SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด)
ธ.ค. 25th, 2017 by supaporn

Connecting Researchers to Enhance the Value of Library Services : A Case Study of ISEAS Library (การเชื่อมโยงนักวิจัย เพื่อสร้างคุณค่าให้กับห้องสมุด) โดย Ms. Liang Shuang  จาก  ISEAS Library, Singapore  ในการเสวนาเรื่อง Information Services for Research in the Age of No Boundaries : บริการสารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุคไร้พรมแดน วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2560 เวลา 8.30-16.30 น. ห้องประชุม 601 ชั้น 6 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) จัดโดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)  เป็นการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการ Collection ทางด้านรัฐศาสตร์ วัฒนธรรม เศรษฐศาสตร์ การเมืองในภูมิภาคนี้ทั้งหมด แต่ที่น่าสนใจ คือ Private Collection ที่มีนักวิจัยบริจาค เป็น collection ที่มีหลากหลายภาษามาก อังกฤษ ไทย เวียดนาม และภาษาอื่นๆ ใน Southeast Asia และยังมีภาษาย่อยๆ ลงไปอีก ซึ่งเป็นการยากในการจัดการ Collection เดิมปิด Collection แต่ต่อมาเปิดโดยเก็บค่ามัดจำ  ยืมได้ และเปิดหมด ยืมได้ ไม่มีค่ามัดจำ แต่ต้องเป็นประชากรของสิงคโปร์ และขยายการยืมเป็นจำนวน 100 เล่ม เป็นระยะเวลา 1 ปี เป็นการพยายามส่งเสริมให้มีการคนมาใช้มากขึ้น  มีการจัดการในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. การจัดการเรื่องพื้นที่ โดย
    1.1 ทำแกลอรี่ ของ Collection เด่น
    1.2 ทำ Research Lounge มีสถานที่ศึกษา เฟอร์นิเจอร์นั่งสบาย มุมกาแฟ เพื่อใช้ในการปรึกษา อภิปรายงานวิจัย
    1.3 ทำพื้นที่ให้เป็นสถานที่ถ่ายทำ หรือให้สัมภาษณ์ (Media Interview)
    1.4 ทำ Borrowed space โดยการนำหนังสือไปให้ยืมในสถานที่มีการจัดงาน เช่น สัมมนา
  1. การจัดการ Collection โดยให้นักวิจัยเสนอซื้อทรัพยากรสารสนเทศ การจัดหา Private Collection โดยการจัดเก็บงานวิจัยประเภทต่างๆ หลากหลายรูปแบบของนักวิจัย
  2. การเข้าถึง โดยการปฐมนิเทศนักวิจัย/ผู้ใช้ ที่สามารถทำได้อย่างเข้มแข็ง เนื่องจากนักวิจัยไม่มากนัก สามารถทำได้แบบตัวต่อตัว ในการปฐมนิเทศ มีจุดเด่น คือ มีการทำ check list เรื่องที่นักวิจัยควรจะทราบและบรรณารักษ์มีแนวทางในการให้ความรู้อย่างครบถ้วน การจัดทำฐานข้อมูล การจัดทำ info alert ทั้งที่เป็น article alert, news alert เป็นต้น
  3. การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ

จากการฟังประสบการณ์ของ Ms. Liang Shuang เห็นว่า ใน ISEAS Library มีการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับนักวิจัย ตั้งแต่การให้ความรู้ หรือการปฐมนิเทศ การใช้บริการ การให้บริการระหว่างการวิจัย และการขอผลงานนักวิจัย ในการมาจัดทำเป็น Private Collection ซึ่งได้มีการสอบถามถึง การดำเนินการ Private Collection ที่มีการดำเนินการถึงการวิเคราะห์เนื้อหาของผลงาน และเพื่อจะนำไปสู่ state of the art ของงานวิจัยในเรื่องนั้นๆ ได้ แต่ปรากฏว่า เนื่องจากมีปัญหาในเรื่องภาษาของงานวิจัย จึงทำได้แต่เพียงจัดหมวดหมู่ การจัดเอกสาร เป็นต้น ยังไม่ได้สามารถทำได้ถึงขนาดการวิเคราะห์เนื้อหาของงานวิจัย และเพื่อนำการวิเคราะห์นั้นไปใช้ประโยชน์ต่อยอดต่อไป

พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design)
ธ.ค. 3rd, 2017 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 33 เรื่อง พลิกโฉมห้องสมุด: สรรค์สร้างอนาคตด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ (Reinventing the Library : Shaping the Future through EdTech and Innovative Design) ระหว่างวันที่ 1-2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 ณ โรงแรมแมนดาริน กรุงเทพฯ จัดโดยสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นั้น ขอนำเสนอข้อสรุปบางประเด็น ดังนี้

เนื่องจากการจัดงานสัมมนาในครั้งนี้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในการสรรค์สร้างอนาคตของห้องสมุด หัวข้อในครั้งนี้ จึงเน้นในเรื่องเทคโนโลยีทางการศึกษา การจัดพื้นที่เพื่อรองรับหรือสนับสนุนการเรียนรู้ จากความรู้ ประสบการณ์ มุมมองของวิทยากร ทั้งจากวงการเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา วงการห้องสมุด ซึ่งมีเนื้อหาโดยสรุปที่น่าสนใจ ดังนี้

นวัตกรรมการเรียนรู้…สู่การศึกษาตลอดชีวิต   โดย รองศาสตราจารย์ ดร.แนบบุญ หุนเจริญ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอคำว่า Learning Innovation for Life Long Education หรือ LiLLE ในบริบทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากปรัชญาการศึกษาเปลี่ยนไป กระบวนการเรียนรู้จึงเปลี่ยนไป ผู้สอนต้องเปลี่ยนบทบาทเป็น host ที่ engage ให้ผู้เรียนเข้ามาแลกเปลี่ยน กล้าถาม กระตุ้นให้คิดเรื่องอื่นๆ นอกจากตัวเอง มหาวิทยาลัยจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงจาก
Read the rest of this entry »

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)
พ.ย. 5th, 2017 by rungtiwa

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ WorldShare Management Services หรือ WMS มาใช้ และเริ่มใช้ระบบยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560

การให้บริการยืม คืนทรัพยากรสารสนเทศ เหมือนกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติทั่วๆ ไป ที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการยืม และคืนให้ในระบบ เนื่องจากศูนย์บรรณสารสนเทศ ยังมิได้นำเครื่องยืม คืน ด้วยตนเองมาใช้ เมื่อมีการให้ยืมทรัพยากรสารสนเทศแล้ว โอกาสที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ใช้อาจจะใช้ทรัพยากรสารสนเทศนั้น ไม่เสร็จตามกำหนดเวลาที่ให้ยืม ตามสิทธิ์  กรณีนี้ ผู้ใช้สามารถมาต่ออายุการยืม ด้วยตนเองที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือผู้ใช้สามารถต่ออายุการยืม ผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งมีขั้้นตอนง่ายๆ ดังนี้

1. เข้าเว็บไซต์ ห้องสมุดหรือศูนย์บรรณสารสนเทศ ที่  lib.hcu.ac.th จะเห็นรูปหน้าจอการค้น คือ WorldCat Discovery (WCD) หรือ OPAC ที่เราคุ้นเค้ย

Capture1
2. คลิกที่ลูกศร จากไอคอน Read the rest of this entry »

การลงรายการทางบรรณานุกรมทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)
ต.ค. 15th, 2017 by supaporn

หลังจากที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้นำระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศที่จัดหามาเพื่อให้บริการแก่ชุมชนมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติแล้ว บุคลากรแผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ได้มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อร่วมกันจัดทำคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศในโมดูล Metadata เพื่อใช้เป็นคู่มือให้กับผู้ปฏิบัติงานในแผนกฯ ได้ลงรายการในระบบไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2560 มีผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ และบรรณารักษ์แผนกจัดหาและวิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ ร่วมกันแลกเปลี่ยนความรู้จากการที่ได้รับการอบรม และทดลองการใช้ระบบ จนสามารถสรุปเป็นคู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ ได้ดังนี้

คู่มือการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการเคลียร์รายการค่าปรับและส่งบิลค่าปรับให้สมาชิกผ่านทาง E-mail

วิธีและขั้นตอนการ Key Basic Tag ในการสร้าง Order

การจองทรัพยากรสารสนเทศผ่านระบบ WMS

เปิดเทอมแล้วมาโหลด APP ช่วยในการทำงานกันเถอะ

Notification Alert

ขั้นตอนการตรวจรับและตรวจสอบหนังสือใหม่

วิธีการเปลี่ยน Status หนังสือส่งซ่อม

การพิมพ์สันหนังสือในระบบ WMS

ขั้นตอนการลงรายการสื่อโสตทัศนวัสดุ ประเภท Sound Recording

งานบริการรับแจ้งหนังสือหายในระบบ WMS

งานสร้างระเบียนสมาชิก

No Linguistic Content และ Undetermined สำคัญอย่างไร

การสร้างข้อมูลร้านค้า (New Vendor)

งานตรวจสอบพันธะและลบระเบียนสมาชิก

วิธีเก็บสถิติการใช้งานภายในห้องสมุด กรณีที่ผู้ใช้ไม่หยิบหนังสือไปยืมออก

คู่มือการใช้บริการ WorldShare Interlibrary Loan (WorldShareILL)

การใช้งานระบบ Offline Circulation WMS

วิธียืมหนังสือต่อด้วยตนเองทางออนไลน์ (WMS)

คู่มือการปฏิบัติงานการยืม-คืนทรัพยากรสารสนเทศ ของระบบ WorldShare Management Services (WMS)

Acquisition Module เพื่อการจัดสรรงบประมาณ ในระบบห้องสมุด WMS เพื่อการจัดสรรงบประมาณ

การทำ Data Migration เข้า WorldShare Management Services (WMS)

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services (WMS) : WMS ตอนที่ 5 การทำสัญญา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 4 การต่อรองราคา

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 3

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 2

ทำไมจึงเลือก WorldShare Management Services – WMS ตอนที่ 1

 

 

การสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็ง
มิ.ย. 26th, 2017 by pisit

ผู้เขียนได้เคยเข้าร่วมอบรมเชิงปฎิบัติการเรื่อง การซ่อมและการสงวนรักษาหนังสือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา ทำให้ได้รับความรู้เรื่องวิธีการสงวนรักษาหนังสือโดยวิธีการเสริมปกแข็งทั้งนี้เพื่อให้บรรณารักษ์หรือบุคลากรห้องสมุดนำความรู้ไปดำเนินการแก้ไขวิธีการซ่อมทำปกที่ถูกวิธีสามารถปฎิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียน ขอนำบางส่วนจากการอบรม คือ วิธีการสงวนรักษาหนังสือแบบวิธีการเสริมปกแข็ง

วิธีการเสริมปกแข็ง (Stiffening)

วัสดุและอุปกรณ์

  1. กระดาษปกเบอร์12  หรือกระดาษปกแข็งที่มีความหนา .05 นิ้ว
  2. ผ้าฝ้ายที่มีความละเอียดมาก
  3. กาว
  4. มีดคัตเตอร์
  5. กรรไกร
  6. แผ่นพลาสติค
  7. ไม้กระดาน
  8. เครื่องอัดหนังสือ
  9. ไม้เนียน
  10. เครื่องตัดกระดาษ

Read the rest of this entry »

เครื่องมือช่วยค้นหาวารสารที่เหมาะสมในการเผยแพร่บทความและงานวิจัย
มิ.ย. 25th, 2017 by pailin

หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง  ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน

ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้

  1.  เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder  (http://journalfinder.elsevier.com)
  2.  แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
  3.  เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
  4.  พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
  5.  ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
  6.  ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร

โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป Read the rest of this entry »

งานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม”
มิ.ย. 13th, 2017 by supachok

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และงานเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม” ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ งานนี้ได้ทั้งความรู้และได้รับแจกหนังสือ Thai Politics: Social Imbalance” อีก 1 เล่ม งานเสวนาครั้งนี้ ได้รับความรู้ด้านการเมือง การปกครองตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พัฒนาการของระบบอประธิปไตยของประเทศไทยตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 85 ปี จากนักวิชาการและนักการเมืองอาชีพ ทั้ง 3 ท่านได้แก่ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา และดำเนินรายการโดย คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ได้รับฟังมุมมองแนวคิดทางการเมืองเกี่ยวกับกับการปฎิรูปการเลือกตั้งของประเทศไทย ที่จะมาขึ้นในเร็วๆนี้

วิทยากร

วิทยากร

 

Read the rest of this entry »

การใช้ประโยชน์จาก IEEE Xplore และการตีพิมพ์บทความกับ IEEE
มิ.ย. 13th, 2017 by pailin

Introduction to IEEE & IEEE Xplore

IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  • Membership organization
  • Conferences organizer
  • Standards developer
  • Publisher of journals, conferences, standards, e-books and e-learning

Read the rest of this entry »

ห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)
พ.ค. 17th, 2017 by อุไรรัตน์ ผาสิน

ภูมิทัศน์อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี10)

เมื่อวันอังคารที่ 25 เมษายน 2560 ผู้เขียนได้มีโอกาสเปิดโลกทัศน์ภายนอกสถานที่ ได้พบเห็นผู้บริหารของห้องสมุดมหาวิทยาลัยต่างๆ และได้เข้าเยี่ยมชมห้องสมุด สำนักงานวิทยทรัพยากร สาขาเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา หรืออาคารจามจุรี 10 นั่นเอง ตัวอาคารจะตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ ถนนพญาไท กลุ่มศึกษาดูงานได้พากันเดินชมความร่มรื่นสองข้างทางจากอาคารสำนักงานวิทยทรัพยากร เพื่อไปยังจุดหมายคืออาคารจามจุรี10

   FB_IMG_1493274690408        นำทีมโดยท่านรองศาสตราจารย์ ดร.  อมร   เพชรสม รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานวิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   ท่านได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี และเป็นกันเองเป็นอย่างมาก ท่านได้พาคณะศึกษาดูงานเดินขึ้นบันไดเพื่อลดแคลลอรี่และสร้างความแข็งแกร่งของร่างกาย ไปยังชั้น 2 ของตัวอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ในส่วนของห้องสมุด มีเนื้อที่ใช้สอยประมาณ 1,500 ตารางเมตร เป็นอาคารที่ได้รวบรวมวิทยานิพนธ์ทั้งหมด งานวิจัย และหนังสืออ้างอิง ที่กระจัดกระจายตามคณะต่างๆ ซึ่งมีประมาณ 50,000 เล่ม นำมารวบรวมไว้ให้บริการในจุดเดียวกัน เพื่อสร้างความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้ทุกๆ แขนงแก่บุคลากร นิสิต และประชาชนทั่วไป ซึ่งวิทยานิพนธ์เหล่านี้เดิมเคยให้บริการอยู่ที่ชั้น 2 ของหอสมุดกลางอาคารมหาธีรราชานุสรณ์  นอกจากนี้ยังมีห้องสมุดในกลุ่มต่างๆ นำมารวบรวมไว้ให้บริการ เช่น

  • วิทยาศาสตร์สูขภาพ
  • หนังสือของบัณฑิตวิทยาลัย
  • หนังสือของคณะพยาบาลศาสตร์
  • หนังสือของคณะจิตวิทยา
  • หนังสือของคณะสหเวชศาสตร์
  • คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

  

Read the rest of this entry »

มาสัมผัส New TCDC Resource Center
พ.ค. 13th, 2017 by supaporn

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม 2560 ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ได้เปิด New TCDC Resource Center ณ อาคารไปรษณีย์กลาง ถนนเจริญกรุง หลังจากที่ย้ายจากสถานที่เดิม ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับบัตรเชิญเข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดนี้ รีบตอบรับ เพราะอยากจะเห็นโฉมหน้าใหม่ การจัดพื้นที่การให้บริการ เคยประทับใจจากที่เดิม คิดว่าแห่งใหม่ก็ไม่แพ้กัน

บัตรเชิญ

บัตรเชิญ

ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้พาสถาปนิกจากกองอาคารและสถานที่ ของมหาวิทยาลัยไปด้วย เพราะมีโครงการจัดขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ จัดทำเป็น Learning Space ให้กับผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะกลุ่มนักศึกษา เพื่อฟังแนวความคิดในการจัดพื้นที่การใช้งาน

ตั้งแต่หน้าประตูทางเข้าตกแต่งด้วยดอกไม้ เก๋ๆ อย่างมีสไตล์ เมื่อลงทะเบียนและรับของที่ระลึกซึ่งเป็นหนังสือหลายเล่มน่าสนใจทีเดียวค่ะ แล้วก็ขึ้นไปชั้น 5 บริเวณครีเอทีฟ สเปซ ก่อนเข้าพิธีมีการรับประทานอาหารว่างกันไปพลางๆ แต่ส่วนใหญ่ ตื่นตาตื่นใจไปกับบรรยากาศ โดยรอบ และพูดคุยกับแขกท่านอื่นๆ มากกว่า ล้วนเป็นคนในวงการ กันเองทั้งนั้นค่ะ

ดอกไม้หน้าทางเข้า

ดอกไม้หน้าทางเข้า

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa