SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล

Quality of nursing care and managing nursing education

บทคัดย่อ:

การให้การพยาบาลที่มีคุณภาพ เป็นสิ่งสำคัญและเป็นความรับผิดชอบที่พยาบาลพึงกระทำเพื่อให้การปฏิบัติการพยาบาลเกิดคุณภาพอันนำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดของผู้รับบริการ สำหรับคุณภาพการพยาบาลนั้น จะประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1: โครงสร้าง ได้แก่ สถานที่ในการดูแลสุขภาพ ระบบ(การดูแลสุขภาพ)ทางกายภาพ ระบบขององค์กร ระดับการศึกษา อุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ เป็นต้น องค์ประกอบที่ 2: กระบวนการ ได้แก่ การให้การดูแลอย่างไร และสิ่งที่ได้กระทำในการดูแลแก่ผู้รับบริการ และองค์ประกอบที่ 3: ผลลัพธ์ ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับบริการ และองค์ประกอบที่ 3: ผลลัพธ์ ได้แก่ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ข้อมูลที่ได้รับจากผู้รับบริการ ตัวบ่งชี้ทางสุขภาพ ทัศนคติ และความรู้ อย่างไรก็ตาม การที่จะปฏิบัติการพยาบาลให้เกิดคุณภาพการพยาบาลได้นั้น พยาบาล ผู้บริหารการพยาบาล และผู้บริหารโรงพยาบาลจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบนี้เป็นหลัก และเมื่อผู้ให้บริการปฏิบัติการพยาบาล โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งหมดแล้ว ผู้ให้บริการจะประเมินคุณภาพการพยาบาลโดยใช้ดัชนีวัดคุณภาพการพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่มดัชนี คือ ดัชนีของโครงสร้างได้แก่ การจัดการ สภาพแวดล้อม แหล่งทรัพย์ และบุคคล ดัชนีของกระบวนการ ได้แก่ การปฏิบัติการพยาบาล การปฏิบัติการพยาบาลบนมาตรฐานการพยาบาล การจัดการในการดูแลผู้รับบริการ และความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และดัชนีของผลลัพธ์ ได้แก่ เหตุการณ์และโรคแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น ความพีงพอใจของผู้รับบริการ ความพึงพอใจกับข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจกับการจัดการกับความเจ็บปวด และความพึงพอใจกับการจัดการกับอาการแสดง

สำหรับการจัดการศึกษาพยาบาลเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่สามารถช่วยสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นแก่การพยาบาลได้ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีความหลากหมายของหลักสูตร ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาทางการศึกษาให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การจัดหลักสูตรการศึกษาพยาบาล มีทั้งในระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และระดับเอก อีกทั้งยังมีการจัดการศึกษาในรูปแบบของการอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาให้บุคลากรพยาบาลมีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางด้วย อย่างไรก็ตาม แนวทางการจัดการการศึกษาพยาบาลนั้น จะต้องประกอบด้วย 1)หลักสูตรการศึกษาพยาบาล 2) สถาบันการศึกษาพยาบาล 3) นักศึกษา 4) อาจารย์ 5) การเรียนการสอน 6) แหล่งทรัพยากร 7) องค์กรวิชาชีพ และ 8) ความร่วมมือระหว่างฝ่ายการศึกษาและฝ่ายบริการ ดังนั้น คุณภาพการพยาบาลและการจัดการการศึกษาพยาบาลจึงมีความสัมพันธ์ต่อกัน กล่าวคือ คุณภาพการพยาบาลจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ตลอดจนประสบการณ์และทักษะทางการพยาบาลในทุกระดับของการศึกษาพยาบาล การจัดการการศึกษาพยาบาลเองก็มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทางการพยาบาลเพื่อให้การพยาบาลมีคุณภาพโดยเหมาะสมตามกาลเวลาและสถานการณ์ของสังคม

Quality of nursing care is an important matter, which is also a responsibility of all nurses who provide nursing care for clients in order to give them the best quality of care. This quality of nursing care will bring about the best benefit to the clients. It consists of three elements. The first element is the structure, which consists of health care setting, physical (health care) system, organizational system, level of education, equipments and instruments and so forth. The second element is the process of providing nursing care and any actions to the clients. The final element is the outcome, which is the clients’ satisfaction and information, health indicators, attitude, and knowledge. Nevertheless, the quality of nursing care will occur when nurses, nurse administrators, and hospital administrators have considered these three elements at the same time as nursing care has been provided. When they have provided their nursing care with considering these three elements, they will evaluate their nursing care by using quality of nursing care indicators, of which there are three. The first one is the structure indicator, which is management, environment, resources, and personnel. The second is the process indicator, which is nursing practice, nursing practice based on standards, management of patients care, and satisfaction of nursing personnel. The final is the outcome indicator, which is incidences and complications, client satisfaction, satisfaction with information, time, satisfaction with pain management, and satisfaction with symptom management. For managing nursing education, it is also another significant matter in order to create quality of nursing care. It is more necessary to have various curriculums in order to develop education for nurses continuously. Managing nursing education has bachelor’s degree, master’s degree, doctor’s degree, and it also has short course training in order to develop nurses to have more knowledge and skills. Nonetheless, the guideline for managing nursing education consists of nursing curriculum, institution of nursing education, students, instructors, learning and teaching, resources, professional organization, and collaboration between education sector and service sector. Thus, the quality of nursing care and managing nursing education are related to each other. The quality of nursing care will improve by using knowledge from both theory and practice along with experiences and skills of nursing care in any level of education. Also, managing nursing education itself will be a part of promoting and supporting nursing care in order to improve and adjust the implementation of quality of nursing care in a way that is suitable to the time and situation.

กนกพร นทีธนสมบัติ. (2550). คุณภาพการพยาบาลและการจัดการศึกษาพยาบาล. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (21), 34-52.

อ่านบทความฉบับเต็ม

การติดเชื้อของทางเดินปสสาวะในสตรีตั้งครรภ
ก.พ. 21st, 2016 by rungtiwa

การติดเชื้อของทางเดินปสสาวะในสตรีตั้งครรภ

Urinary Tract Infection in the Pregnant Women

กนกพร นทีธนสมบัติ. (2556). การติดเชื้อของทางเดินปสสาวะในสตรีตั้งครรภ์. วารสาร มฉก. วิชาการ 16 (32), 141-156.

อ่านบทความฉบับเต็ม

 

 

 

การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
ก.พ. 11th, 2016 by supaporn

การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ (Clinical Teaching of Preceptors and Directions for Preceptorship Development, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakiet University)

บทคัดย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 227 ราย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 110 ราย นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 117 ราย) สำหรับกลุ่มตัวอย่างการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จำนวน 29 ราย (นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เคยเรียนวิชาภาคปฏิบัติกับพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 7 ราย อาจารย์ประธานรายวิชาปฏิบัติการการพยาบาล จำนวน 3 ราย พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 10 ราย พยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ร่วมงานกับพยาบาลพี่เลี้ยงอย่างน้อย 2 ปีจำนวน 4 ราย และหัวหน้าหอผู้ป่วยในแหล่งฝึกปฏิบัติที่มีพยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในส่วนของเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยง และเครื่องมือที่ใช้ในส่วนของเชิงคุณภาพ ได้แก่ แนวคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึก และแนวคำถามสำหรับการสนทนากลุ่ม ซึ่งเครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามคุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ MannWhitney U test ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพการสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงในด้านคุณลักษณะความเป็นครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x– =4.48, SD=.494) และ ด้านการดำเนินการสอนของพยาบาลพี่เลี้ยง พบว่าเกือบทั้งหมดมีคุณภาพอยู่ในระดับมาก ถึง มากที่สุด คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา (x– =4.54, SD=.583) รองลงมา คือ นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ และเกิดทักษะจากการฝึกปฏิบัติ (x– =4.46, SD=.549) นอกจากนี้ พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และ 4 มีคะแนนความคิดเห็นต่อคุณลักษณะความเป็นครูของพยาบาลพี่เลี้ยงและลักษณะการดำเนินการสอนภาคปฏิบัติโดยรวมแตกต่างกัน (p<.001) ส่วนผลการศึกษาเชิงคุณภาพประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นหลักที่ 1 ปัญหาของพยาบาลพี่เลี้ยงในการสอนภาคปฏิบัติ ซึ่งประกอบด้วย 2 ประเด็นรอง คือ ปัญหาของการนิเทศนักศึกษา และ ปัญหาความรู้ทางทฤษฎีไม่ได้รู้ลึกซึ้งมาก ประเด็นหลักที่ 2 ความต้องการของพยาบาลพี่เลี้ยงในการพัฒนาการสอน ประกอบด้วย 1 ประเด็นรอง คือ ความต้องการที่จะพัฒนาความรู้และประเด็นหลักที่ 3 แนวทางในการพัฒนาพยาบาลพี่เลี้ยงให้มีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 2 ประเด็นรองคือ การได้มาซึ่งพยาบาลพี่เลี้ยง และระบบการเรียนการสอนและการติดตามผล

This research was a descriptive research, which aimed to study the preceptors’quality of clinical teaching. The samples of the quantitative research part were 227 nursing students, which consisted of 110 junior nursing students, and 117 senior nursing students. The samples of the qualitative research part were 7 junior nursing students who used to study with preceptors, 3 nursing instructors who were heads of nursing practice course, 10 preceptors, 4 registered nurses who had worked with preceptors, and 5 head nurses who were in the ward that preceptors have worked. The instrument of the quantitative research was the preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire, whereas the instruments of the qualitative research were in-depth interview guidelines, and focus group guidelines. These instruments were validated and tested. The Cronbach’s alpha coefficient of preceptors’ quality of clinical teaching questionnaire was 0.95. For data analysis, the quantitative research part applied frequency, mean, standard deviation, and Mann-Whitney U test, whereas content analysis was used as data analysis in the part of qualitative research. The results revealed that the overall of the preceptors’ quality of clinical teaching specially on teacher characteristics was high level (x–=4.48, SD=.494). For the process of the preceptors’ teaching, it was found that almost all of the processes were high to highest level of quality, especially on the ability to solve the problem of the nursing students’ during their practices (x–=4.54, SD=.583). The second high level of quality was the acquiring knowledge, experiences, and skills of nursing students from their practices (x–=4.46, SD=.549). The comparison between the junior nursing students’ opinions and the senior nursing students’ opinions on the preceptors’ quality of clinical teaching showed that there were overall differences between the opinions on the characteristics of being a teacher and the process of clinical teaching (p<.001). In qualitative findings, it was found that there were three themes. The first theme was the problems of the receptors in their clinical teaching, which consisted of the problem of supervising students, and the problem of not having profound theoretical knowledge. The second theme was the demand of preceptors in teaching development, which consisted of the demand of knowledge development. The third theme was the direction for preceptorship development to apply their clinical teaching effectively, which consisted of the processes of obtaining preceptors, and the systems of teaching-learning and evaluations.

 

กนกพร นทีธนสมบัติ รัชนี นามจันทรา พรศิริ พันธสี และ อิสรีย์ เหลืองวิลัย. (2558). การสอนภาคปฏิบัติของพยาบาลพี่เลี้ยงและแนวทางการพัฒนาระบบพยาบาลพี่เลี้ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก. วิชาการ,19 (37), 71-88.

อ่านบทความฉบับเต็ม

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa