SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
อณูปรสิตวิทยาสาธารณสุข : เพื่อป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย (Molecular public health parasitology : malaria prevention and control)
พ.ค. 12th, 2016 by sirinun

อณูปรสิตวิทยาสาธารณสุข : เพื่อป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย

อณูปรสิตวิทยาสาธารณสุข : เพื่อป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย

การสาธารณสุขเกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย ความสามารถในการดูแลสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ ตลอดจนทำให้บุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างปรกติสุข “อณูปรสิตวิทยาสาธารณสุข : เพื่อป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย” เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนวิชาบังคับ สศปว 627 ปรสิตวิทยาสาธารณสุขขั้นสูง สาขาวิชาโรคติดเชื้อและวิทยาการระบาด โรคมาลาเรีย เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต และการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศโลกที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น เป็นปัจจัยที่ทำให้ยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค แพร่เชื้อได้มากขึ้น หนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้ศึกษาวิจัยเชิงลึกถึงลักษณะพันธุกรรมของเชื้อมาเลเรีย การดื้อยาของเชื้อ การกลายพันธุ์ของเชื้อ ที่สามารถทนต่อยารักษา และอื่นๆ  ตำราเล่มนี้มีประโยชน์ต่อนักศึกษา นักวิจัย และผู้ที่สนใจเป็นอย่างยิ่ง  หมวดหมู่ WC765 อ864อ 2558

รายการอ้างอิง

อุษา เล็กอุทัย. (2558). อณูปรสิตวิทยาสาธารณสุข : เพื่อป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรีย (Molecular public health parasitology : malaria prevention and control).  กรุงเทพฯ : ภาควิชาปรสิตวิทยาและกีฏวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

 

มาลาเรียกับการตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา
ก.พ. 25th, 2016 by rungtiwa

มาลาเรียกับการตรวจวินิจฉัยทางภูมิคุ้มกันวิทยา

Malaria and Immunological Diagnosis

บทคัดย่อ

คณะผูวิจัยไดศึกษารวบรวมวิธีการวินิจฉัยโรคมาลาเรียดวยเทคนิคทางภูมิคุมกันวิทยา เพื่อ คนหาวิธีการตรวจวิเคราะหทางภูมิคุมกันวิทยาที่ดีและเหมาะสมในการตรวจวินิจฉัยโรคมาลาเรีย โดย การวิเคราะหขอมูลจากงานวิจัยตาง ๆ และมุงเนนเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการตรวจทาง ภูมิคุมกันวิทยาในดานความไว (sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) ระหวางวิธี Indirect hemagglutination test (IHA), Indirect immunofluorescent antibody test (IFAT), Enzymelinked immunosorbent assay (ELISA) และ Immunochromatography (ICT) โดยใชวิธี microscopy หรือวิธีอื่นๆ ที่เปนวิธีมาตรฐาน พบวาวิธี ELISA ซึ่งใชในการตรวจหาแอนติบอดีชนิด IgG, IgM และโปรตีนชนิด HRP2 มีความไวอยูในชวง 68.2-100% และความจำเพาะ 63.5-100% วิธี IFAT ที่ใชตรวจหา IgG มีความไวอยูในชวง 40.0-86.4% ความจำเพาะ 91.7-99.6% วิธี IHA ใชใน การตรวจหา IgG มีความไวอยูในชวง 82.0-91.0% สวนวิธี Immunochromatography ซึ่งตรวจ หาโปรตีนชนิด HRP2 และเอนไซม PLDH มีความไวอยูในชวง 49.7-100% และความจำเพาะ 73.8- 100% ในสวนคุณสมบัติของแตละวิธีพบวาวิธี IFAT และ ELISA เปนวิธีที่มีความไวและความจำเพาะ สูง แตตองใชเครื่องมือพิเศษและใชระยะเวลาในการตรวจนาน ตางจากวิธี IHA ซึ่งทำไดงาย แตคา ความไวและความจำเพาะต่ำ สวนวิธี ICT มีความสะดวก รวดเร็วและมีความไวสูง แตมีความจำเพาะ ต่ำและราคาแพง ดังนั้น จากผลการศึกษาจึงสรุปไดวา ทุกวิธีการมีทั้งขอดีและขอจำกัดแตกตางกัน การเลือกใชวิธีใดในการตรวจวินิจฉัยขึ้นอยูกับหลายปจจัย เชน ชนิดของเชื้อมาลาเรีย พื้นที่ จำนวน ผูปวยและงบประมาณ เปนตน Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa