SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Management of soft tissue injury
กุมภาพันธ์ 28th, 2016 by rungtiwa

Management of soft tissue injury

บทคัดย่อ:

Soft tissue injury is an acute connective tissue injury that may involve muscle, ligament, tendon, capsular structures and/or cartilaginous structures. Knowing relevant pathophysiology of a healing process is important in developing an appropriate treatment. In general, soft tissue injuries can be categorized into three degrees, depending on the severity of injury. The first degree is a mild stretch or minor tear of soft tissue with mild hemorrhage. The second degree is a moderate tear with some restrictions of movement.
The most severe damage, the third degree, is an excessive stretch of soft tissue, causing a complete tear of the injured structure. After injury, the healing process is classified into three continuous, overlapping phases. They are inflammation, proliferation, and remodeling phases. Treatment is aimed to aid recovery and get the patients back to their normal activities as soon as possible without risks of re-rupture and chronic musculoskeletal impairments. The inflammatory phase composes of extremely complex vascular and cellular responses that take three to five days to complete. The aims of treatment for this phase are to minimize inflammation and to provide optimal healing conditions. These aims can be achieved by applying “PRICE”: protection, rest, ice, compression, and elevation, immediately after injury. Once inflammation has ceased the development and growth of new blood vessels and granulation tissue occur in the proliferation phase. Generally, this phase lasts two to four weeks. The aim of treatment for this phase is to provide optimal environment for a new tissue growth and orientation. Early mobilization is recommended
to provide mechanical load on regenerating tissue. Mechanical load causes cellular adaptation to external stress; thus, stimulates new fiber regeneration and orientation. In remodeling phase, the weak type III collagen is replaced by the strong type I collagen. The aim of treatment for this phase is directed towards quick and complete return to normal activities. Stretching and strengthening exercises within a limited degree of pain, are encouraged. With proper management for each stage of soft tissue healing, the risks of re-injury, time off work, and costs of treatment will be reduced.

การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อหมายถึง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็นยึดกล้ามเนื้อ เอ็นยึดข้อ ถุงหุ้มรอบข้อ หรือกระดูกอ่อน การเข้าใจถึงพยาธิสภาพของการซ่อมแซมเนื้อเยื่อจะนำไปสู่การวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ สามารถแบ่งความรุนแรงออกได้ 3 ระดับคือ การบาดเจ็บเล็กน้อย มีเนื้อเยื่อฉีกขาดและเลือดไหลเล็กน้อย การบาดเจ็บระดับปานกลาง มีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อมากกว่า กลุ่มแรก แต่การฉีกขาดไม่สมบูรณ์ ทำให้มีการจำกัดการเคลื่อนไหวเป็นบางส่วน การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อขั้นรุนแรง จะมีการฉีกขาดของเนื้อเยื่ออย่างสมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับบาดเจ็บได้ภายหลังจากการบาดเจ็บ เนื้อเยื่อมีการซ่อมแซมตัวเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ ระยะอักเสบ เป็นระยะเวลาที่มีการตอบสนองของระบบหลอดเลือดและระดับเซลล์ เพื่อกำจัดเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และเตรียมความพร้อมในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ระยะอักเสบน้ีกินเวลาประมาณ 3-5 วัน การรักษาในระยะนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการอักเสบน้อยที่สุด และเกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ในการซ่อมแซมตนเอง โดยการใช้หลัก “PRICE” คือการพยุงส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ (protection) พัก (rest) ใช้ความเย็นประคบ (ice) การพันผ้ายืด (compression) และการยกส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้สูงกว่าหัวใจ (elevation) หลังจากการอักเสบลดลง จะมีการสร้างเซลล์ ใหม่ เพื่อทดแทนเนื้อเยื่อทื่ได้รับบาดเจ็บ ในช่วงนี้ เรียกว่าช่วงการเพิ่มจำนวนเซลล์ใหม่อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เซลล์ใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ มีความอ่อนแอและยังไม่สามารถจัดเรียงตัวเป็นระเบียบได้ ระยะนี้กินเวลา 2-4 สัปดาห์ วัตถุประสงค์ของการรักษา ในระยะนี้คือ ส่งเสริมการสร้างเซลล์ใหม่ และส่งเสริมให้เซลล์ใหม่มีการจัดเรียงตัวที่ดีขึ้น โดยการให้ผู้ป่วย เคลื่อนไหวส่วนที่ได้รับบาดเจ็บให้เร็วที่สุด หลังจากการพักโดยไม่มีการเคลื่อนไหวมาระยะหนึ่ง การเคลื่อนไหวนี้เพื่อเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับเนื้อเยื่อ ซึ่งจะส่งผลในการกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ และช่วยให้การจัดเรียงตัวของเซลล์ใหม่ดีขึ้น ในระยะสุดท้ายของการซ่อมแซมตนเอง คือระยะการจัดเรียงตัวตามแบบของเนื้อเยื่อเดิม การรักษาในระยะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บสามารถกลับไปทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์ ผู้ป่วยในระยะนี้สามารถออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อได้ ในช่วงที่ไม่มีอาการเจ็บปวด หากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่เหมาะสมกับพยาธิสภาพในแต่ละช่วงของการบาดเจ็บ จะทำให้เนื้อเยื่อมีการฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดการบาดเจ็บซ้ำ ลดระยะเวลาการขาดงาน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

 

Pornratshanee Weerapong. (2551). Management of soft tissue injury. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (22), 28-43.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa