เมื่อครั้งเริ่มเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงในการพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีการหยุดชะงักของระบบเป็นหลายช่วง และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คนก่อนได้ศึกษาไปบ้างแล้ว แต่ข้อมูลหลายอย่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ จึงได้มีการมอบหมายให้ศึกษาใหม่อีกครั้ง
การพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่กล่าวถึงพัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ควรจะเป็นแบบใด และนำมารวมกับประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศมานานถึง 18 ปี และคุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ประสบการณ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่การรับทราบปัจจัยในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหาร เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำได้ว่า ผู้อำนวยการในขณะนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (และเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะนี้) ได้เริ่มต้นศึกษา และมีการไปศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติในหลายประเทศ พร้อมกับให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางไปห้องสมุดต่างประเทศ เพื่อศึกษาการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ สรุปสุดท้าย เมื่อพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมในขณะนั้นแล้ว การเป็นผู้บุกเบิกระบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในห้องสมุด ล้วนต้องประสบกับการไม่รู้ เพราะไม่มีใครในประเทศไทยรู้เรื่องเหล่านี้ มาก่อน บรรณารักษ์รุ่นเด็กอย่างผู้เขียน ยังไม่หนักมากเท่าบรรณารักษ์รุ่นพี่ ที่ต้องพยายามผลักดันให้เกิดระบบและใช้งานจนได้
การนำระบบที่พัฒนาโดยบริษัทต่างประเทศ ไม่มีตัวแทนในประเทศไทย ย่อมเป็นเรื่องที่หนักหนาอยู่มาก การเจรจา การทำสัญญา (ในส่วนนี้ ไม่เคยได้เข้าไปมีส่วนร่วมแต่อย่างใด ต้องมาดูแลเองทั้งหมดในที่เลือกระบบให้กับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ) การนำข้อมูลเข้าระบบ การศึกษาข้อมูล การลงมือทำงานจริง การโต้ตอบเมื่อมีปัญหา การถูกปรับเปลี่ยนระบบงาน คน เพื่อให้เหมาะสม การฝึกอบรมการใช้ระบบในโมดูลต่างๆ การสอนเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้เข้าใจตั้งแต่การต้องนำระบบมาใช้ ให้ลดความกลัว ฯลฯ ยังจำได้ว่า บรรณารักษ์อย่างพวกเราๆ ต้องมานั่งตีความ คำ และ ความหมาย ที่ผู้พัฒนาระบบใช้ เช่น คำว่า Bibliographic record และ item record แม้เป็นคำง่ายๆ แต่ด้วยความที่เป็นเรื่องใหม่มาก และพวกเราก็ถูกสอนให้เริ่มบันทึกเรื่องราว ความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นผู้บุกเบิก หรือเป็นผู้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติเป็นแห่งแรกในประเทศไทย และเป็นจุดกำเนิดที่ทำให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาอีกนับ 10 แห่ง พิจารณาใช้ระบบห้องสมุดอัตโนมัติตามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่นั้นมา
หนังสือ เรื่อง ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ : แนวคิดและประสบการณ์
รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ได้เขียนบันทึกถึงเหตุผลในการเลือกซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ในหนังสือ “ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ : แนวคิดและประสบการณ์” ที่ใช้ในเกณฑ์ในการพิจารณาคัดเลือก ระบบเมื่อปี พ.ศ. 2536 ไว้โดยสรุป ได้ดังนี้
- การเลือกโดยอาศัย “เครื่อง” คอมพิวเตอร์เป็นหลัก การเลือกโปรแกรมด้วยวิธีนี้ จะตัดโปรแกรมที่ไม่สามารถใช้กับเครื่องที่กำหนดไว้ออกไปส่วนหนึ่งได้ แต่เครื่องที่จะนำมาเป็นหลักในการคัดเลือกจะต้องเป็นเครื่องที่นิยมแพร่หลาย จึงจะมีระบบให้เลือกมากพอ มิฉะนั้น เราอาจจะมีชุดโปรแกรมเหลือใช้เลือกน้อยเกินหรือถ้าเราไปเลือกระบบที่ใช้บนเครื่องที่ไม่เป็นที่นิยม หรือไม่มีผู้แทนจำหน่ายในประเทศ เราอาจจะประสบความลำบาก หากเครื่องเกิดขัดข้องขึ้นมา
- การเลือกโดยอาศัย “คุณสมบัติของระบบ” เป็นหลัก
2.1 เป็นระบบที่ได้ใช้กัน และพิสูจน์แล้วว่าดีในห้องสมุดหลายแห่ง
2.2 เป็นระบบที่ใช้ภาษาไทยได้
2.3 เป็นระบบที่ใช้ง่าย ไม่เสียเวลานานในการเรียนรู้ ในการใช้
2.4 เป็นระบบที่ใช้ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบ
2.5 เป็นบริษัทที่พัฒนาที่มีความมั่นคงทางการเงิน
2.6 เป็นระบบที่มีราคาที่เหมาะสม
2.7 เป็นระบบที่บุคลากรมีความรู้และทันสมัยช่วยเลือก
ขอยกคำพูดที่ท่านเคยกล่าวไว้ “อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ได้มานั้นก็ยังไม่เป็นที่พึงพอใจของเราทั้งหมด แต่ก็ตระหนักตั้งแต่เริ่มต้นแล้วว่า เราไม่มีวันจะพบระบบในอุดมคติซึ่งจะพึงพอใจไปหมดได้ ไม่ว่าอีกกี่สิบปีก็ตาม การที่เรายอมรับความจริงเมื่อเราตัดสินใจเลือกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นระบบใด เราก็จะต้องใช้ระบบนั้นให้เป็นประโยชน์กับเราให้มากที่สุด”
บทความที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail
วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order
การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS
เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ
Notification Alert
ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่
วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม
การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS
ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording
งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS
งานสร้างระเบียนสมาชิก
No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร
การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)
งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก
ขั้นตอนการทำการสั่งซื้อหนังสือ (Orders) ในระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WMS
วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก
คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)
วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ
การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3
ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2