SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา
กรกฎาคม 14th, 2017 by piyanuch

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ  ให้ความสำคัญของการเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางการทำงานห้องสมุด เพื่อวางแผน พัฒนา ปรับปรุงการให้บริการห้องสมุด มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของห้องสมุด

เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา

สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 1 ถึง รอบปีที่ 5 ดังนี้

  1. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  2. สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  3. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  4. ห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  5. สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  6. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  7. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

MOU1

ข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา

ด้วยเจตนารมณ์ความร่วมมือของเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา มีระยะเวลาความร่วมมือ 2 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559 ถึงวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2561 ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. ห้องสมุดทุกแห่งจะร่วมกันเป็นเครือข่ายความร่วมมือด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของห้องสมุด
  2. ห้องสมุดทุกแห่งจะร่วมมือกันจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
  3. ห้องสมุดทุกแห่งจะติดตามประเมินผลการสร้างเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
  4. ดำเนินกิจกรรมอื่นๆ ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

แนวทางการดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา

การดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือฯ ด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบปีที่ 5 มีการกำหนดแผนการประชุมของ  2 กลุ่มงาน ซึ่งได้แก่ กลุ่มผู้บริหารและคณะทำงาน และกลุ่มคณะทำงาน ซึ่งจะมีการประชุม 4 เดือน/ครั้ง  โดยมีแผนงานและกิจกรรมที่ดำเนินการร่วมกันของเครือข่ายฯ ในรอบปีที่ 5 ดังนี้

  1. การศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการของห้องสมุด
  2. การศึกษาความไม่พึงพอใจต่อการให้บริการของห้องสมุด
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลตามตัวบ่งชี้คุณภาพห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ข่ายงานมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค(PULINET)
  4. การวิเคราะห์มาตรฐานห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2544 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
  5. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้/กิจกรรมการอบรมให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ
  6. การเข้าใช้ห้องสมุดร่วมกัน
  7. กิจกรรมความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
  8. อื่นๆ เช่น สมาชิกสถาบันที่เข้าร่วม (เพิ่มเติม) รอบปี

ประโยชน์จากการร่วมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา

ในฐานะที่เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุมในส่วนของคณะทำงาน เห็นว่า ในส่วนของผู้ใช้บริการ นั้น การร่วมเครือข่ายดังกล่าว เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของแต่ละแห่งสามารถเข้าใช้บริการห้องสมุดเครือข่ายร่วมกัน เพื่อเป็นประโยชน์ในด้านการศึกษา การค้นคว้าและการวิจัย โดยไม่ต้องค่าธรรมเนียมการเข้าใช้ห้องสมุด สมาชิกในเครือข่าย ได้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่/บุคลากร  แสดงบัตรประจำตัวก่อนการเข้าใช้บริการทุกครั้ง และปฏิบัติตามระเบียบการใช้บริการของห้องสมุดที่เข้าใช้บริการ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการการใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน ซึ่งช่วยให้ห้องสมุดแต่ละแห่งสามารถประหยัดงบประมาณในการจัดทรัพยากรสารสนเทศได้ด้วย และประการสำคัญผู้ใช้บริการได้รับการให้บริการที่มีคุณภาพที่ห้องสมุดแต่ละสถาบันพยายามดำเนินการอย่างมีคุณภาพ ทั้งในส่วนของการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ การปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ การให้บริการที่มีคุณภาพ เพราะผู้ใช้ คือ คนสำคัญของห้องสมุด

ส่วนของคณะทำงานที่เข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา ได้ประโยชน์ ดังนี้

  1. ได้แนวคิดและมุมมองในการทำงานร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด
  2. ได้เรียนรู้วิธีการ การจัดการทรัพยากรสารสนเทศ การวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศและงานบริการในห้องสมุด
  3. ได้เรียนรู้จากแต่ละสถาบันที่มีการจัดกิจกรรม การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดทุกรูปแบบ เพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้บริการ
  4. ได้เรียนรู้ว่า บุคลากรห้องสมุดต้องพัฒนาตนเองตลอดเวลาและทุกรูปแบบ
  5. ได้เรียนรู้ถึงการนำเทคโนโลยีสารสนเทศใหม่ๆ เข้ามาช่วยพัฒนาห้องสมุดและบุคลากรต้องเรียนรู้และพัฒนาตนเองตลอดเวลา เพื่อรองรับการให้บริการในอนาคต
  6. ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทราบวิธีปฏิบัติที่ดีและสามารถนำมาปรับใช้หน่วยงานของตนเองได้

Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa