SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
ก.พ. 1st, 2018 by ladda

Acquisition module เป็น 1 ในอีกหลายโมดูล ที่ประกอบกันเป็นระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ แต่นับว่าเป็นโมดูลแรกเริ่มของการทำงานในห้องสมุด เพราะเป็นโมดูลเกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดหา และระบบการทำบัญชี งบประมาณของห้องสมุด สำหรับศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ใช้ระบบ WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นในการใช้งาน Acquisition module โดยมีขั้นตอนการทำงานประกอบด้วยส่วนของ Budgets โดยสามารถจัดสรรงบประมาณในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศให้กับคณะต่างๆ ที่มีอยู่ 14 คณะแยกเป็นหนังสือภาษาไทยและหนังสือภาษาอังกฤษดังรูป

รูปที่ 1. แสดงตัวอย่างบางส่วนของงบประมาณคณะ

Read the rest of this entry »

หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์ (Online Thai Subject Headings)
ม.ค. 27th, 2018 by yuphin

หัวเรื่อง (subject heading) มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อรวบรวมวัสดุสารสนเทศที่มีเนื้อหาในเรื่องเดียวกันมาอยู่ด้วยกันภายใต้คำหรือวลีเดียวกัน เป็นวิธีการจัดเก็บและควบคุมสารสนเทศอีกวิธีหนึ่งที่จะให้ความสะดวกในการค้นหาทรัพยากรสารสนเทศและข้อมูลทางบรรณานุกรมได้ตามความต้องการและช่วยให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงสารสนเทศของห้องสมุด

หัวเรื่องที่บรรณารักษ์แผนกวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ จะกำหนดหัวเรื่องโดยมีคู่มือหัวเรื่องที่มีการจัดทำออกมาอย่างเป็นมาตรฐาน ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ หรือเป็นคู่มือการกำหนดหัวเรื่องเฉพาะสาขาวิชา สำหรับคู่มือการกำหนดหัวเรื่องที่รู้จักกันดีและเป็นมาตรฐานในการที่บรรณารักษ์ใช้เป็นคู่มือในการกำหนดหัวเรื่อง เช่น Library of Congress Subject Headings ของ Library of Congress

ปัจจุบันสามารถมีเป็นไฟล์หัวเรื่อง ติดตาม   ได้ที่ https://www.loc.gov/aba/publications/FreeLCSH/freelcsh.html  ซึ่งใช้กำหนดหัวเรื่องสำหรับทรัพยากรสารสนเทศภาษาอังกฤษ  หรือ คู่มือกำหนดหัวเรื่องทางการแพทย์ (Medical Subject Headings)  ส่วนการกำหนดหัวเรื่องทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทย เช่น หัวเรื่องสำหรับการลงรายการหนังสือภาษาไทย ของคณะทำงานกลุ่มวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งปัจจุบันมีเวอร์ชั่นออนไลน์เพื่อให้บริการจัดเก็บและสืบค้นผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ได้จากที่ต่างๆ สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น สามารถเข้าถึงได้ที่ https://webhost2.car.chula.ac.th/thaiccweb/main.php

เว็บไซต์หัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์

ขั้นตอนการเข้าสู่ระบบ

พิมพ์ชื่อผู้ใช้ :  visitor

รหัสผ่าน : 123

Verify code : (ใส่ code ที่ระบบให้มา ในการเข้าสู่ระบบแต่ละครั้ง number code จะเปลี่ยนไป)

การใช้หัวเรื่องออนไลน์เพื่อตรวจสอบคำค้นนั้น โดยผู้ใช้พิมพ์คำค้นที่ต้องการลงไปในช่องการสืบค้นข้อมูลและคลิกค้นหา เช่น ต้องการค้นหาหัวเรื่อง กฎหมาย ว่ามีการกำหนดใช้หรือไม่  สามารถพิมพ์คำว่า กฎหมาย

02

ตัวอย่างการตรวจสอบคำค้นกฎหมายที่ฐานข้อมูลหัวเรื่องภาษาไทยออนไลน์จะปรากฎหัวเรื่องที่เป็นภาษาไทย-ภาษาอังกฤษ เข้าไปทดลองใช้กันดูนะคะ

03

 

 

 

“หนักมั้ย?” กับสัมภาระที่แบกอยู่
ม.ค. 20th, 2018 by ปัญญา วงศ์จันทร์

ตู้ล็อกเกอร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติเป็นห้องสมุดที่ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ อีกมากมายและยังมีบริการเสริมด้านอื่น ๆ เช่น บริการยืมปลั๊กไฟ บริการถุงผ้าสำหรับใส่หนังสือ บริการหมากฮอส หมากรุก หมากล้อม ห้องสมุดได้เพิ่มการบริการอีกรูปแบบหนึ่งนั้นคือ บริการรับฝากของซึ่งเป็นหนึ่งบริการที่จะอำนวยความสะดวกกับผู้ใช้บริการโดยจัดหาตู้ล็อกเกอร์จัดเตรียมไว้ให้ ณ บริเวณห้องโถงกลาง ชั้น 1

Read the rest of this entry »

วิธีการค้นหารหัสวิชาและรายวิชาในคู่มือการศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว
ม.ค. 16th, 2018 by uthairath

คู่มือนักศึกษา เป็นสิ่งที่นักศึกษาควรทราบ ภายในเล่มนี้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยฯ และรายละเอียดต่างๆ เช่น

1. สารสนเทศทั่วไป  ได้แก่ สัญลักษณ์ ต้นไม้ และสี ประจำมหาวิทยาลัย ปณิธาน วัตถุประสงค์ ประวัติของมหาวิทยาลัยและรายละเอียดต่างๆ เป็นต้น

2. ระเบียบและประกาศ

3.หมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชาโท และหมวดวิชาเลือกเสรี

4.หลักสูตรปริญญาตรี เพื่อที่นักศึกษาจะได้ทำความเข้าใจตลอดระยะเวลา 4 ปีนี้

รหัสวิชาและรายวิชานั้นมีความสำคัญและสอดคล้องกับหลักสูตรที่ทำการเปิดสอนในแต่ละสาขาวิชานั้นๆ  และยังใช้เป็นแนวทางในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ เช่น หนังสือชื่อ Peripheral nerve entrapments : clinical diagnosis and management ใช้ประกอบวิชา PT3433  กายภาพบำบัดระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 1 เป็นต้น ผู้เขียน ปฏิบัติหน้าที่ในงานจัดหา และมีหน้าที่ในการรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศในแต่ละสาขาวิชา จึงจำเป็นต้องค้นหารหัสวิชาเหล่านี้เพื่อประกอบการปฏิบัติงาน จึงขอนำเสนอวิธีการค้นหารหัสวิชาและรายวิชาในคู่มือการศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติง่ายๆ เพียงปลายนิ้ว Read the rest of this entry »

OCLC APRC17 Hello! I’m the Smarter Library
ม.ค. 8th, 2018 by supaporn

จากการเข้าร่วมประชุม OCLC APRC17   ในหัวข้อเรื่อง Hello! I’m the Smarter Library และศึกษาดูงาน ณ Waseda University Library และ National Diet Library  ระหว่างวันที่ 28 พฤศจิกายน จนถึงวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ 2560 รวมระยะเวลา 4 วัน  จัดโดย OCLC Asia Pacific Regional Council สามารถสรุปรายงานที่ได้รับจากการเข้าประชุมและศึกษาดูงาน ดังนี้

ประเด็นทางกายภาพและการเข้าถึงสารสนเทศ

1. การวางแผนและการออกแบบห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ที่มีลักษณะ Smart Library ควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ Intelligent, Attractive, Comfortable และ Reliable (เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นประสบกับภัยพิบัติ เช่น แผ่นดินไหวอยู่เสมอ การออกแบบห้องสมุดเพื่อให้ผู้ใช้บริการเกิดความมั่นใจในการใช้บริการ) ห้องสมุดจะเป็นสถานที่ที่ทำให้เกิดการสื่อสารและการต่อยอดทางความคิด ด้วยความหลากหลายของสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดแกลอรี่ และพื้นที่โล่ง

2. การรู้จัก Design customer journey เพื่อให้ผู้ใช้ห้องสมุดมีช่องทางในการใช้ทั้งทางออนไลน์และออฟไลน์

3. การบริหารจัดการ การปรับปรุงพื้นที่เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้ใช้บริการ กรณีศึกษาของ Hong Kong Polytechnic University นำเสนอ i-Space โดย I ย่อมาจาก Inspiration, Ideation และ Implementation ทางห้องสมุดจึงปรับปรุงพื้นที่ เพื่อให้เกิด Inspiration ในการเรียนรู้ และต่อยอดทางความคิดได้ และกรณีของ University of NSW, Australia ที่สำรวจความต้องการใช้พื้นที่ของนักศึกษา ได้รับคำตอบหลักๆ ที่ได้รับกลับมา ได้แก่ Read the rest of this entry »

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด)
ธ.ค. 25th, 2017 by supaporn

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด) โดย Ms. Liang Shuang  จาก  ISEAS Library, Singapore  ในการเสวนาเรื่อง Information Services for Research in the Age of No Boundaries : บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุคไร้พรมแดน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 8.30-16.30 น. ห้องประชุม 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการ Collection ทางด้านรัฐศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองในภูมิภาคนี้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจ คือ Private Collection ที่มีนักวิจัยบริจาค เป็น collection ที่มีหลากหลายภาษามาก อังกฤษ ไทย เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ใน Southeast Asia และยังมีภาษาย่อยๆ ลงไปอีก ซึ่งเป็นการยากในการจัดการ Collection เดิมปิด Collection แต่ต่อมาเปิดโดยเก็บค่ามัดจำ  ยืมได้ และเปิดหมด ยืมได้ ไม่มีค่ามัดจำ แต่ต้องเป็นประชากรของสิงคโปร์ และขยายการยืมเป็นจำนวน 100 เล่ม เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการพยายามส่งเสริมให้มีการคนมาใช้มากขึ้น  มีการจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. การจัดการเรื่องพื้นที่ โดย
    1.1 ทำแกลอรี่ ของ Collection เด่น
    1.2 ทำ Research Lounge มีสถานที่ศึกษา เฟอร์นิเจอร์นั่งสบาย มุมกาแฟ เพื่อใช้ในการปรึกษา อภิปรายงานวิจัย
    1.3 ทำพื้นที่ให้เป็นสถานที่ถ่ายทำ หรือให้สัมภาษณ์ (Media Interview)
    1.4 ทำ Borrowed space โดยการนำหนังสือไปให้ยืมในสถานที่มีการจัดงาน เช่น สัมมนา
  1. การจัดการ Collection โดยให้นักวิจัยเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหา Private Collection โดยการจัดเก็บงานวิจัยประเภทต่างๆ หลากหลายรูปแบบของนักวิจัย
  2. การเข้าถึง โดยการปฐมนิเทศนักวิจัย/ผู้ใช้ ที่สามารถทำได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากนักวิจัยไม่มากนัก สามารถทำได้แบบตัวต่อตัว ในการปฐมนิเทศ มีจุดเด่น คือ มีการทำ check list เรื่องที่นักวิจัยควรจะทราบและบรรณารักษ์มีแนวทางในการให้ความรู้อย่างครบถ้วน การจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำ info alert ทั้งที่เป็น article alert, news alert เป็นต้น
  3. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

จากการฟังประสบการณ์ของ Ms. Liang Shuang เห็นว่า ใน ISEAS Library มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักวิจัย ตั้งแต่การให้ความรู้ หรือการปฐมนิเทศ การใช้บริการ การให้บริการระหว่างการวิจัย และการขอผลงานนักวิจัย ในการมาจัดทำเป็น Private Collection ซึ่งได้มีการสอบถามถึง การดำเนินการ Private Collection ที่มีการดำเนินการถึงการวิเคราะห์เนื้อหาของผลงาน และเพื่อจะนำไปสู่ state of the art ของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่ปรากฏว่า เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องภาษาของงานวิจัย จึงทำได้แต่เพียงจัดหมวดหมู่ การจัดเอกสาร เป็นต้น ยังไม่ได้สามารถทำได้ถึงขนาดการวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย และเพื่อนำการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
ธ.ค. 13th, 2017 by navapat

ภาพ 1

ระบบห้องสมุด  WorldShare  Management Services (WMS) ซึ่งพัฒนาโดย Online Computer Library Center (OCLC) เป็นระบบที่ประกอบด้วยข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศจากห้องสมุดประมาณ 7,200 แห่ง จาก 149 ประเทศทั่วโลก ซึ่งศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ตั้งแต่การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ  การจัดเก็บด้วยการลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศ การสืบค้นผ่านระบบการสืบค้นที่มีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก  และด้วยความที่เป็นแหล่งทรัพยากรสารสนเทศที่เปิดให้บริการแก่ห้องสมุดที่เป็นสมาชิกขอใช้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการได้ ผ่านบริการ WorldShareILL หรือ WorldShare Interlibrary Loan เพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับอาจารย์ นักศึกษาและบุคลากร ในการใช้ทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน การศึกษา การทำวิจัย และการสนับสนุนการปฏิบัติงาน ซึ่งมีขั้นตอนในการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศและแจ้งการขอใช้บริการ ดังนี้

วิธีการเข้าใช้ระบบการยืมระหว่างห้องสมุด (WorldShare ILL)

1. สืบค้นทรัพยากรสารสนเทศที่ต้องการที่ https://hcu.on.worldcat.org/discovery

หน้าจอการสืบค้น

หน้าจอการสืบค้น

2.  พิมพ์คำค้นที่กล่องคำค้น กด enter หรือคลิก  ภาพ 3

ตัวอย่าง พิมพ์คำค้น “ค้ามนุษย์”  ผลการสืบค้น พบว่ามีหนังสือตามคำค้น จำนวน 3 รายการ ดังนี้

 

ผลการสืบค้น

ผลการสืบค้น

3. พิจารณารายการหนังสือที่ต้องการใช้ เช่น  ต้องการอ่านหนังสือรายการที่ 1 ให้คลิกที่ชื่อหนังสือ จะเห็นว่าเป็นรายการหนังสือของห้องสมุดในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ILL-3

คลิกเลือกรายการที่ 1

4. ขอใช้บริการโดยการส่งคำขอ (Request)  มายังศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการยืมระหว่างห้องสมุด  โดยคลิกที่  Request Item through InterLibrary Loan หน้าจอจะปรากฏแบบฟอร์ม ให้กรอกข้อมูลในกล่องที่มีเครื่องหมาย  *  ให้ครบ ได้แก่

1.   ประเภทของเอกสารที่ต้องการ (Service Type)
2.   เวลาที่ต้องการรับเอกสาร
3.   ชื่อ นามสกุล อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ ที่สามารถติดต่อได้
4.   กด Submit

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

หน้าจอการกรอกแบบฟอร์มเพื่อการยืมระหว่างห้องสมุด

 

หลังกด Submit แล้ว Request นี้ จะถูกส่งไปยังเจ้าหน้าที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อดำเนินการต่อไป

*** สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกบริการสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ภายใน  1472, 1473

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design)
ธ.ค. 3rd, 2017 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้

เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก
Read the rest of this entry »

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
พ.ย. 5th, 2017 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาใช้ และเริ่มใช้ระบบยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

การให้บริการยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วๆ ไป ที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการยืม และคืนให้ในระบบ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมิได้นำเครื่องยืม คืน ด้วยตนเองมาใช้ เมื่อมีการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้ว โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ใช้อาจจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ให้ยืม ตามสิทธิ์  กรณีนี้ ผู้ใช้สามารถมาต่ออายุการยืม ด้วยตนเองที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือผู้ใช้สามารถต่ออายุการยืม ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ ห้องสมุดหรือศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  lib.hcu.ac.th จะเห็นรูปหน้าจอการค้น คือ WorldCat Discovery (WCD) หรือ OPAC ที่เราคุ้นเค้ย

Capture1
2. คลิกที่ลูกศร จากไอคอน Read the rest of this entry »

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ต.ค. 29th, 2017 by supaporn

ตอนนี้ ขอเปลี่ยนชื่อ จากทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS มาเป็นชื่อที่เกี่ยวข้องในแต่ละกระบวนการ นะคะ เพราะเลยช่วงการตัดสินใจเลือกมาแล้ว

บทความนี้ เป็นเรื่องของการทำสัญญา (Agreement) ห้องสมุดจะคุ้นเคยกับการอ่าน agreement เหล่านี้ เป็นอย่างดี จากการบอกรับฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นเรื่องของการมีสิทธิ์ ไม่มีสิทธิ์ ในการทำอะไรกับฐานข้อมูล การหมดอายุการบอกรับ เป็นต้น สัญญาของการซื้อระบบ WMS ก็เช่นเดียวกัน โดยรวมจะคล้ายอยู่บ้าง แต่ก็จะมีส่วนที่นอกเหนือจากสัญญาของฐานข้อมูลออนไลน์ อยู่มากหลายข้อ

ในเรื่องของสัญญา โดยส่วนตัวผู้เขียน มักจะเสนอหรือกล่าวกับห้องสมุดหลายๆ แห่งว่า ในส่วนของการทำสัญญานั้น ควรจะมีนักกฎหมายเข้ามาช่วยพิจารณาด้วย เพราะในสัญญา จะมีข้อความที่เป็นในเรื่องทางกฎหมาย บรรณารักษ์อย่างพวกเรา อ่านแล้วอาจจะไม่เข้าใจ หรือพอจะเข้าใจบ้างตามการแปล แต่ในบริบทของตัวบทกฎหมายนั้น เราอาจจะไม่ทราบถึงเหตุและผลที่จะตามก็ได้ค่ะ

ดังนั้น การจะลงนามในสัญญา ทางมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ดำเนินการในลักษณะนี้ ตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  1. งานกฎหมายและผลประโยชน์ ของมหาวิทยาลัย ทำหน้าที่พิจารณาโดยรวมของสัญญา
  2. กองพัสดุ ทำหน้าที่พิจารณาสัญญา ในส่วนหน้าที่ของการจัดซื้อ จัดจ้าง (มีการแปลสัญญาโดยคณะศิลปศาสตร์ เพื่อช่วยให้มีความเข้าใจอย่างถูกต้อง)
  3. ศูนย์บรรณสารสนเทศ เนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ต้องใช้ระบบ จำเป็นต้องศึกษาสัญญาอย่างละเอียด สอบถามกลับไปทางบริษัท AMS และ OCLC ถ้ามีข้อสงสัย เพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อน ไม่ควรปล่อยผ่านค่ะ เพราะเป็นผลประโยชน์ของเราเอง มีหลายประเด็นที่ต้องสอบถามบุคคลจากหลายกลุ่ม เช่น ทางไอที เนื่องจาก มีการระบุถึงระบบล่ม จะสามาถกู้คืนระบบมาได้ภายใน … และกู้คืนได้ 99.98 % เป็นต้น เราก็ควรจะฉุกใจคิดว่า ทำไม่ไม่สามารถกู้คืนมาได้ 100% ก็ต้องมีการปรึกษาผู้รู้ จนเข้าใจ ดั่งนี้ เป็นต้น การนำข้อมูลของห้องสมุดคืนกลับมาหรือออกมา เมื่อเกิดกรณีเลิกใช้ระบบ เหล่านี้ จะถูกระบุอยู่ในสัญญาทั้งสิ้น

โดยสรุปก่อนจะเสนอผู้บริหารระดับสูง ลงนาม (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละแห่ง) ผู้เขียน ต้องสรุปโดยรวม ว่ามีประเด็นหรือไม่มีประเด็นใด ที่ต้องพิจาณาเป็นพิเศษ เพื่อเป็นข้อมูลในเบื้องต้นให้ผู้บริหารระดับสูง รับทราบและพิจารณาก่อนลงนาม

กระบวนการนี้ ใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากต้องศึกษากันอย่างละเอียด นิติกร ก็จะเสนอประเด็นมาทางห้องสมุด ให้ประสานทำความเข้าใจ กับข้อความที่สัญญาระบุ กับทาง OCLC ทางศูนย์บรรณสารสนเทศ ก็จะมีประเด็นในการสอบถาม เช่นกัน และจะมีการระบุการชำระเงินด้วย สามารถเจรจาแบ่งจ่ายเงินเป็นงวดๆ ได้ค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa