานในช่วง พ.ศ. 2550-2552 ลดลง ไม่เกินร้อยละ 50 และสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ การหกล้ม / ลื่นล้ม และการยก/เคลื่อนย้ายของหนัก / ท่าทางการทำงาน สะท้อนให้เห็นว่าขั้นตอนแรกของ การบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานประกอบการมีการดำเนินการที่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในส่วน การวิเคราะห์หาอันตราย ซึ่งเทคนิค job safety analysis (JSA) เป็นเทคนิคหนึ่งที่ใช้วิเคราะห์หา อันตรายที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน และกรมโรงงานอุตสาหกรรมเห็นชอบ การจัดทำ JSA ประกอบ ด้วย 5 ขั้นตอน คือ การคัดเลือกงาน การแตกงานให้เป็นขั้นตอนย่อยๆ การวิเคราะห์หาอันตรายจาก งานที่เลือกนั้น การพิจารณาวิธีขจัดและลดอันตรายที่พบและการจัดทำเอกสารมาตรฐานการปฏิบัติงาน อย่างปลอดภัย ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการนำเทคนิค JSA ไปใช้มีอยู่ 4 ช่วง คือ ช่วงก่อสร้างหรือเริ่ม การผลิต ช่วงดำเนินการผลิตเป็นปกติช่วงขยายหรือเปลี่ยนแปลงการผลิต และช่วงซ่อมแซมบำรุงหรือ ภายหลังการเกิดอุบัติเหตุ ข้อควรระวังในการจัดทำได้แก่ การเลือกงานมาวิเคราะห์ซึ่งจำเป็นต้องเป็น งานที่เกิดอุบัติเหตุสูงและควรศึกษารายละเอียดการสืบสวนอุบัติเหตุประกอบด้วยทุกครั้ง การแตกงาน เป็นขั้นตอนย่อยไม่ควรแตกงานแคบเกินไปหรือกว้างเกินไปเพราะจะส่งผลต่อการวิเคราะห์หาอันตราย การจัดทำ JSA และ Safety Standard Operation Procedure (SSOP) จำเป็นต้องผ่านการทบทวน โดยหัวหน้างานและผู้ปฏิบัติงานนั้นเสมอ อย่างไรก็ตามเทคนิคนี้มีจุดอ่อนตรงที่ไม่สามารถวิเคราะห์ หาอันตรายได้ถึงสาเหตุพื้นฐาน (basic cause) และผู้จัดทำต้องมีความรู้และประสบการณ์เป็นอย่างดี ในงานที่นำมาวิเคราะห์และ ไม่สามารถทำล่วงหน้าได้ถ้าไม่มีการเดินการผลิตก่อน Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa