หนึ่งในกระบวนการสร้างสรรค์งานวิจัยนั้น ต้องมีการตีพิมพ์หรือเผยแพร่บทความงานวิจัยออกสู่สาธารณชน ผ่านวารสารทางวิชาการที่มีอยู่มากมาย ดังนั้น ในการพิจารณาเลือกวารสารที่จะใช้เผยแพร่บทความของนักวิจัยนั้น จึงมีความสำคัญมาก เพราะ มีส่วนช่วยให้บทความนั้นถูกค้นพบ นำไปใช้ และอ้างถึง ช่วยส่งเสริมในการประเมินคุณค่างานวิจัยชิ้นนั้น และเพิ่มอันดับให้นักวิจัยได้ด้วยเช่นกัน
ด้วยความจำเป็นดังกล่าว ทางสำนักพิมพ์ Elsevier จึงได้พัฒนาเครื่องมือ Elsevier Journal Finder ไว้อำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัย ในการค้นหาวารสาร เปรียบเทียบข้อมูล พร้อมทั้งประเมินความเหมาะสมในการเผยแพร่บทความ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาอัจฉริยะและคำศัพท์เฉพาะเจาะจงในการวิเคราะห์และประเมินความเหมาะสม เพื่อหาวารสารในเครือ Elsevier ที่ตรงกับลักษณะบทความของคุณมากที่สุด มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้
- เข้าไปที่เพจ Elsevier Journal Finder (http://journalfinder.elsevier.com)
- แปะบทคัดย่อลงในช่อง Paper abstract
- เลือกหมวดหมู่เนื้อหาที่ต้องการจะเผยแพร่บทความ โดยเลือกได้ไม่เกิน 3 หมวด
- พิจารณาเลือกวารสารที่เหมาะสม จากการเปรียบเทียบข้อมูลสำคัญ โอกาสที่จะได้รับการตอบรับ และประเมินความเหมาะสม
- ศึกษา ข้อมูล ข้อกำหนด ค่าใช้จ่าย ระยะเวลา สิ่งที่จำเป็น ในการส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารฉบับนั้นพิจารณา
- ในเครือ Elsevier นักวิจัยสามารถส่งบทความออนไลน์ ได้ที่เมนู Submit Your Paper ในหน้าเพจของวารสาร
โดยมีรายละเอียดการใช้งาน ดังรูป
หากไม่แน่ใจ สามารถดูรายละเอียดของแต่ละหมวดหมู่ ได้ดังรูป
.
ผลลัพธ์ที่ได้ จะแสดงในลักษณะ เปรียบเทียบข้อมูล ประเมินความเหมาะสม และแสดงลักษณะสำคัญของวารสารที่ค้นพบ
ซึ่งสามารถ กำหนดลักษณะการเรียงลำดับผลลัพธ์ได้หลายแบบ และมีลิงค์ไปดูข้อมูลวารสารเพิ่มเติมได้
.
ลักษณะ/ความสำคัญ ที่ Elsevier Journal Finder นำมาใช้เปรียบเทียบข้อมูล เพืื่อให้นักวิจัยได้ใช้ในการตัดสินใจ ประกอบด้วย
– Match (ค่าความเหมาะสม ระหว่างบทความกับวารสารที่ค้นพบ)
– Impact (ค่า Impact Factor)
– Editorial Times (ช่วงเวลารอคอยบรรณาธิการพิจารณาบทความ)
– Acceptance (% โอกาสที่บทความจะได้รับการตอบรับ)
– Production Times (ช่วงเวลาที่ใช้ดำเนินการเพื่อเผยแพร่บทความลงในวารสาร)
– Open Access (ทางเลือกให้นักวิจัยสามารถเผยแพร่แบบเสรี ได้หรือไม่)
– Embargo period (ช่วงเวลาก่อนที่ต้นฉบับจะถูกเผยแพร่ในแบบสาธารณะ)
– Open Access Fee (ค่าธรรมเนียมในการเผยแพร่บทความแบบเสรี)
โดยส่วนใหญ่วารสารแบบเสรี จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากเจ้าของบทความที่ประสงค์จะตีพิมพ์/เผยแพร่ บทความในวาราสารแบบเสรี
ซึ่งมีรายละเอียดเพิ่มอีกมาก คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมได้ที่ไอคอน More info
เมื่อเปิดในหน้าเพจของวารสาร จะแสดงรายละเอียดต่างๆ เช่น CiteScore, Impact Factor, SCImago Journal Rank ไว้ให้นักวิจัยได้ศึกษาข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
ก่อนเลือกส่งบทความให้บรรณาธิการของวารสารเล่มนั้นได้พิจารณา โดยสามารถส่งบทความได้ที่เมนู Submit Your Paper
.
* ข้อมูลส่วนหนึ่ง ได้จากการอบรมเรื่อง Application of Elsevier Journal & Research Metric in Research Assessment ณ อาคารบรรสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ