SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2
ตุลาคม 7th, 2017 by supaporn

บทความตอนที่แล้ว ได้เขียนนำความถึงแนวทางในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ผู้พิจารณาเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาในประเทศไทย ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นผู้บุกเบิกและมีผู้เห็นด้วยในการเลือกซื้อระบบเดียวกันนี้ อีกหลายแห่ง แนวทางนี้ไม่ล้าสมัยเลย ผู้เขียนได้ยึดแนวทางนี้มาเป็นตัวตั้งต้น เช่นเดียวกัน

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

บวกกับต้องพิจารณาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาอีก 24 ปี นับจากปี พ.ศ. 2536 เพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวผ่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับห้องสมุดเป็นอย่างมาก เช่น Web 2.0, Mobile Technology และ Cloud Computing เป็นจุดเปลี่ยนจากเดิมที่ห้องสมุด ทำหน้าที่เป็น pull model คือ acquire / store / lend / find กลายเป็น push model คือ acquire / store / broadcast / converse และยิ่งมาถึงยุค mobile technology ด้วยแล้ว การเข้าถึงสารสนเทศเข้าได้ง่าย เหมือนกับมีถนนทางเข้า มีถนนให้รถวิ่ง แต่รถวิ่งเข้ามาแล้ว พบอะไร ในห้องสมุดหรือไม่ เมื่อ Cloud technology เริ่มเข้ามามีบทบาทในการให้บริการมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นประเด็นที่ทำให้เริ่มจับตามองบริการผ่าน cloud มากขึ้น

สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรละเลย คือ การศึกษาวรรณกรรมต่างๆ มีบทความที่เขียนถึงพัฒนาการของระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการ หรือ Integrated Library System (ILS) นั้น เปลี่ยนโฉมไปเป็น Library Service Platform (LSP) ด้วยเทคโนโลยี Cloud Computing เข้ามาทำให้บริษัทผู้พัฒนา สามารถใช้เทคโนโลยีนี้ในการขายบริการทรัพยากรเหล่านี้ได้ มีการใช้คำว่า LSP หรือ Library Services Platforms ขึ้น  ตัวอย่างบทความที่นำเสนอเรื่องดังกล่าว

จากนั้นก็นำระบบต่างๆ ที่มีทั้ง ILS และ LSP มาเปรียบเทียบกัน

 

การเปรียบเทียบระบบ (1)

การเปรียบเทียบระบบ (1)

 

การเปรียบเทียบระบบ (2)

การเปรียบเทียบระบบ (2)

การเปรียบเทียบระบบ (3)

การเปรียบเทียบระบบ (3)

จะเห็นได้ว่า ระบบห้องสมุดทุกตัวทำหน้าที่รองรับการเป็น ILS ได้หมด แตกต่างและมีศักยภาพที่ดี แตกต่างกันไป แต่จะมี 2 ระบบที่มีลักษณะของการเป็น LSP จึงมีตัวเลือกที่ให้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

ลักษณะของ LSP

ลักษณะของ LSP

ลักษณะของ LSP

ดังนั้นในบริบทของมหาวิทยาลัยหัวเฉียว ที่จะต้องตัดสินใจพิจารณาเลือกระบบห้องสมุดใหม่ นั้น จึงมีประเด็นที่นำเป็นตัวสรุปในการเลือก ก็คือ

  • ความต้องการของผู้ใช้เปลี่ยน
  • Collection เปลี่ยน
  • ไม่ต้องมี admin
  • บุคลากรน้อย มีฟังก์ชั่นในการทำงานที่เอื้อประโยชน์
  • ไม่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ แต่ข้อมูลปลอดภัย มี backup อยู่หลายๆ ที่ และมีมาตรฐาน ISO 27001
    การนำข้อมูลกลับคืน (ถ้าจะเลิกใช้)
  • มีการใช้ทรัพยากรด้วยเทคโนโลยี Cloud computing อยู่ใน Module ต่างๆ ของระบบ
  • ระบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • ลดค่าใช้จ่าย และประหยัดเวลา (ในระยะยาว)
  • มีการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรระหว่างสมาชิกด้วยกัน

เมื่อตัดสินใจเลือกได้แล้วว่า จะใช้ระบบ WMS สิ่งที่ตามมาคือ การต่อรองราคา

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa