SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การแพทย์ทางเลือก
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การแพทย์ทางเลือก

Alternative Medicine

บทคัดย่อ:

การแพทย์ทางเลือกคือการแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์อื่น ๆ ที่เหลือถือเป็นการแพทย์ทางเลือกทั้งหมด การแพทย์ทางเลือกจะให้การรักษาแบบองค์รวมโดยรักษาบนพื้นฐานของร่างกาย จิตใจ และปัญญา รวมทั้งปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับคนคนนั้น ศูนย์การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดระบบการแพทย์ทางเลือก เป็น 5 กลุ่มได้แก่ 1) ระบบการแพทย์ทางเลือก 2) การแพทย์ที่ให้ความสำคัญกับศักยภาพของจิตใจที่มีผลต่อร่างกาย 3) การใช้สารชีวภาพธรรมชาติต่าง ๆ ในการบำบัดรักษา 4) การเยียวยาด้วยมือ และ 5) การแพทย์ในรูปแบบพลังงาน ส่วนกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มศาสตร์หรือเทคนิคของศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของธาตุ/สารชีวภาพในร่างกาย 2) กลุ่มศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกาย(กระดูก/กล้ามเนื้อ) และ 3) กลุ่มศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของพลังในร่างกาย ความสัมพันธ์กาย-จิต การใช้การแพทย์ทางเลือกในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งการบริการในสถานบริการสุขภาพ ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วย คนส่วนใหญ่ใช้การแพทย์ทางเลือกเนื่องจากปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้ บางคนใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค และเหตุผลอื่นอีกหลายประการ อย่างไรก็ตามการแพทย์ทางเลือกยังมีข้อจำกัด เช่น คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นต้น รวมทั้งบางวิธีของการแพทย์ทางเลือกไม่มีหลักฐานการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก ควรใช้หลักการพิจารณา 4 ประการ ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ประสิทธิผลการรักษา/ป้องกัน และความคุ้มค่าต่อการนำไปใช้ Read the rest of this entry »

Qualitative Research on Urban Poverty in Thailand : A cross cultural reflection
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

Qualitative Research on Urban Poverty in Thailand : A cross cultural reflection

บทคัดย่อ:

This article discusses both the findings of a piece of research on urban poverty in Thailand and the reflects on the process of qualitative research in that country. This reflection is from the perspective of a Thai researcher writing in the environment of a western university. The findings focus on the ways in which Thai government has attempted to deal with urban poverty as it has been manifested in urban slums since the lift off of economic development. In the absence of a social security safety net, a consensus has appeared to emerge that self reliance is a culturally appropriate aim for the poor. This concept is analysed from the data and found to exclude many of the poorest who are unable to benefit from the available provision. The question of what can be ethical research among the poorest is examined, and the need to directly do good rather than avoid harm is prioritised for this research.
บทความนี้เป็นการอภิปรายเกี่ยวกับข้อค้นพบบางประเด็นจากการศึกษาวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในเมืองและกระบวนการทำวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งเป็นการสะท้อนมุมมองของนักวิจัยที่ทำงานท่ามกลางบรรยากาศและสภาพแวดของนักวิจัยในมหาวิทยาลัยของประเทศตะวันตก ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขความยากจนในเมืองปรากฏชัดขึ้นไปพร้อมกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ระบบความมั่นคงทางสังคมยังขาดประสิทธิภาพ แนวคิดการพึ่งตนเองจึงเป็นแนวคิดทางวัฒนธรรมที่เหมาะสมสอดคลองกับกลุ่มคนจนเมืองง อยางไรก็ตามกลุ่มคนจนเมืองโดยเฉพาะคนที่จนที่สุดก็ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการสังคมอย่างทั่วถึง ประเด็นที่ควรคำนึงในการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพคือจริยธรรมในการทำวิจัยโดยเฉพาะกับกลุ่มมคนยากจน

 

Puchong Senanuch. (2551). Qualitative Research on Urban Poverty in Thailand : A cross cultural reflection. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (22), 44-53.

อ่านบทความฉบับเต็ม

Management of soft tissue injury
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

Management of soft tissue injury

บทคัดย่อ:

Soft tissue injury is an acute connective tissue injury that may involve muscle, ligament, tendon, capsular structures and/or cartilaginous structures. Knowing relevant pathophysiology of a healing process is important in developing an appropriate treatment. In general, soft tissue injuries can be categorized into three degrees, depending on the severity of injury. The first degree is a mild stretch or minor tear of soft tissue with mild hemorrhage. The second degree is a moderate tear with some restrictions of movement.
The most severe damage, the third degree, is an excessive stretch of soft tissue, causing a complete tear of the injured structure. After injury, the healing process is classified into three continuous, overlapping phases. They are inflammation, proliferation, and remodeling phases. Treatment is aimed to aid recovery and get the patients back to their normal activities as soon as possible without risks of re-rupture and chronic musculoskeletal impairments. The inflammatory phase composes of extremely complex vascular and cellular responses that take three to five days to complete. The aims of treatment for this phase are to minimize inflammation and to provide optimal healing conditions. These aims can be achieved by applying “PRICE”: protection, rest, ice, compression, and elevation, immediately after injury. Once inflammation has ceased the development and growth of new blood vessels and granulation tissue occur in the proliferation phase. Generally, this phase lasts two to four weeks. The aim of treatment for this phase is to provide optimal environment for a new tissue growth and orientation. Early mobilization is recommended
to provide mechanical load on regenerating tissue. Mechanical load causes cellular adaptation to external stress; thus, stimulates new fiber regeneration and orientation. In remodeling phase, the weak type III collagen is replaced by the strong type I collagen. The aim of treatment for this phase is directed towards quick and complete return to normal activities. Stretching and strengthening exercises within a limited degree of pain, are encouraged. With proper management for each stage of soft tissue healing, the risks of re-injury, time off work, and costs of treatment will be reduced. Read the rest of this entry »

การขับเคลื่อนวิถีพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม : ศึกษากรณีพระสุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดตราด
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การขับเคลื่อนวิถีพุทธภายใต้กระแสบริโภคนิยม : ศึกษากรณีพระสุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดตราด

The Mobilization of Buddhist Way under Consumerism : A Case Study of Phra Subin Paneeto, Wat Phai-lom, Muang District, Trat Province

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการขับเคลื่อนของพระสุบิน ปณีโต ในการสร้างชุมชนวิถีพุทธ ภายใต้กระแสบริโภคนิยม ใช้กรณีศึกษาของพระสุบิน ปณีโต วัดไผ่ล้อม อำเภอเมือง จังหวัดตราด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และใช้แนวคำถามประกอบคำสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบไม่เป็นทางการ และการสนทนากลุ่ม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดการวิจัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่ากระบวนการขับเคลื่อนวิถีพุทธของพระสุบิน ปณีโต มีหลักการสำคัญ คือ (1) การสร้างสัมมาทิฐิให้กับประชาชนในชุมชน ให้เข้าใจปัญหาของตนให้ชัดเจน (2) การแก้ไขปัญหาของประชาชนในชุมชนต้องจัดตั้งเป็นกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ เพื่อพัฒนาคุณธรรมครบวงจรของชีวิต มีการวางกฎเกณฑ์ทีชัดเจนแต่สามารถยืดหยุ่นได้ตามบริบทของชุมชน (3) การสร้างกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ฯ ต้องไม่มีการขยายไปอย่างรวดเร็ว เพราะการจัดตั้งกลุ่ม ในขณะที่ประชาชนยังขาดความเข้าใจ จะทำให้กลุ่มล้มได้ง่าย (4) การสร้างจิตสำนึกด้วยหลักธรรมเป็นสิ่งที่สร้างจิตวิญญาณให้บังเกิดขึ้นกับคน ซึ่งจะก่อให้เกิดความขยันหมั่นเพียร ความซื่อสัตย์สุจริต และความเสียสละเพื่อส่วนรวม (5) การสร้างกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ฯ ให้เข้มแข็งต้องทำในรูปเครือข่ายโดยใช้กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ฯ ที่เข้มแข็งเป็นผู้ถ่ายทอดบทเรียนให้กับกลุ่มที่อ่อนแอกว่า (6) การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน จะทำให้กลุ่มมีการสรุปบทเรียนและประสบผลสำเร็จมากขึ้น ผลของการศึกษาดังกล่าว ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะต่อชุมชนให้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต องค์กรภายนอกที่ต้องการสนับสนุนต้องเข้าใจบริบทของชุมชนเพื่อที่จะได้จัดกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของชุมชน อันจะทำให้ชุมชนมีส่วนรวม มีการเรียนรู้และสามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้ด้วยตนเอง Read the rest of this entry »

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

Hazardous Waste in Laboratory Management

บทคัดย่อ:

ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจวิเคราะห์และการทดลองต่างๆ ในห้องปฏิบัติการมีทั้งของเสียที่เป็นอันตรายและของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการของประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีระบบการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นนี้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียอันตราย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม บทความนี้ จึงนำเสนอถึงแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการพิจารณาประเภทของของเสียอันตรายจากคุณสมบัติ เช่น ความไวไฟ ความเป็นพิษ การกัดกรอน และการเกิดปฏิกิริยา แล้วจึงทำการแยกประเภทของเสียอันตรายก่อนทิ้ง โดยอาจแบ่งตามความเข้ากันได้ การเกิดปฏิกิริยา และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ของเสียแต่ละประเภท อาทิ ของเสียประเภทกรด ของเสียที่เป็นน้ำมันและของเสียประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการของเสียเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ เช่น การเลือกภาชนะบรรจุของเสีย การติดฉลากระบุรายละเอียดของเสียบทภาชนะ และให้อบรมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น Read the rest of this entry »

หวย : เส้นทางลัดสู่ความร่ำรวยหรือหายนะอย่างยั่งยืน
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

หวย : เส้นทางลัดสู่ความร่ำรวยหรือหายนะอย่างยั่งยืน

Lottery : A short cut to wealth or disaste

บทคัดย่อ:

บทความนี้ได้นำเสนอปรากฏการณ์ทางสังคมเกี่ยวกับการเล่นหวยในมุมมองทางพระพุทธศาสนาโดยได้กล่าวถึงที่มาของหวยในสังคมไทย ปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวบ่งชี้ถึงการคงอยู่ของหวยในสังคมไทย เช่น นโยบายของรัฐที่สนับสนุนให้เกิดหวยบนดิน สื่อทางสังคมที่กระตุ้นให้คนเล่นหวยมากขึ้น ประเกอบกับความยากจนและความอยากรวยของประชาชนบางส่วน ซึ่งขัดแย้งกับแนวคิดทางพระพุทธศาสนาที่มองว่าหวยเป็นอบายมุขที่นำมาซึ่งความหายนะทั้งด้านชีวิต จิตวิญญาณ ทรัพย์สิน และขัดแย้งกับหลักกรรมที่สอนให้คนแสวงหาสิ่งต่างๆ โดยการลงมือกระทำด้วยตนเอง และท้ายของบทความนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอทางออกจากปัญหานี้ตามหลักการของสัมมาทิฐิ หมายถึง กระบวนการสร้างแนวคิดใหม่ เป็นแนวคิดที่เข้าถึงความจริงจนมองเห็นโทษของการพนัน หนึ่งในวิธีการที่ผู้เขียนนำเสนอก็คือ การปลูกฝังนิสัยรักการทำงานสุจริตที่ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องร่วมมือกัน โดยเฉพาะสถาบันครอบครัวที่พ่อแม่จะต้องสร้างแนวคิดและปลูกฝังเรื่องนี้ให้แก่ลูกตั้งแต่เยาว์วัยแทนการหวังรวยทางลัดด้วยการเล่นหวยหรือการพนันในรูปแบบอื่นเพราะการพนันทุกรูปแบบมิใช่ทางลัดสู่ความร่ำรวย แต่เป็นเส้นทางที่นำไปสู่ความหายนะ Read the rest of this entry »

คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล

Quality of nursing care and managing nursing education

บทคัดย่อ:

การให้การพยาบาลที่มีคุณภาพ เป็นสิ่งสำคัญและเป็นความรับผิดชอบที่พยาบาลพึงกระทำเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเกิดคุณภาพอันนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ สำหรับคุณภาพการพยาบาลนั้น จะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1: โครงสร้าง ได้แก่ สถานที่ในการดูแลสุขภาพ ระบบ(การดูแลสุขภาพ)ทางกายภาพ ระบบขององค์กร ระดับการศึกษา อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น องค์ประกอบที่ 2: กระบวนการ ได้แก่ การให้การดูแลอย่างไร และสิ่งที่ได้กระทำในการดูแลแก่ผู้รับบริการ และองค์ประกอบที่ 3: ผลลัพธ์ ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับบริการ และองค์ประกอบที่ 3: ผลลัพธ์ ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับบริการ ตัวบ่งชี้ทางสุขภาพ ทัศนคติ และความรู้ อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติการพยาบาลให้เกิดคุณภาพการพยาบาลได้นั้น พยาบาล ผู้บริหารการพยาบาล และผู้บริหารโรงพยาบาลจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้เป็นหลัก และเมื่อผู้ให้บริการปฏิบัติการพยาบาล โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งหมดแล้ว ผู้ให้บริการจะประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยใช้ดัชนีวัดคุณภาพการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มดัชนี คือ ดัชนีของโครงสร้างได้แก่ การจัดการ สภาพแวดล้อม แหล่งทรัพย์ และบุคคล ดัชนีของกระบวนการ ได้แก่ การปฏิบัติการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลบนมาตรฐานการพยาบาล การจัดการในการดูแลผู้รับบริการ และความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และดัชนีของผลลัพธ์ ได้แก่ เหตุการณ์และโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ความพีงพอใจของผู้รับบริการ ความพึงพอใจกับข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจกับการจัดการกับความเจ็บปวด และความพึงพอใจกับการจัดการกับอาการแสดง

สำหรับการจัดการศึกษาพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นแก่การพยาบาลได้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีความหลากหมายของหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาทางการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดหลักสูตรการศึกษาพยาบาล มีทั้งในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับเอก อีกทั้งยังมีการจัดการศึกษาในรูปแบบของการอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาให้บุคลากรพยาบาลมีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางด้วย อย่างไรก็ตาม แนวทางการจัดการการศึกษาพยาบาลนั้น จะต้องประกอบด้วย 1)หลักสูตรการศึกษาพยาบาล 2) สถาบันการศึกษาพยาบาล 3) นักศึกษา 4) อาจารย์ 5) การเรียนการสอน 6) แหล่งทรัพยากร 7) องค์กรวิชาชีพ และ 8) ความร่วมมือระหว่างฝ่ายการศึกษาและฝ่ายบริการ ดังนั้น คุณภาพการพยาบาลและการจัดการการศึกษาพยาบาลจึงมีความสัมพันธ์ต่อกัน กล่าวคือ คุณภาพการพยาบาลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดจนประสบการณ์และทักษะทางการพยาบาลในทุกระดับของการศึกษาพยาบาล การจัดการการศึกษาพยาบาลเองก็มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางการพยาบาลเพื่อให้การพยาบาลมีคุณภาพโดยเหมาะสมตามกาลเวลาและสถานการณ์ของสังคม

Quality of nursing care is an important matter, which is also a responsibility of all nurses who provide nursing care for clients in order to give them the best quality of care. This quality of nursing care will bring about the best benefit to the clients. It consists of three elements. The first element is the structure, which consists of health care setting, physical (health care) system, organizational system, level of education, equipments and instruments and so forth. The second element is the process of providing nursing care and any actions to the clients. The final element is the outcome, which is the clients’ satisfaction and information, health indicators, attitude, and knowledge. Nevertheless, the quality of nursing care will occur when nurses, nurse administrators, and hospital administrators have considered these three elements at the same time as nursing care has been provided. When they have provided their nursing care with considering these three elements, they will evaluate their nursing care by using quality of nursing care indicators, of which there are three. The first one is the structure indicator, which is management, environment, resources, and personnel. The second is the process indicator, which is nursing practice, nursing practice based on standards, management of patients care, and satisfaction of nursing personnel. The final is the outcome indicator, which is incidences and complications, client satisfaction, satisfaction with information, time, satisfaction with pain management, and satisfaction with symptom management. For managing nursing education, it is also another significant matter in order to create quality of nursing care. It is more necessary to have various curriculums in order to develop education for nurses continuously. Managing nursing education has bachelor’s degree, master’s degree, doctor’s degree, and it also has short course training in order to develop nurses to have more knowledge and skills. Nonetheless, the guideline for managing nursing education consists of nursing curriculum, institution of nursing education, students, instructors, learning and teaching, resources, professional organization, and collaboration between education sector and service sector. Thus, the quality of nursing care and managing nursing education are related to each other. The quality of nursing care will improve by using knowledge from both theory and practice along with experiences and skills of nursing care in any level of education. Also, managing nursing education itself will be a part of promoting and supporting nursing care in order to improve and adjust the implementation of quality of nursing care in a way that is suitable to the time and situation.

กนกพร นทีธนสมบัติ. (2550). คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (21), 34-52.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี

The Development of Injury Prevention Model for Primary Students in Rajini School, Bangkok Metropolitan

บทคัดย่อ:

ผลการวิจัยพบว่านักเรียนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในโรงเรียนร้อยละ 75.5 โดยเฉลี่ยเกิดอุบัติเหตุเดือนละ 3 ครั้งต่อคน ส่วนใหญ่เกิดจากสะดุดล้มหรือถูกชนขณะวิ่งเล่นในโรงเรียน ซึ่งพบมากในชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุ 6-9 ปี เป็นช่วงพักกลางวันในบริเวณใต้ถุนตึกเรียน สนามกีฬาและบันไดทางขึ้นตึกเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาและความพิการของนักเรียน รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ประทับใจจากเด็กสู่ครู การร่วมดูแลใส่ใจ ความปลอดภัยของนักเรียนและการร่วมกันดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และเมื่อนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปใช้พบว่า มีผลช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บของนักเรียน ครูนำความรู้การป้องกันอุบัติเหตุสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อต่างๆ มากขึ้น มีการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนภายใต้มาตรฐานโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย ครูพยาบาลให้การบริการสุขภาพเชิงรุกที่มีการนำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของเด็กมาใช้เพื่อสร้างพฤติกรรมป้องกันให้แก่เด็ก มีการพัฒนาสื่อการสอนทางการพยาบาลและมีส่วนร่วมในการบริหารความปลอดภัยภายในโรงเรียน ที่สำคัญพบว่านักเรียนและผู้ปกครองมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุสูงขึ้นและนักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่าให้นำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินการตามมาตรฐานของโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัยและการนำไปใช้ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนนั้นๆ Read the rest of this entry »

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Preliminary Feasibility Study of Huachiew Chalermprakiet University Wastewater Treatment System

บทคัดย่อ:

การศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสียมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นของระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยเก็บข้อมูลปริมาณและลักษณะน้ำเสียที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยฯ เพื่อคาดการณ์ลักษณะน้ำเสียที่จะเกิดขึ้นภายในปี พ.ศ. 2565 แล้วออกแบบและคัดเลือกระบบบำบัด น้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยฯ จากผลการวิจัย พบว่า อัตราการไหลเฉลี่ยของน้ำเสียและน้ำฝนที่วัดได้ เท่ากับ 11.89 และ 65.40 ลบ.ม./ชม. ตัวอย่างน้ำเสียเฉพาะที่เก็บบริเวณต้นน้ำของคลองรับน้ำเสีย มีค่า DO และ BOD5 เฉลี่ย เท่ากับ 3.92 และ 101.20 มก./ล. ส่วนบริเวณท้ายน้ำมีค่า DO และ BOD5 เฉลี่ย เท่ากับ 3.39 และ 113.21 มก./ล. ตามลำดับ ตัวอย่างน้ำเสียรวมของน้ำเสียภายในมหาวิทยาลัยฯ มีค่า BOD5 และ SS เฉลี่ย เท่ากับ 58.2 และ 35.3 มก./ล. ตามลำดับ โดยในปี พ.ศ. 2565 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำเสียเกิดขึ้นประมาณ 67.32 ลบ.ม./ชม. มีค่า BOD5 ประมาณ 90 มก./ล. ระบบบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติคือ ระบบบำบัดน้ำเสียตะกอนเร่งแบบถังปฏิกรณ์สลับเป็นกะ (Sequencing Batch Reactor, SBR) ซึ่งพิจารณาจากผลการตรวจวัดลักษณะสมบัติน้ำเสียและเกณฑ์การคัดเลือกด้านราคาค่าก่อสร้างและดำเนินการเป็นหลัก โดยมีส่วนประกอบในระบบ ได้แก่ สถานีสูบน้ำเสีย บ่อวัดอั ตราการไหล บ่อแบ่งน้ำ ถังเติมอากาศ อาคารเติมคลอรีน ถังสัมผัสคลอรีน บ่อสูบตะกอนย้อนกลับและลานตากแห้งสลัดจ์ Read the rest of this entry »

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 27th, 2016 by rungtiwa

ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Factors Affecting Learning Achievement of the First Year Students at Huachiew Chalermprakiet University

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยข้อมูลการศึกษาระดับมัธยมปลายปีที่ 6 และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ใน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติโดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมสถานภาพทางสังคม แต้มเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมปลาย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติจำนวนตัวอย่าง 207 คน เก็บรวบรวมข้ออมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทำการทดสอบความตรงเชิงโครงสร้าง เท่ากับ 0.58 Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa