การพยาบาลที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง : แนวโน้มและบทบาทที่ท้าทายของพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว
บทคัดย่อ:
ครอบครัวเป็นแหล่งรวมสุขภาพและความเจ็บป่วยของสมาชิกทุกคน เป็นศูนย์กลางของการดูแลช่วยเหลือ บรรเทาให้สมาชิกแต่ละคนสามารถคงบทบาทหน้าที่ของตนเองไว้ได้อย่างต่อเนื่องภายใต้วัฒนธรรม ความเชื่อ ค่านิยม การปฏิบัติตนและสถานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แวดล้อมครอบครัวนั้นไว้ ซึ่งปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของแต่ละครอบครัว จะมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาตามพลวัตของครอบครัวที่เปลี่ยนแปลงไป ในสภาวการณ์ปัจจุบันสุขภาพของครอบครัวนับวันจะยิ่งมีความสำคัญมากขึ้นอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสุขภาพที่มีผลให้ครอบครัวต้องสนใจดูแลสุขภาพของสมาชิกมากขึ้น รวมทั้งพยาบาลเองต้องปรับบทบาทให้สอดคล้องกับความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของครอบครัวในฐานะที่เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพด้วยเช่นกัน กระบวนการพยาบาลเป็นแนวปฏิบัติที่พยาบาลใช้ในการดูแลสุขภาพมาอย่างต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน และถือว่าเป็นสิ่งที่บ่งบอกความเป็นเอกภาพของวิชาชีพ การดูแลสุขภาพที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลางโดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นการนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาปรับใช้ให้บรรลุเป้าหมายใหม่ที่ต้องการ ซึ่งจะประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความสามารถในการแสดงบทบาทของพยาบาลที่จะทำให้เห็นว่าการปฏิบัตินั้นสอดคล้องและถูกต้องต่อการพัฒนาสุขภาพที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้บรรลุได้นั้น พยาบาลจะต้องดูแลสุขภาพร่วมกันกับครอบครัวในทุกขั้นตอนตั้งแต่การประเมินภาวะสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูล การกำหนดเป้าหมายของการดูแลสุขภาพ การดำเนินวิธีการปฏิบัติพยาบาลที่เป็นไปได้ การกำหนดลำดับความสำคัญในความต้องการของครอบครัว การวางแผนดูแลสุขภาพ การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้และการประเมินผล โดยจะต้องขยายมุมมองต่อครอบครัวให้กว้างและลึกมากขึ้นกว่าเดิมในทุกขั้นตอนของการนำกระบวนการพยาบาลไปใช้ตามปกติ กล่าวคือ จะต้องมองครอบครัวในฐานะที่เป็นบริบทของการดูแลสุขภาพสมาชิกร่วมกันมองครอบครัวว่าเป็นหน่วยรวมในฐานะที่เป็นผู้รับบริการ ทักษะที่สำคัญและจำเป็นที่จะช่วยให้การดูแลสุขภาพครอบครัวประสบความสำเร็จ คือ การใช้ทักษะของการทำความเข้าใจ ทักษะการใช้ความคิดเพื่อจับประเด็นและทักษะการจัดการสุขภาพภายใต้บรรยากาศของการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพยาบาลกับครอบครัวอย่างเป็นระบบ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะช่วยให้กระบวนการพยาบาลเพื่อการดูแลสุขภาพครอบครัวสำเร็จลุล่วงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2549). การพยาบาลที่มีครอบครัวเป็นศูนย์กลาง : แนวโน้มและบทบาทที่ท้าทายของพยาบาลในการดูแลสุขภาพครอบครัว . วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (18), 90-106.
อ่านบทความฉบับเต็ม
การพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนราชินี
The Development of Injury Prevention Model for Primary Students in Rajini School, Bangkok Metropolitan
ผลการวิจัยพบว่านักเรียนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในโรงเรียนร้อยละ 75.5 โดยเฉลี่ยเกิดอุบัติเหตุเดือนละ 3 ครั้งต่อคน ส่วนใหญ่เกิดจากสะดุดล้มหรือถูกชนขณะวิ่งเล่นในโรงเรียน ซึ่งพบมากในชั้นประถมศึกษาตอนต้น อายุ 6-9 ปี เป็นช่วงพักกลางวันในบริเวณใต้ถุนตึกเรียน สนามกีฬาและบันไดทางขึ้นตึกเรียน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาและความพิการของนักเรียน รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุประกอบด้วยขั้นตอน 3 ขั้นตอน คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ประทับใจจากเด็กสู่ครู การร่วมดูแลใส่ใจ ความปลอดภัยของนักเรียนและการร่วมกันดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุที่ชัดเจนและต่อเนื่อง และเมื่อนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปใช้พบว่า มีผลช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บของนักเรียน ครูนำความรู้การป้องกันอุบัติเหตุสอดแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อต่างๆ มากขึ้น มีการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนภายใต้มาตรฐานโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย ครูพยาบาลให้การบริการสุขภาพเชิงรุกที่มีการนำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของเด็กมาใช้เพื่อสร้างพฤติกรรมป้องกันให้แก่เด็ก มีการพัฒนาสื่อการสอนทางการพยาบาลและมีส่วนร่วมในการบริหารความปลอดภัยภายในโรงเรียน ที่สำคัญพบว่านักเรียนและผู้ปกครองมีพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุสูงขึ้นและนักเรียนมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่าให้นำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินการตามมาตรฐานของโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัยและการนำไปใช้ต้องปรับให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนนั้นๆ Read the rest of this entry »
ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน
The Effectiveness of Self-Care Behavior Promoting Program on Self-Care Behavior and Blood Pressure Level in Essential Hypertensive Patients in Community
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกอย่างเจาะจงจากผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงเกินระดับ 1 ค่าความดันโลหิต 159/99 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป และมารับการตรวจรักษาที่สถานีอนามัยตำบลทับตีเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรีจำนวน 54 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองและแบบสอบถามพฤติกรรมดูแลตนเอง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.78 การดำเนินการวิจัยเริ่มจากประเมินความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง จากนั้นดำเนินการตามโปรแกรม 4 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ขั้นสลายพฤติกรรม และขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์ครั้งที่ 2 ขั้นสร้างมนุษย์สัมพันธ์และเกิดปฏิสัมพันธ์และขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่ม ครั้งที่ 3 ขั้นสร้างสรรค์ก่อเกิดความคิดริเริ่มและขั้นการระดมความคิดครั้งที่ 4 ขั้นการระดมความคิดและขั้นประเมินผล ใช้ระยะเวลา 10 สัปดาห์จึงวัดความดันโลหิตและพฤติกรรมการดูแลตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที(paired t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการปฏิบัติตัวทั่วไปค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4) ด้านการรับประทานยาและการเลือกอาหารค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.0 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.4) ด้านการออกกำลังกาย ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.2 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.7) และด้านการผ่อนคลายความเครียดค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.4 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.6) และหลังจากเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองพบว่า มีอาการเวียนศีรษะคิดเป็นร้อยละ 37.0 พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วย การดูแลตนเองพบว่า อยู่ในระดับดีกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองในภาพรวมหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) โดยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการออกกำลังกายและด้านการผ่อนคลายความเครียดสูงกว่าก่อนเข้า โปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) ส่วนระดับความดันโลหิตหลังเข้าร่วมโปรแกรมผู้ป่วยมีค่าระดับความดันโลหิตระดับ 1 ร้อยละ 64.9 จึงพบว่า ระดับความดันโลหิตภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p = 0.001) โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าความดันซีสโตลิค
ผลการวิจัยเสนอแนะให้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขประยุกต์โปรแกรมส่งการการดูแลตนเองแก่ผู้ที่มีระดับความดันโลหิตสูงเกิน 1 ในชุมชนอื่น ๆ The objective of this quasi – experimental research was to investigate the effectiveness of Self-care Behavior Promoting Program on self-care behavior and blood pressure level in essential hypertensive clients. The 54 purposive samplings were selected, have has level 1 higher blood pressure (>159/99 mmHg) and have been receiving hypertensive drugs at Tabteelek district health service center, amphur mueng, Supanburi province. The research instruments were Self-care Behavior Promoting Program and questionnaires related to self-care behaviors. The content validity and reliability of the questionnaire were tested, the alpha-coefficient was 0.78. The research processes were composed of blood pressure assessment, self-care behavior assessment, and self-care behavior promoting program implementation, respectively. The Self-care Behavior Promoting Program consisted of 4 stages of 10 trial weeks : 1) ice breaking and humanization with interaction, 2) humanization with interaction and creation, 3) creation and brain stroming, and 4) brain stroming and evaluation. Data were analyzed by percentage, average, standard deviation, and paired t-test.
Results of this research were found that self-care behaviors before implementing Self – Care Behavior Program, mean of their basic self-care behaviors was 3.0 (SD = 0.4), mean of drug administration and diet management was 3.0 (SD = 0.4) mean of their exercise behavior was 3.2 (SD = 0.7), and the mean of stress management was 3.4, (SD = 0.6) respectively. After the program, 37.0 percent had dizziness. All of patients’ self-care behaviors were better than before implementing program (p = 0.001). mean of exercise behavior and stress management was significantly different (p = 0.001). Also the level of blood pressure after implementing the program, 64.9 percent of patients had high blood pressure at level 1. There are, blood pressure level was lower after implementing the program, especially systolic score was significantly decreased (p = 0.001).
The suggestions from this research is that the community nurse practitioner and health care personnel should apply this program for level 1 the high blood pressure in other communities.
พัชราภัณฑ์ ไชยสังข์ จริยาวัตร คมพยัคฆ์ และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2553). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุในชุมชน. วารสาร มฉก.วิชาการ 14 (27), 21-36.
การพัฒนาระบบเกษตรทางเลือก : กรณีศึกษาตำบลสุขภาวะภาคกลาง
The Development of Alternative Agriculture: Case Study from Healthy Tambol in Central Region
วนิดา ดุรงคฤทธิชัย. (2554). การพัฒนาม : กรณีศึกษาตำบลสุขภาวะภาคกลาง. วารสาร มฉก. วิชาการ 15 (29), 47-66.
แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูดูแลผูสูงอายุที่ปวยเปนโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเฝาระวังการเกิดภาวะซึมเศรา
The Clinical Nursing Practice Guideline for Caregiver to Depression Surveillance of Post Stroke Elderly People in Community
วรนุช ทองไทย วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย และ กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2557). แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับผูดูแลผูสูงอายุที่ปวยเปนโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเฝาระวังการเกิดภาวะซึมเศรา. วารสาร มฉก. วิชาการ 18 (35), 13-28.
ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (Effectiveness of Social Support Program on Vulnerability in Patient with Breast Cancer Receiving Chemotherapy)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงกึ่งทดลอง โดยใช้รูปแบบกลุ่มเดียว วัด 2 ครั้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะของความไม่มั่นคงและผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ต่อการลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดที่มารับบริการ ณ ศูนย์มะเร็ง โรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคตะวันตก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน34 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบประเมินความไม่มั่นคง และโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ลักษณะความไม่มั่นคงของกลุ่มตัวอย่างพบว่า กลุ่มตัวอย่างรู้สึกกระวนกระวายใจกับผลการรักษามากที่สุดร้อยละ 64.71 (x–=1.44, S.D.=0.660) รองลงมาคือ รู้สึกถึงความไม่แน่นอนของระยะเวลาในการมีชีวิตอยู่ร้อยละ 61.76 (x–=1.50, S.D.=0.749) และรู้สึกว่าการเจ็บป่วยด้วยโรคนี้ต้องบอกให้สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลที่ไว้วางใจรับทราบคิดเป็นร้อยละ 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031) สิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึกน้อยที่สุดคือ ไม่ต้องการพูดถึงการเจ็บป่วยครั้งนี้ร้อยละ 5.88 (x–=3.32, S.D.=0.912) ค่าคะแนนเฉลี่ยของความไม่มั่นคงก่อนและหลังให้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในกลุ่มตัวอย่างมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < .000 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การใช้โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ช่วยให้ความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดลดลง ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ลดความไม่มั่นคงในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในหน่วยเคมีบำบัดต่อไป
This quasi-experimental research was a group pretest-posttest design. The purposes of this study were to explore the characteristics of vulnerability and the effect of social support program on vulnerability in people with breast cancer under chemotherapy. Thirty-four eligible patients with purposive sampling were recruited from a cancer center (a tertiary care hospital) located in the western part of Thailand. The tools were composed of a demographic information recording form, the vulnerability questionnaire, and social support program (SSP). Descriptive statistics including percentages, means, and standard deviations and the paired t-test were used to analyze data. The results revealed that in terms of vulnerability, patients reported feelings affecting the treatment at most including anxiety feeling 64.71% (x–=1.44, S.D.=0.660), uncertain feeling 61.76% (x–=1.50, S.D.=0.749), the need to inform family members or trust persons 61.76 (x–=3.29, S.D.=1.031), respectively. Patients reported least scores of the item of not wanting to discuss about the symptom 5.88% (x–=3.32, S.D.=0.912). After receiving the social support program, the average score of vulnerability was significantly higher than that of before at the significant level of p<.000). SSP could decrease the vulnerability in patients with breast cancer under chemotherapy. Therefore, the SSP can be applied to lower the vulnerability of patients with breast cancer under chemotherapy in other centers.
นภรรสสร กูรมาภิรักษ์ นภาพร แก้วนิมิตชัย และ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2558). ผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความไม่มั่นคง ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 105-116.
การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านแบบมีส่วนร่วมโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน (Risk Management Participation for Preventing the Recurrent of Congestive Heart Failure at Home by Community Nurse Practitioners)
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ พัฒนารูปแบบการจัดการความเสี่ยงร่วมกันระหว่างผู้ป่วย ครอบครัว และบุคลากรสาธารณสุข และเพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดครั้งแรกอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยประจำในชุมชนเซนต์หลุยส์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 30 ราย กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ครอบครัว/ผู้ดูแล แพทย์อายุรกรรมหัวใจ พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักโภชนาการ และนักกายภาพบำบัด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ได้ความแม่นตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.92 และค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำอย่างมีนัยสำคัญ คือ การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำ สำหรับปัจจัยครอบครัว คือ การรับรู้ ความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำในผู้ป่วยรูปแบบการจัดการความเสี่ยงที่พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนโน้มน้าวให้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) ร่วมกันรับรู้ปัจจัยเสี่ยง 2) ร่วมกันกำหนดบทบาทใหม่ในการประเมินหรือวิเคราะห์ความเสี่ยง 3) ลงมือปฏิบัติจัดการความเสี่ยงโดยผู้ป่วย ครอบครัว/ผู้ดูแล และบุคลากรสาธารณสุข 4) ติดตามผลลัพธ์การจัดการความเสี่ยงกิจกรรมที่ร่วมกันออกแบบ คือ คู่มือป้องกันและแนวปฏิบัติการจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านสำหรับบุคลากรสาธารณสุข ภายหลังการพัฒนารูปแบบ พบว่า ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) น้ำหนักตัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันภาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ด้านครอบครัว/ผู้ดูแล พบว่า การรับรู้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพฤติกรรมการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำในผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) The purpose of this action research aimed to study the risk factors of congestive heart failure recurrent situation, develop the system of risk management in parcipitation among patients, family and medical profession and study the result of the developed system by Community Nurse Practitioners. Major perspective samples were 30 ischemic heart disease’patients aged 60 years or higher resided in St.Louis community Bangkok Metropolitan. The first thing doctor found was the occurrence of CHF and treated was continuingly tor at least 1 year at St.Louis hospital. Minor perspective samples were relations , caregivers, cardiologist, community nurse practitioners, profesional nurses, pharmacists, nutritionists and physical therapists. Data collection was carried out using the questionnaires, interviews and participatory notifications. Data analysis was performed using paired t-test and content analysis.The result showed that the risk factors of CHF’s recurrent situation included patient and family factors. Patient factor was perceived barriers, family factor was perceived severity. The developed risk management system by Community Nurse Practitioners consisted 4 steps. First, know the risk factors together; secondly,set the new role for risk evaluation and analysis, thirdly, doing the risk management in action by relations caregivers and medical profession: and finally, follow the result of the risk managements. The risk management activity was the manual of the recurrent CHF prevention for patients, relations and caregivers, included the symptoms observation and symptoms of the recurrent situation at home, and the way to management risk of the recurrent situation for medical profession. After the system was developed, health behavior developed significantly (p<0.05); patient’s weight after developed system was reduced significantly (p<0.05), perceived barriers were reduced significantly (p<0.05), and relations and caregiver found that perceived severity was increased significantly (p<0.05).
นิตยา ทานันท์ วนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม จิตร สิทธีอมร. (2558). การจัดการความเสี่ยงเพื่อป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวซ้ำที่บ้านแบบมีส่วนร่วมโดยพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน. วารสาร มฉก. วิชาการ ,19 (37), 89-103.