SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ
กุมภาพันธ์ 28th, 2016 by rungtiwa

การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ

Hazardous Waste in Laboratory Management

บทคัดย่อ:

ของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการตรวจวิเคราะห์และการทดลองต่างๆ ในห้องปฏิบัติการมีทั้งของเสียที่เป็นอันตรายและของเสียที่ไม่เป็นอันตราย ซึ่งภายในห้องปฏิบัติการของประเทศไทยส่วนใหญ่ ยังไม่มีระบบการจัดการของเสียที่เกิดขึ้นนี้อย่างเหมาะสมโดยเฉพาะอย่างยิ่งของเสียอันตราย ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม บทความนี้ จึงนำเสนอถึงแนวทางในการจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ โดยเริ่มจากการพิจารณาประเภทของของเสียอันตรายจากคุณสมบัติ เช่น ความไวไฟ ความเป็นพิษ การกัดกรอน และการเกิดปฏิกิริยา แล้วจึงทำการแยกประเภทของเสียอันตรายก่อนทิ้ง โดยอาจแบ่งตามความเข้ากันได้ การเกิดปฏิกิริยา และการนำกลับมาใช้ประโยชน์ของเสียแต่ละประเภท อาทิ ของเสียประเภทกรด ของเสียที่เป็นน้ำมันและของเสียประเภทตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น นอกจากนี้ได้นำเสนอแนวทางในการจัดการของเสียเบื้องต้นที่สามารถนำไปใช้ได้ในทางปฏิบัติ เช่น การเลือกภาชนะบรรจุของเสีย การติดฉลากระบุรายละเอียดของเสียบทภาชนะ และให้อบรมกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในห้องปฏิบัติการ เป็นต้น

Wastes generated from analytical and experimental processes in laboratory can be classified as both hazardous and non-hazardous wastes. Currently, most laboratories in Thailand have an inappropriate waste management system, especially, hazardous waste that causes significant adverse human health effects and environmental damage. This article, therefore, presents guidelines for the management of hazardous waste from laboratory, starting with characteristics of hazardous waste, e.g. ignitability, toxicity, corrosivity, and reactivity. Then, hazardous waste segregation by compatibility, reactivity, and its application, e.g. acid waste, oily waste, and organic solvent waste were considered.Moreover, basic guidelines for handling of laboratory hazardous waste management, e.g. waste container selection, waste labeling on container, and training for persons involving in laboratory was also provided.

วรพจน์ กนกกันฑพงษ์. (2550). การจัดการของเสียอันตรายในห้องปฏิบัติการ. วารสาร มฉก.วิชาการ 11 (21), 95-102.

อ่านบทความฉบับเต็ม


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa