SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแนวทางแก้ไข
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแนวทางแก้ไข

บทคัดย่อ:

การเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา ทำให้เกิดสารประกอบคลอรีนและคลอไรด์ตกค้างในน้ำ เป็นผลให้ผู้ใช้น้ำไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้รับผลจากการตกค้างของคลอรีนและคลอไรด์ โดยในส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก คือ ผู้ประกอบการที่ต้องการน้ำที่ได้คุณภาพตามวัตถุประสงค์ของการผลิต ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากคลอรีนและคลอไรด์ในน้ำประปานั้นได้แก่ ปัญหาการกัดกร่อนโลหะ เนื่องจากคลอไรด์ ปัญหาการกัดกร่อนของเรซินและเยื่อเมมเบรนเนื่องจากคลอรีน ปัญหาการฟอกสีของสารเคมีที่ใช้ฟอกย้อมเนื่องจากคลอรีน ฯลฯ ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่ต้องหาแนวทางในการกำจัดคลอรีนและคลอไรด์ออกจากน้ำ ก่อนที่จะนำน้ำไปใช้ในกระบวนการผลิต โดยการกำจัดคลอรีนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตั้งทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยออก การใช้ถ่านกัมมันต์ดูดซัลคลอรีน การเติมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อเปลี่ยนรูปคลอรีน หรือการเติมสารเคมีอื่นเพื่อเปลี่ยนรูปคลอรีน ในส่วนการกำจัดคลอไรด์สามารถทำได้โดยใช้ เรซินแลกเปลี่ยนอิออน

ธีรวิทย์ ปูผ้า ยิ่งเจริญ คูสกุลรัตน์ และ วรพจน์ กนกกันฑพงษ์. (2548). ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแนวทางแก้ไข. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 97-105.

อ่านบทความฉบับเต็ม

มองต่างมุมกับเทคโนโลยี EM
มี.ค. 3rd, 2016 by rungtiwa

มองต่างมุมกับเทคโนโลยี EM

บทคัดย่อ:

ท่ามกลางกระแสของการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms หรือ EM) เป็นทางเลือกหนึ่งที่ถูกนำมาใช้แพร่หลายทั้งในด้านการเกษตร การบำบัดน้ำเสีย การกำจัดสิ่งปฏิกูลและขยะ รวมทั้งการนำมาบริโภค รวมทั้งการนำมาบริโภค เป็นต้น เทคโนโลยี EM นั้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย แต่ยังเป็นประเด็นถกเถียงกันว่าสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้กับทุกงานจริงหรือไม่ เพราะในบางกรณีผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยี EM ยังไม่สามารถอธิบาย ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์และหลักการทางวิชาการได้อย่างชัดเจน บทความนี้ จึงนำเสนอแง่มุมที่หลากหลายของเทคโนโลยี EM ทั้งด้านที่มีเหตุผลมารองรับและด้านที่ยังเป็นข้อสงสัย รวมทั้งการตรวจสอบทางวิชาการเพื่อวิเคราะห์ว่าจะสามารถนำเทคโนโลยี EM ไปแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้จริงหรือไม่

วรพจน์ กนกกันฑพงษ์. (2548). มองต่างมุมกับเทคโนโลยี EM. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 90-98.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ข้อผิดพลาดในการตรวจวัดควันดำจากระบบกระดาษกรอง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ข้อผิดพลาดในการตรวจวัดควันดำจากระบบกระดาษกรอง

Mistakes in Black Smoke Detection when using Filter Paper System

บทคัดย่อ:

ควันดำที่เกิดจากยานพาหนะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศสำหรับเมืองใหญ่ ยานพาหนะทุกคันที่มีอายุเกิน 7 ปีต้องได้รับการตรวจสภาพและตรวจสอบควันดำจากท่อไอเสีย มาตรฐานการตรวจวัดควันดำจากรถยนต์ดีเซลได้ระบุให้ใช้เครื่องมือวัดควันดำไว้สองระบบ คือ ระบบกระดาษกรอง และระบบวัดความทึบแสง ในปัจจุบันพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังใช้เครื่องมือวัดควันดำแบบระบบกระดาษกรอง ซึ่งมักพบข้อผิดพลาดในการตรวจวัดที่ทำให้ผลการวัดค่าควันดำมีค่ามากกว่าปกติ เช่น การจัดสภาพของเครื่องยนต์ที่ยังไม่เหมาะสมในการตรวจวัด การเปิดแอร์ขณะตรวจวัด การไม่ทำความสะอาดเครื่อง ตรวจวัดควันดำหรือไม่ได้ไล่เขม่าจากท่อไอเสีย และข้อผิดพลาดที่ทำให้ผลการตรวจวัดควันดำมีค่าต่ำกว่าปกติ เช่น จังหวะในการเหยียบคันเร่งที่ไม่เหมาะสม เร่งเครื่องด้วยอัตราเร่งต่ำหรือเร่งเครื่องยนต์ไม่สุดคันเร่ง และการใช้กระดาษกรองผิดวิธีการนำกระดาษทึบแสงมารองอ่านค่าแทนกระดาษกรองสะอาด เป็นต้น จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่ต้องทราบเพื่อให้สามารถหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์หรือซื้ออุปกรณ์ลดควันดำมาติดตั้ง ส่งผลให้ผลการตรวจวัดควันดำถูกต้องเป็นจริงและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนสูงสุด Read the rest of this entry »

อุปกรณดักจับฝุนละออง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

อุปกรณดักจับฝุนละออง

Particle Collection Devices

บทคัดย่อ:

การบำบัดฝุ่นละอองที่เกิดจากแหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ดักจับฝุ่นซึ่งมีทั้งสิ้น 5 ประเภท ได้แก่ ระบบคัดแยกที่อาศัยการตกเนื่องจากน้ำหนักฝุ่น ระบบไซโคลน เครื่องดักจับด้วยหยดน้ำ ถุงกรอง และเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ โดยถุงกรองจัดเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการดักจับฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 0.1 ไมครอน) แต่ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งมาก ในขณะที่ระบบอื่นไม่สามารถดักจับฝุ่นขนาดเล็กมากได้ แต่ก็ใช้พื้นที่น้อยกว่า เช่น ระบบไซโคลน บางระบบควบคุมการทำงานได้ง่ายกว่า เช่น เครื่องดักจับด้วยหยดน้ำ นอกจากนี้ การออกแบบระบบที่ต่างกัน เช่น การใช้ระยะมาตรฐานของระบบไซโคลน หรือการใช้ระบบทำความสะอาดถุงกรองในการออกแบบ รวมทั้งลักษณะของอุปกรณ์ ราคา และตัวชี้วัดในการควบคุมการทำงาน ก็เป็นอีกปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์บำบัดฝุ่น Read the rest of this entry »

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

Hazardous Waste in Laboratory Management

บทคัดย่อ:

ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจวิเคราะห์และการทดลองต่างๆ ในห้องปฏิบัติการมีทั้งของเสียที่เป็นอันตรายและของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการของประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีระบบการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นนี้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียอันตราย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม บทความนี้ จึงนำเสนอถึงแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการพิจารณาประเภทของของเสียอันตรายจากคุณสมบัติ เช่น ความไวไฟ ความเป็นพิษ การกัดกรอน และการเกิดปฏิกิริยา แล้วจึงทำการแยกประเภทของเสียอันตรายก่อนทิ้ง โดยอาจแบ่งตามความเข้ากันได้ การเกิดปฏิกิริยา และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ของเสียแต่ละประเภท อาทิ ของเสียประเภทกรด ของเสียที่เป็นน้ำมันและของเสียประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการของเสียเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ เช่น การเลือกภาชนะบรรจุของเสีย การติดฉลากระบุรายละเอียดของเสียบทภาชนะ และให้อบรมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa