การแพทย์ทางเลือก
Alternative Medicine
บทคัดย่อ:
การแพทย์ทางเลือกคือการแพทย์ที่ไม่ใช่การแพทย์แผนปัจจุบัน การแพทย์แผนไทย และการแพทย์พื้นบ้านไทย การแพทย์อื่น ๆ ที่เหลือถือเป็นการแพทย์ทางเลือกทั้งหมด การแพทย์ทางเลือกจะให้การรักษาแบบองค์รวมโดยรักษาบนพื้นฐานของร่างกาย จิตใจ และปัญญา รวมทั้งปัจจัยทางสังคม สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กับคนคนนั้น ศูนย์การแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดระบบการแพทย์ทางเลือก เป็น 5 กลุ่มได้แก่ 1) ระบบการแพทย์ทางเลือก 2) การแพทย์ที่ให้ความสำคัญกับศักยภาพของจิตใจที่มีผลต่อร่างกาย 3) การใช้สารชีวภาพธรรมชาติต่าง ๆ ในการบำบัดรักษา 4) การเยียวยาด้วยมือ และ 5) การแพทย์ในรูปแบบพลังงาน ส่วนกระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กองการแพทย์ทางเลือก แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มศาสตร์หรือเทคนิคของศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของธาตุ/สารชีวภาพในร่างกาย 2) กลุ่มศาสตร์เพื่อการปรับสมดุลของโครงสร้างร่างกาย(กระดูก/กล้ามเนื้อ) และ 3) กลุ่มศาสตร์เพื่อปรับสมดุลของพลังในร่างกาย ความสัมพันธ์กาย-จิต การใช้การแพทย์ทางเลือกในประเทศไทยได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งการบริการในสถานบริการสุขภาพ ในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มผู้ป่วย คนส่วนใหญ่ใช้การแพทย์ทางเลือกเนื่องจากปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่การแพทย์แผนปัจจุบันไม่สามารถรักษาได้ บางคนใช้เพื่อสร้างเสริมสุขภาพหรือป้องกันโรค และเหตุผลอื่นอีกหลายประการ อย่างไรก็ตามการแพทย์ทางเลือกยังมีข้อจำกัด เช่น คุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ การปฏิบัติต่ำกว่ามาตรฐาน เป็นต้น รวมทั้งบางวิธีของการแพทย์ทางเลือกไม่มีหลักฐานการพิสูจน์อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้น การเลือกใช้การแพทย์ทางเลือก ควรใช้หลักการพิจารณา 4 ประการ ประกอบด้วย ความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัย ประสิทธิผลการรักษา/ป้องกัน และความคุ้มค่าต่อการนำไปใช้
Alternative Medicine refers to a broad set of health–care practices that are not part of Conventional Medicine, Thai Traditional Medicine, and Thai Indigenous Medicine. It is also a Holistic Medicine, which based on the whole person treatment – body, mind and spirit, including related- social factors, and related environmental factors. The National Center for Complementary and Alternative Medicine (NCCAM) has classified Alternative Medicine into five domains : 1) Whole Medical Systems, 2) Mind-Body Medicine, 3) Biologically-Based Practices, 4) Manipulative and Body-Based Practices, and 5) Energy Medicine. The Division of Complementary and Alternative Medicine, Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ministry of Public Health has divided Alternative Medicine into three groups of methods : 1) Biological Balanced Therapy, 2) Structural Balanced Therapy, and 3) Energetic Balanced Therapy /Body and Mind Control.
Alternative Medicine becomes mores popular in Thailand. It is widespread in health care services, ordinary people groups, and patient groups. Most people often turn to Alternative Medicine when they have a chronic problem that conventional medicine can not completely cure. Some employ it to prevent illness, to promote health, and soon. However, Alternative Medicine has its limitations such as quality and safety of Alternative Medicine products, below standard practices, and etc. Moreover, some Alternative Medicine practices have no scientific evidence-basis. In order to prevent malpractice in the field of
Alternative Medicine there are 4 guidelines to follow : 1) reliability, 2) safety, 3) efficacy, and 4) cost-effectiveness.
ตวงพร กตัญุตานนท. (2551). การแพทย์ทางเลือก. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (22), 68-78.
อ่านบทความฉบับเต็ม