SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
งานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม”
มิถุนายน 13th, 2017 by supachok

เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปร่วมงานเปิดตัวหนังสือ “Thai Politics: Social Imbalance” และงานเสวนาวิชาการ “ส่องเมืองไทย: ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม” ที่วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ งานนี้ได้ทั้งความรู้และได้รับแจกหนังสือ Thai Politics: Social Imbalance” อีก 1 เล่ม งานเสวนาครั้งนี้ ได้รับความรู้ด้านการเมือง การปกครองตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน พัฒนาการของระบบอประธิปไตยของประเทศไทยตั้งตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 ที่ล้มลุกคลุกคลานมาตลอด 85 ปี จากนักวิชาการและนักการเมืองอาชีพ ทั้ง 3 ท่านได้แก่ ฯพณฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา และดำเนินรายการโดย คุณอดิศักดิ์ ศรีสม ได้รับฟังมุมมองแนวคิดทางการเมืองเกี่ยวกับกับการปฎิรูปการเลือกตั้งของประเทศไทย ที่จะมาขึ้นในเร็วๆนี้

วิทยากร

วิทยากร

 

มุมมองของท่านอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ท่านกล่าวไว้ว่าถ้าหากสื่อมวลชนยังนำเสนอข่าวอย่างเลือกข้างอยู่การเลือกตั้งก็จะเหมือนเดิม เพราะประชาชนยังเสพย์ข่าวอยู่ 2 ขั้ว อดีตนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ดุลยภาพทางการเมืองทั่วโลก สร้างโดยกระบวนการประชาธิปไตย มีการเลือกตั้ง มีทั้งรัฐบาล และฝ่ายค้าน ฉะนั้นการฟังผู้มีอำนาจขณะนี้เราอาจหลงทาง แม้จะมี Road map กลับไปสู่ประชาธิปไตย สู่การเลือกตั้ง แต่ถ้อยคำที่สื่อสารกับประชาชนพยายามบอกประชาธิปไตยคือปัญหา ท่านเกรงว่าหากตั้งหลักแบบนี้เราจะหลงทางได้ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่คิดว่า ปัญหาเกิดขึ้นจากกระบวนการทางการเมือง จึงเอารัฐธรรมนูญทั้งฉบับเก่าและฉบับใหม่ยื่นให้กับสังคม ซึ่งไม่ใช่วิธีสร้างดุลยภาพ

ด้านความเห็นของ รศ.ดร.นิยม รัฐอมฤต คณบดีวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ผู้เขียนหนังสือ “Thai Politics:Social Imbalance” กล่าวถึงการเมืองไทย มีการสะดุดหยุดอย่างนี้เป็นระยะๆ ตั้งแต่ปี 2475 เป็นต้นมา ซึ่งจากการทบทวนประวัติศาสตร์การเมืองไทย พบว่า การเมืองไทยไม่เป็นของทหารก็พลเรือน การเมืองยุคทหารเน้นความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย บางช่วงสามารถทำอะไรได้มาก พอมาสู่การเมืองของนักการเมือง มีหลายกลุ่มหลายพรรค ทำให้การบริหารประเทศแม้รัฐบาลจะมีความมุ่งมั่นส่งเสริมให้อยู่ดีกินดี แต่กลไกไม่เอื้ออำนวย ทั้งๆที่เจตนาดีแต่ไม่เคยทำได้สำเร็จ เพราะความที่คณะผู้ปกครองไม่เคารพระบอบประชาธิปไตย

และสุดท้ายมุมมองของนายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ ผู้อำนวยการบริหาร สถาบันอิศรา ซึ่งเป็นสื่อมวลชนที่คร่ำหวอดในแวดวงการเมืองมานานกล่าวว่า การที่เมืองไทย จะมีดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม ต้องทำให้ประชาชนมีส่วนร่วม ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจได้ โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลให้เป็นระบบออกสู่สาธารณะ เชื่อว่าทำให้ระบบการเมืองกว้างมากเปิดมากขึ้น ไม่ช่วงชิงผลประโยชน์ส่วนตน ไม่เรียกร้องให้รัฐบาลปรับตัวเอง หรือเรียกร้องระบบราชการเปลี่ยน นักการเมืองเปลี่ยน แต่หวังให้ประชาชนเข้ามาถ่วงดุลทำให้เกิดดุลยภาพ ”

หน้าปกหนังสือ

หน้าปกหนังสือ

สำหรับหนังสือ ดุลยภาพทางการเมืองดุลยภาพทางสังคม (Thai Politics: Social Imbalance) ที่ได้รับแจกในวันนั้นได้รับการแปลมาจากเรื่องฉบับภาษาไทยคือเรื่อง “ดุลยภาพทางการเมือง ดุลยภาพทางสังคม” เขียนโดย นิยม รัฐอมฤต ตีพิมพ์ตั้งแต่ปี 2558 โดย สถาบันพระปกเกล้า เนื้อหาย่อๆ กล่าวถึง

  • แนวคิดทฤษฎีว่าด้วยรูปแบบความขัดแย้งและการสร้างดุลยภาพ
  • ความเป็นมาเกี่ยวกับรูปแบบความขัดแย้งและการสร้างดุลยภาพในระบบการเมืองไทย
  • รูปแบบดุลยภาพทางการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
  • ผลผลิตของระบอบประชาธิปไตยจากอดีตสู่ปัจจุบัน
  • การเกิดขึ้นของพรรคไทยรักไทย
  • การสร้างดุลยภาพ กรณีศึกษาประเทศอังกฤษ
  • การสร้างดุลยภาพ กรณีศึกษาประเทศจีน
  • สรุปเกี่ยวกับข้อค้นพบและข้อเสนอแนะ

ท่านใดสนใจต้องการอ่านหนังสือ ติดต่อได้ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ครับ.


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa