SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การใช้ประโยชน์จาก IEEE Xplore และการตีพิมพ์บทความกับ IEEE
มิถุนายน 13th, 2017 by pailin

Introduction to IEEE & IEEE Xplore

IEEE เป็นองค์กรที่มีบทบาทในวงการค้นคว้าและงานวิจัยมายาวนาน โดยดำเนินกิจการใน 4 กิจกรรมหลัก ดังนี้

  • Membership organization
  • Conferences organizer
  • Standards developer
  • Publisher of journals, conferences, standards, e-books and e-learning

IEEE เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีแห่งอนาคต และมีความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ในระดับสากล ได้แก่ บริษัทชั้นนำที่อยู่ในอันดับ Top 10 ทางด้าน Semiconductor, Communications Equipment, Aerospace, Computer Hardware, Auto & Truck Manufacturers, Telecommunications  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนั้น เป็นสถาบันชั้นนำระดับโลก ที่ติดอันดับ Top 100 engineering schools in the US และ Top 50 Engineering and Technology Universities Worldwide  นอกจากนี้ ยังมีงานวิจัยอีกหลายอย่างที่ได้รับการสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในหลายประเทศ ทั้งในทวีป อเมริกาเหนือ  ยุโรป  เอเชีย  และตะวันออกกลาง

ปัจจุบัน IEEE ได้พัฒนา IEEE Xplore มาเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักวิจัยมากยิ่งขึ้น โดยรวบรวมข้อมูลตลอด 16 ปีที่ผ่านมาเข้าไว้ด้วยกัน และพัฒนาเครื่องมือไว้ให้นักวิจัยได้ใช้ค้นหาข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้สนับสนุนและรองรับกับการทำงานวิจัยในลักษณะต่างๆ  เช่น มีจำนวนเอกสารต่างๆ เกือบ 4 ล้านชิ้น  สามารถรองรับผู้ใช้บริการ มากกว่า 3 ล้านคน  ปัจจุบัน มีจำนวนการดาวน์โหลด มากว่า 8 ล้านครั้ง ต่อเดือน ซึ่งในอนาคตจะสามารถขยายระบบให้รองรับได้มากกว่านี้

IEEE มีการ e-Learning Library ไว้บริการ ที่มีลักษณะ ดังนี้

  • มีบทเรียนในลักษณะที่สามารถตอบโต้ได้ (interactive) มากกว่า 400 รายการ
  • สามารถเข้าถึงบทเรียนออนไลน์ได้ตลอดเวลา แบบ 24/7 คือ 24 ชั่วโมง ใน 7 วันของสัปดาห์ (เฉพาะ IEEE Xplore)
  • ในแต่ละบทเรียนใช้เวลาประมาณ 1-3 ชั่วโมง
  • มีแบบทดสอบในแต่ละบทเรียน
  • สามารถให้ประกาศนียบัตร (certificate) แก่ผู้เรียนที่ประสบความสำเร็จในแต่ละหลักสูตร ตามที่สถาบันกำหนดได้
  • มีการปรับปรุงบทเรียนโดยผู้เชี่ยวชาญ และมีคณะกรรมการคอยตรวจสอบการปรับปรุงเนื้อหาอย่างสม่ำเสมอ

Why do they rely on IEEE information

ทำไมบรรดานักวิจัยถึงใฝ่ฝันและต้องการที่จะตีพิมพ์ผลงานตนเองกับ IEEE

เหตุผลหลัก คือ IEEE มีค่า impact factor สูง (IEEE quality makes an impact)  ซึ่งจะส่งผลต่อค่าตัวคูณ เมื่อไปใช้คำนวณค่าคะแนน เพื่อใช้ประเมินคุณค่าของงานวิจัยชิ้นนั้นให้แก่สถาบัน

ตัวอย่าง จำนวน IEEE publishes ที่มีค่า impact สูงสุด ในด้านวิศวกรรมต่างๆ เช่น

2 of the top 5   journals in Robotics
3 of the top 5   journals in Artificial Intelligence
3 of the top 5   journals in Automation & Control Systems
7 of the top 10 journals in Cybernetics
8 of the top 10 journals in Computer Science, Hardware & Architecture

ดูรายละเอียดทั้งหมดได้ที่  IEEE Journals Continue to Excel in Citation Rankings

สำหรับนักวิจัยหรือนักประดิษฐ์คิดค้นหน้าใหม่ที่ต้องการให้ผลงานเป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ถ้าสามารถนำบทความของตนมาเผยแพร่ลงใน IEEE จะมีโอกาสที่อาจได้รับการอ้างถึง มากกว่าสามเท่าเมื่อเทียบกับที่อื่น ซึ่งในแต่ละปี IEEE จะมีการเพิ่ม e-Books เข้าใน IEEE Xplore ในหัวข้อทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่สนใจ หรือกำลังจะเป็นที่โด่งดังในอนาคต อยู่สม่ำเสมอ จนกระทั่งกลายเป็นผู้นำในงานวิจัยทางด้านเทคโนโลยี ดังรายชื่อ Journals  magazines  Conference และ  Books  ที่ปรากฏใน IEEE Publication Types

Writing for a conference or journal

จากภาพข้างล่างนี้ แสดงช่วงเวลาที่ใช้ ตั้งแต่เริ่มเขียนบทความ จนกระทั่งได้ตีพิมพ์ใน IEEE  

IEEE-cycle

ในการเขียนบทความเพื่อตีพิมพ์กับ IEEE สามารถทำได้ทั้ง 2 แบบ คือ

บทความที่ลงในวารสารวิชาการ  (Journal article)
–  เป็นการนำเสนอบทความที่แสดงถึงผลลัพธ์สุดท้าย หรืออยู่ในขั้นตอนการค้นพบครั้งสุดท้าย
–  นำเสนอผลงานวิจัยในลักษณะตัวเต็มครบทั้งหมด
–  มีข้อสรุปที่ชัดเจน อันเกิดจากการข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัย

บทความที่ลงในการประชุมวิชาการ (Conference article)

–  สามารถเขียนบทความในขณะที่มีการวิจัยอยู่อย่างต่อเนื่องได้
–  นำเสนอผลการศึกษาและวิจัยแบบเบื้องต้นในบทความได้

–  ประเมินผลการตอบรับอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อใช้ในประโยชน์ในการวิจัยได้

ดังนั้น บทความที่ลงในการประชุมวิชาการ จึงมักจะมีขนาดบทความที่สั้นกว่า และมีรายละเอียดน้อยกว่า บทความที่ลงในวารสารวิชาการ

The format (structure) of an IEEE paper

สิ่งที่บรรณาธิการของ IEEE มองหา
–  บทความที่มีเนื้อหาความเหมาะสม อยู่ในขอบเขตที่สามารถนำไปเผยแพร่ในวารสารได้
–  มีเนื้อหาที่เขียนไว้อย่างชัดเจน ถึงลักษณะของปัญหาใหม่ และมีความสำคัญ ควรค่าแก่ความสนใจ
–  ใช้วิธีการที่ถูกต้องและเหตุผลในการทำวิจัย
–  สรุปผลการวิจัย ให้ผู้อ่านเข้าใจได้ และนำไปคิดต่อยอดงานได้
–  ใช้ภาพประกอบ, ตารางและกราฟ ที่สนับสนุนเนื้อหาในงานวิจัยได้เหมาะสม

 IEEE-paper

โครงสร้างของบทความ

ชื่อเรื่อง  (Title)

ชื่อบทความที่ดี  เมื่ออ่านแล้วควรแสดงให้เห็นถึง ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำวิจัย แสดงให้เห็นว่ามีการหยิบยกปัญหาใดปัญหาหนึ่งขึ้นมาแก้ไข

บทคัดย่อ    (Abstract)

โดยปกติไม่ควรเกิน 250 คำ ใช้คำที่เป็น keywords ในการสื่อสาร และถ้าเป็นภาษาอังกฤษให้ใช้ past tense เขียน

คำสำคัญ    (Keyword)

เป็นคำที่มีความสอดคล้องกับ ชื่อเรื่องและบทคัดย่อ ซึ่งสามารถใช้ในการสืบค้นข้อมูลได้ด้วย  ควรมีประมาณ 3 – 5 คำ

บทนำ    (Introduction)

อธิบายถึงปัญหาที่ถูกเลือกขึ้นมาทำวิจัย โดยชี้แจงถึงประเด็นสำคัญและขั้นตอนหลักที่นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ได้ ซึ่งไม่ควรเกินกว่า 2 หน้า  และถ้าเขียนเป็นภาษาอังกฤษ ให้ใช้ present tense เขียน

วิธีการ   (Methodology)

อธิบายถึงแนวคิดหรือกระบวนการที่ใช้ในงานวิจัย ว่าทำอย่างไร เพราะอะไรถึงใช้วิธีการเหล่านั้นมาทำการวิจัย  การพิสูจน์หรือการหักล้างสมมุติฐาน การคลี่คลายปัญหา  วิธีการนำไปสู่คำตอบ  ซึ่งจะต้องสนับสนุนผลลัพธ์ที่ได้ด้วยเช่นกัน

ผลลัพธ์ / อภิปรายผลที่ได้รับ  (Results / discussion)

แสดงถึงผลลัพธ์ของคุณที่ได้มาจากการคิดค้นและการทำวิจัยในปัญหาที่เลือกขึ้นมา และสามารถคลี่คลายได้ และสามารถแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่จะนำไปทำประโยชน์ต่อไปได้

ข้อมูลสรุป   (Summarized Data)

สรุปข้อมูลในภาพรวมของงานวิจัย เพื่อให้เกิดความกระชับ อาจใช้ตัวเลข ตาราง  ภาพ หรือ สัญญาลักษณ์ ในการสรุปเรื่องราว

บทสรุป  (Conclusion)

อธิบายถึงความสำเร็จที่ได้จากงานวิจัย กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของปัญหาที่หยิบยกมาทำวิจัย  ทบทวนประเด็นสำคัญในแต่ละส่วน  รวบรวมผลลัพธ์หลักที่ได้ และสรุปสาระสำคัญและผลกระทบที่ได้ (ถ้ามี)  กล่าวถึงวิธีการที่นำมาซึ่งผลลัพธ์  และบ่งบอกถึงประโยชน์ในการนำไปใช้งาน  พร้อมทั้งให้คำแนะนำหากจะนำไปต่อยอดงานในอนาคต

รายการอ้างอิง

Aziz, Hazman  (2016). Introduction to IEEE & IEEE Xplore. Understanding IEEE journals site on IEEE Xplore. The format (structure) of an IEEE paper. เอกสารประกอบการรอบรมเชิงปฏิบัติการ IEEE Xplore – Essential notes & contributes a journal or conference proceeding article. กรุงเทพฯ : สำนักหอสมุด  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

*****************************************************************************


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa