SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ตุลาคม 28th, 2017 by supaporn

เมื่อผู้บริหาร ตัดสินใจเลือก ระบบ WMS เพราะพิจารณาคุณลักษณะหลายๆ อย่างแล้ว รวมทั้งราคา สิ่งที่ควรจะทำเป็นขั้นตอนต่อไป ก็คือ ราคาที่จะซื้อนั้น จะลดลงจากเดิมได้หรือไม่ เหมือนกับการซื้อขายสินค้าทั่วๆ ไป เพราะคนซื้อก็อยากได้ของดี ราคาถูก แต่เป็นสัจธรรม คุณภาพตามราคา

คุณลักษณะ คุณสมบัติตรงกับที่ต้องการ (หรือมากกว่าที่คาดหวังไว้) ประโยชน์ในการใช้งาน (คุ้มแน่) มีข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หรือมีข้อด้อยที่ยอมรับได้ หรือ น้อย หรือ ไม่มี แต่ทุกอย่างไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ หรือ Nothing is perfect คงต้องมีบางอย่างที่อาจจะพบที่อาจจะไม่ได้ดังใจของเราทุกอย่าง แต่ที่เห็นว่า ระบบ WMS เป็นระบบที่น่าสนใจมากๆ ก็คือ

  1. องค์กรที่เป็นหน่วยงานดำเนินการ คือ OCLC ด้วยความมีชื่อเสียงมาช้านานมากแล้ว ในเรื่องเกี่ยวกับข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยาการสารสนเทศ บรรณารักษ์รุ่นใหม่ อาจจะต้องศึกษาหาความรู้กันนิดนึงว่า OCLC มีความแข็งแกร่งในด้านนี้มากเพียงไร
  2. การพัฒนาของ OCLC มีด้านต่างๆ มีความน่าสนใจ เป็นอย่างยิ่ง ประเด็นนี้ ผู้เขียนไม่ทราบว่า บรรณารักษ์ หรือผู้อำนวยการห้องสมุด อื่นๆ เห็นด้วยหรือมีการศึกษาลึกซึ้งแค่ไหน แต่โดยส่วนตัวแล้ว สนใจและพยายามจะติดตามพัฒนาการของ OCLC ในการวิจัย ศึกษาและเล่นข้อมูลทางบรรณานุกรมไปในทิศทางใด OCLC เป็นหน่วยงานแรกที่มุ่งเรื่องการแบ่งปันทรัพยากรสารสนเทศ โดยการรวมข้อมูลทางบรรณานุกรม หรือ สหบรรณานุกรม หรือ Union Catalog ทางออนไลน์ และโยงไปถึงการยืมระหว่างห้องสมุด (Interlibrary Loan – ILL)
    ในสมัยปัจจุบันที่มีเทคโนโลยี linked data ยิ่งทำให้ข้อมูลที่ OCLC เชิญชวนให้ห้องสมุดเข้ามาเป็นสมาชิก ซึ่งนับวันจะมีจำนวนมหาศาล สามารถที่จะเชื่อมโยงกันได้มากขึ้น และด้วยความที่เทคโนโลยีแบบคลาวด์ เข้ามา ทำให้เป็นการเปิดโอกาสให้แนวความคิดเหล่านี้ สามารถทำได้มากขึ้น จากผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด สามารถที่จะติดต่อกับสำนักพิมพ์ในการสั่งซื้อทรัพยากรสารสนเทศ หรือบอกรับเป็นสมาชิกจากร้านค้า สำนักพิมพ์ที่เข้ามาร่วมด้วย
  3. OCLC เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือจากห้องสมุด หรือองค์กรทั่วโลกที่จะร่วมทำงานด้วย นับวันจะมีจำนวนห้องสมุดที่ใช้ผลิตภัณฑ์ของ OCLC มากขึ้น ไม่น่าเชื่อว่า จะมีการปลดล็อก เรื่อง การใช้ฐานข้อมูลที่ต้องผ่าน VPN หรือ proxy ที่เพิ่มภาระให้กับผู้ใช้งานในการต้องติดตั้ง และมักจะสร้างความหงุดหงิดให้กับผู้ใช้ที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคอมพิวเตอร์มากนัก เกิดเป็น EZproxy  แต่คงเป็นเรื่องของ Business Model ของ OCLC ที่สามารถทำให้การเข้าใช้งานฐานข้อมูลออนไลน์เหล่านี้ สะดวก และง่าย สมชื่อ
  4. ความเป็น WorldCat ทำให้ห้องสมุดส่งข้อมูลทางบรรณานุกรมของทรัพยากรสารสนเทศขึ้นระบบและเห็นกันได้ทั่วโลก เพราะไม่เป็นแบบนั้น เราจะไม่ทราบเลยว่า ที่ไหนในโลกมีอะไรบ้าง ต้องไล่หาไปเรื่อย ๆ ด้วยการพัฒนา Single search ออกมาเพื่อให้ค้นหาได้ทุกๆ อย่างที่มี แต่เบื้องหลัง คงไม่ง่ายนัก เพราะถ้าติดตามอ่านๆ แล้ว จะยิ่งว่า มีการผูกหรือเชื่อมโยง หลายๆ อย่างของ Metadata ด้วยกันเยอะมาก
  5. ความเป็นระบบใหม่ที่น่าค้นหา และทดลอง คงอธิบายได้ยากว่า ทำไมต้องค้นหา หรือทดลอง ก็น่าจะได้ใช้ระบบที่สมบูรณ์พร้อมให้ใช้งานมิใช่หรือ ข้อนี้ คงต้องแล้วแต่ละบุคคล หรือแต่ละองค์กร แต่ถ้าเป็นผู้บริหารลงมา explore เองจะเห็นว่าระบบทำอะไรได้มากมาย แต่การใช้งานจริง ไม่ได้ใช้งาน เพราะในตอนแรก การศึกษา การใช้งาน อาจจะยุ่งยาก อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความเบื่อหน่าย ท้อ และสุดท้าย สรุปใช้งานแค่แบบนี้ หรือง่ายๆ ดีกว่า ทั้งๆ ที่ระบบ powerful มาก เกิดขึ้นมาแล้วกับระบบเชิงพาณิชย์ที่ใช้กันอยู่

ไปๆ มาๆ ยังไม่ถึงการต่อรองราคา ขอผลัดไปตอนหน้า นะคะ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก 

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมา

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa