SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การติดตั้ง Add-In Zotero ใน Microsoft Word
เม.ย. 25th, 2020 by pailin

Zotero เป็น software ประเภท open source สาหรับช่วยบริหารจัดการข้อมูลรายการบรรณานุกรมและรายการอ้างอิง หรือที่เรียกกันว่า Reference management และมีเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างรูปแบบการเขียนอ้างอิงได้หลายรูปแบบ ซึ่ง Zotero สามารถทำงานร่วมกับ Microsoft Word ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ใช้งานสามารถส่งรายการบรรณานุกรมที่เก็บรวบรวมไว้ใน Zotero เข้ามาแทรกตามตำแหน่งต่างๆ ในเอกสาร word ได้สะดวก ซึ่งผู้ใช้งานจะต้องติดตั้ง Add-In ใน tool ของ Microsoft Word เพิ่มเติม โดยผู้เขียน ขอแบ่งการนำเสนอเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม Zotero  ส่วนที่ 2 การนำรายการทางบรรณานุกรมที่มีการดาวน์โหลดจากฐานข้อมูลหรือระบบที่ให้บริการจัดทำรูปแบบการอ้างอิงออกมา ส่วนที่ 3 การนำข้อมูลทางบรรณานุกรมที่นำออกจากฐานข้อมูล/ระบบห้องสมุด เข้าโปรแกรม Zotero และส่วนที่ 4 กล่าวถึงการ add-in โปรแกรม Zotero กับ Microsoft Word ต่อไป

ส่วนที่ 1 การติดตั้งโปรแกรม Zotero ในคอมพิวเตอร์

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Zotero จากเว็บไซต์ เนื่องจากเป็น open source จึงสามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ที่ https://www.zotero.org/download โดยให้เลือกเวอร์ชั่นให้ตรงกับ OS ที่ใช้งานอยู่ ว่าเป็น Windows / macOS / Linux

Read the rest of this entry »

ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน
ก.พ. 8th, 2020 by supaporn

ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน บรรยายโดย ดร.เจษฎา นิลสงวนเดชะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่  15 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้อง 1111 C ชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กทม. จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา วิทยากรได้นำภาพมงคลต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง และกล่าวถึงที่มาของภาพ ซึ่งภาพมงคลของจีนแต่ละภาพ ล้วนต้องมีความหมาย

ภาพมงคล  (จี๋เสียงถูอ้าน (ถูอ้าน = ภาพ))  คือ ภาพที่เป็นศิริมงคล สิ่งที่นำมา เพื่อความเป็นมงคล ของจีนต้องนำมาในสิ่งที่ต้องการ คำว่า จี๋เสียง  เริ่มใช้สมัยจ้านกว๋อ จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเรื่องราวความสุข วาสนา มงคล กุศลธรรม คำว่า เสียง เป็นมิติหมายแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง  มีความหมายเหมือนกับภาษาไทย คือ สิริมงคล เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ภาพวาดมงคลนี้ ใช้ติดในเทศกาลตรุษจีน เป็นภาพงานฝีมือ ใช้เวลาในการวาด 4-5 เดือน จึงมีราคาสูง กลายเป็นของขวัญล้ำค่า ภาพที่ติดให้เห็นทั่วไป มักจะเป็นภาพพิมพ์จากภาพวาด ภาพเหล่านี้แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของจีน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ลายผ้า ภาพวาด  ลายตุ๊กตา ลายกระเป๋า  ภาพมงคลของจีน ภาพต้องมีความหมาย ความหมายต้องเป็นมงคล ภาพที่เป็นมงคล ต้องมีมงคล 4 ประการ คือ ฟู่ (ทรัพย์สินเงินทอง) กุ้ย (ล้ำค่า มีค่ามาก) โซ่ว (อายุยืนยาว)  สี่ (ยินดี)

คนจีนทำความสะอาดบ้านแล้วจะหาซื้อภาพ (ภาพที่วาดในกระดาษ (เหนียนฮว้า = จื่อฮว้า)) มาติด ประดับประดา เนื้อหายุคแรกจะเป็นเทพเจ้า  เช่น เทพทวารบาล เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ติดที่หน้าพระราชวัง พระตำหนักต่างๆ

วิทยากรได้นำภาพจากหมู่บ้านหยางหลิ่วชิง (หยาง คือ  ต้นหยาง หลิ่วชิง คือ มีความเขียวขจี) เมืองเทียนจิน อยู่ใกล้ปักกิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ทำภาพวาดทั้งหมู่บ้าน ทุกบ้านมีความถนัดในการวาดภาพ ลงสี ระบายสี แต่ทุกวันนี้ ก็จะลดน้อยลง มีกระดาษ ที่ใช้เขียนพู่กันจีน สารส้ม ใส่ในสี เพราะสีจะไม่หลุดง่าย น้ำหมึก สีหลากหลาย เน้น ยี่ห้อตราหัวม้า เพราะคงทน สีฉูดฉาดสวยงาม

ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน  ดังนี้

  1. การร่างเป็นลายเส้น
  2. แกะสลัก
  3. พิมพ์
  4. ลงสี
  5. ใส่กรอบโชว์ ขาย

ทั้งนี้สามารถติดตามชมการบรรยายได้ที่

คลิปบรรยาย

หรือ  https://www.youtube.com/watch?v=DCU5Y6m_hQE

Read the rest of this entry »

การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21
ม.ค. 13th, 2020 by supaporn

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่

  1. แหล่งสืบค้นข้อมูล และการใช้ Application ยอดฮิตในจีน
  2. แหล่งการสืบค้นทางงานวิจัยและวิชาการของจีน
  3. แหล่งข้อมูลสำหรับสื่อการเรียนการสอนภาษาจีน
  4. สรุปประโยชน์การนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน

ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา

การสืบค้นสารสนเทศ

เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »

พามาชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย (Thailand Creative and Design Center) (TCDC)
ธ.ค. 24th, 2019 by navapat

คิด ผลิต ขาย  ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อตอบโจทย์ธุรกิจสร้างสรรค์อย่างครบวงจรแห่งแรกในประเทศไทย พัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการไทยให้มีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก อันเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทย

เมื่อวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562   เวลา 10.30 – 12.00 น. ผู้เขียนและบุคลากรศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ทุกคน ได้มีโอกาสมาเยี่ยมชมศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบประเทศไทย หรือที่เราคุ้นเคยกันว่า TCDC (Thailand Creative and Design Center) ต้องขอบอกเลยว่ามีความตื่นตาตื่นใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะมาเยี่ยมชมในช่วงที่ TCDC จัด THEME “Zoorigami” จากกระดาษรีไซเคิลสู่ผลงานรักษ์โลก ซึ่งเราจะเห็นชิ้นงานออกแบบที่ทำเป็นรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งแสดงอยู่ในแต่ละชั้น

 

                                                                                   

TCDC Bangkok  ปัจจุบัน อยู่ที่อาคารไปรษณีย์ไทย บางรัก มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 8,600 ตารางเมตร มีทั้งหมด 5 ชั้น และแยกเป็นโซนต่างๆ  ดังนี้ Read the rest of this entry »

ห้องสมุดคณะสถาปัตยกรรมศาตร์ จุฬาฯ แนวใหม่…โดนใจผู้เรียน
ธ.ค. 19th, 2019 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ในช่วงเวลานี้ บรรดาผู้ที่อยู่ในสายงานแวดวงของการศึกษา หากไม่มีการกล่าวถึง ห้องสมุดของคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เรา ๆ ท่าน ๆ ก็คงจะคุยกับใครหลาย ๆ คนไม่รู้เรื่อง?

ห้องสมุดแห่งนี้เป็นห้องสมุดที่ปรับโฉมใหม่ของทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของโลก ด้านการออกแบบในหมวดห้องสมุด (Library)  จากงาน  Best of Year Awards 2019 ซึ่งจัดโดย  Interior Design Magazine นิวยอร์ก ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 90 ล้านบาท จากการบริจาคของศิษย์เก่าอย่าง เสริมสิน สมะลาภา ซึ่งเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2562

ผู้เขียนเป็นอีกคนหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าไปเยี่ยมชม สถานที่แห่งนี้เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 62  ซึ่งได้รับการต้อนรับ จาก ผศ.ศุภวัฒน์ หิรัญธนวิวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยคณบดีกลุ่มบริหารกายภาพ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต้อนรับและสรุปที่มาของการรีโนเวตห้องสมุดให้ฟัง

Read the rest of this entry »

เก็บความจาก Knowledge Sharing : การเขียนโครงการ
พ.ย. 26th, 2019 by dussa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  หรือ Knowledge Sharing เพื่อตอบโจยท์ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย  ข้อที่ 6 บริหารจัดการมหาวิทยาลัยและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ พอเพียง ตามหลักธรรมาภิบาล ในมาตรการ ข้อที่ 2.5 สนับสนุนส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

ดังนั้น คณะกรรมการจัดการความรู้ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงมติเห็นว่า บุคลากรในหลายแผนกไม่มีความรู้ หรือความชำนาญในการเขียนโครงการ ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็น ควรเรียนรู้ไว้ และจำเป็นที่จะต้องเขียนโครงการให้เป็น จึงได้กำหนดหัวข้อการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  “การเขียนโครงการ” ในวันที่ 16, 30 ตุลาคม 2562 เวลา 13.00-15.30 ณ ห้องประชุม 212 ชั้น 2 อาคารบรรณสาร

ผู้เขียนได้เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว โดยสรุป องค์ความรู์จากวิทยากร คือ ผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ มีดังนี้

โครงการ  หมายถึง  การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ  ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน  และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงาน  การเขียนโครงการจึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการวางแผนที่จะทำให้องค์กรบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย โครงการที่ดำเนินการ ต้องมีความเชื่อมโยกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยุทธศาสตร์ของศูนย์บรรณสารสนเทศ แผนปฏิบัติงานของศูนย์บรรณสารสนเทศ ดังภาพ

 

ความพันธ์ที่เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย

ผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ มีดังนี้

  1. ผู้อนุมัติ
  2. ผู้ทำโครงการ
  3. กลุ่มเป้าหมาย
  4. ผู้ประเมิน

ความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำโครงการ

ในการอบรม การเขียนโครงการครั้งนี้ ยึดแนวทางปฎิบัติตามแบบฟอร์มที่ทางกองแผนและพัฒนา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  คือ แบบ 103  From-project-103    ซึ่งมีส่วนประกอบ ดังนี้ Read the rest of this entry »

การพัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

การพัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

การพัฒนามาตรฐานอาจารย์มืออาชีพ (นำเสนอโดยมหาวิทยาลัยศรีปทุม)  มหาวิทยาลัยศรีปทุม ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในการสนับสนุนให้อาจารย์พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการปรับปรุงกระบวนการพัฒนาอาจารย์ภายใน อาจารย์ได้รับการยอมรับความเป็นมืออาชีพ มหาวิทยาลัยมีอาจารย์ได้รับการยอมรับในระดับชาติ ด้านการสอน ส่งผลให้มียอดนักศึกษาเพิ่มขึ้น โดยการเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 อาจารย์  ที่ต้องการพัฒนาตนเอง มีพี่เลี้ยงหรือผู้แนะนำในเรื่องที่เรียนรู้ใหม่ ๆ
  • กลุ่มที่ 2 ลูกศิษย์ ต้องการอาจารย์ ต้องการอาจารย์สอนสนุกได้ความรู้ เข้าใจนักศึกษา ตอบคำถามได้ทุกคำถาม ตลอดเวลา ในทุกช่องทาง รวมถึงเป็นโค้ชที่สามารถให้คำปรึกษา และค้นหาศักยภาพในตัวนักศึกษา ส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสประสบความสำเร็จ
  • กลุ่มที่ 3 ผู้บริหารต้องการให้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ยกระดับคุณภาพอาจารย์ให้เป็นที่ยอมรับ การบริหารจัดการแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ มีเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร และสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ

Read the rest of this entry »

ชีวิตที่ลงตัวด้วยระบบ e-HR
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

ชีวิตที่ลงตัวด้วยระบบ e-HR เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

ชีวิตที่ลงตัวด้วยระบบ e-HR (นำเสนอโดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เกิดจากความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า เนื่องจากระบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์ในการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์กร  เป็นระบบใช้เพื่อบันทึกฐานข้อมูลเท่านั้น ไม่มีความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลร่วมกัน

ต้องใช้กระดาษในการ Print out เพื่อนำเสนอ   ไม่ลดขั้นตอนในการทำงาน  เป็นการสื่อสารทางเดียว ผู้บริหารและบุคลากรไม่สามารถเรียกดูข้อมูลได้เอง  หรือเรียกใช้ข้อมูลอย่างเร่งด่วนได้  จึงได้มีการจัดซื้อระบบ COACH เข้ามาและปรับปรุงให้เข้ากับการใช้งานของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักจากการพัฒนาระบบ เกิดความลงตัวของฟังก์ชั่นการทำงาน ดังนี้ Read the rest of this entry »

Lean กระบวนงานด้วยระบบ Template และ Checklist
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

Lean กระบวนงานด้วยระบบ Template และ Checklist  เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

Lean กระบวนงานด้วยระบบ Template และ Checklist (นำเสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) ฝ่ายนโยบายและแผน ศึกษาพบความสูญเปล่าในกระบวนการนำส่งผลดำเนินงานตัวชี้วัดระดับภาควิชา ซึ่งพบว่า มีความสูญเปล่าในเรื่อง Read the rest of this entry »

จาก KM สู่ Call Center อัจฉริยะ
ต.ค. 12th, 2019 by supaporn

จาก KM สู่ Call Center อัจฉริยะ เป็นการสรุปจากการเข้าร่วมฟังการประชุม Thailand Quality Conference & The 20th Symposium on TQM-Best Practices in Thailand จัดโดยมูลนิธิส่งเสริมทีคิวเอ็มประเทศไทย ณ ศูนย์ประชุมอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

ในแต่ละหัวข้อของการนำเสนอในการประชุมดังกล่าว ต้องมีแนวทางที่ผ่านกระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ ซึ่งประกอบด้วย 3 กลุ่ม กล่าวคือ

กระบวนการ TQM ตามแผนภูมิ

1. ให้ความสำคัญกับกระบวนการทำงาน และสร้างมาตรฐานที่นำไปสู่ความสำเร็จตามคาดหมาย

2. ให้ความสำคัญกับลูกค้า เข้าใจความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า

3. ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการสร้างคุณภาพ แก้ปัญหาที่สาเหตุ ป้องกันการเกิดซ้ำ ใช้ข้อมูลและวิธีการทางสถิติ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วย PDCA

จาก KM สู่ Call Center อัจฉริยะ (การประปานครหลวง) เป็นแนวทางที่เกิดจากปัญหาในการปฏิบัติงาน เนื่องจากพนักงานที่ทำหน้าที่ตอบคำถามไม่สามารถตอบปัญหาได้ทั้งหมด หรือตอบไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน หรือไม่มีความรู้ในเรื่องที่ถูกถาม ซึ่งเกิดจาก 3 ประเด็นหลักคือ คน ความรู้และทักษะ และแหล่งข้อมูล

การประปานครหลวง จึงได้มีการปรับปรุงกระบวนโดยการระบุองค์ความรู้ที่ขาด ค้นหาผู้รู้หรือแหล่งความรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดเก็บองค์ความรู้ที่ได้  มีการติดตามและประเมินผล จากกระบวนการที่มีการปรับปรุงใหม่ดังกล่าว ทำให้เกิดความพึงพอใจในระบบ Call Center เพิ่มขึ้นจากเดิม

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa