SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การออกแบบสื่อ Infographic
มิ.ย. 26th, 2019 by Latthawat Rimpirangsri

INFOGRAPHIC คืออะไร

อินโฟกราฟฟิก มาจากคำว่า Information (ข้อมูล) + Graphic (รูป) นั่นเองครับ อธิบายแบบเข้าใจง่าย ๆ เลย คือ “การนำข้อมูลต่าง ๆ มาทำเป็นรูป”

การออกแบบอินโฟกราฟฟิกต้องมีขั้นตอนสำคัญ ๆ ดังนี้

  1. Research เตรียมข้อมูล – เราจะทำ Infographic เล่าเรื่องอะไรบ้าง? เราจะเอาตัวเลขสถิติมาจากไหน? ขั้นตอนนี้ใช้เวลาเยอะพอสมควรเลยครับ เพราะบางทีข้อมูลก็มาจากหลายที่ เราต้องเอามารวมกันบ้าง เอามาเช็คบ้างว่าข้อมูลหลายแห่งเหมือนกันมั้ย
  2. Plan วางแผนการนำเสนอข้อมูล – เราอยากให้ Infographic ของเราสื่อ “ข้อความ” อะไรออกไป? จะนำเสนอผ่าน Flow / Narrative แบบไหน? ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เช่น เราอาจจะกำลังทำอินโฟกราฟฟิกที่เชียร์แบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ก็ต้องคิดว่าเราจะสื่ออย่างไรให้แบรนด์นั้นดูดี ซึ่งอาจจะต้องใช้ความช่วยเหลือจากคนทำงานด้าน Creative เข้ามาช่วยครับ
  3. Design ลงมือออกแบบ – ขั้นตอนนี้เป็นหน้าที่ของ Designer ในการทำให้ไอเดียออกมาเป็นกราฟฟิกของจริงล่ะครับ ปกติแล้วจะนิยมใช้ Adobe Illustrator กัน เพราะสามารถทำงานออกมาเป็น Vector นำไปใช้ในเว็บก็ได้ ปรินท์ก็ยังคม
  4. Feedback ปรับปรุงให้ดีขึ้น – หลังจากออกแบบอินโฟกราฟฟิกเวอร์ชั่นแรกเสร็จแล้ว นำไปให้กลุ่มเป้าหมายของเราดู (และลูกค้า) เพื่อให้เค้าบอกเราว่ามีส่วนไหนที่ควรปรับปรุงบ้าง เพื่อให้เราทำอินโฟกราฟฟิกออกมาให้ตรงใจกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด

Read the rest of this entry »

เยี่ยมชมและศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
เม.ย. 8th, 2019 by buaatchara

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 -12.00 น. ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานที่หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เพิ่งผ่านการตรวจประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ระดับทองปีล่าสุด ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ จึงได้รับความกรุณาจากหอสมุดฯ ในการแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการศึกษาดูงานห้องสมุดโดยทั่วไป ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวพรจิตต์   หมีงาม รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารและวิชาการกล่าวต้อนรับและเป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “การจัดการพลังงาน” โดยเหตุผลที่ต้องอนุรักษ์พลังงาน ก็เพื่อลดค่าใช้จ่าย ทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น การบริการก็จะดีขึ้น  มีความปลอดภัยและยังแสดงความรับชอบต่อสังคม

ข้อมูลเบื้องต้นอาคารหอสมุดและคลังความรู้ฯ

1. ชื่อนิติบุคคล : มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา)

ชื่ออาคารควบคุม : หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล

TSIC ID: 85302-0082

2. กลุ่มที่ 1 (ขนาดเล็ก)

อาคารควบคุมที่ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้ารวมกันน้อยกว่าสามพันกิโลวัตต์หรือสามพันห้าร้อยสามสิบกิโลวัตต์แอมแปร์หรืออาคารควบคุมที่ใช้พลังงานไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากไอน้ำหรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ โดยมีปริมาณพลังงานเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าต่ำกว่าหกสิบล้านเมกะจูล

3. ที่ตั้งอาคารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
อาคารของหอสมุดและคลังความรู้ฯ นับว่าตั้งอยู่ใจกลางของมหาวิทยาลัย

4. ประเภทอาคาร (สำนักงาน / สถานศึกษา) พื้นที่รวมของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) ทั้ง 3 ชั้น รวม 14,000 ตารางเมตร ขนาดพื้นที่ชั้นล่างสุดของส่วนงาน 7,600 ตารางเมตร

5. อาคารเริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2528 จำนวนพนักงานปัจจุบัน 122 คน จำนวน 3 สำนักงาน 4 ฝ่าย

6. จำนวนอาคารทั้งหมด 1 อาคาร

7. ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน : นายประมุข หนูเทพย์

กระบวนการการจัดการพลังงานของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล Read the rest of this entry »

ศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
เม.ย. 4th, 2019 by chonticha

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าศึกษาดูงานหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2562  เวลา 10.00 -12.00 น. โดยศึกษาแนวทางการประหยัดพลังงานและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และดูงานในส่วนของหอสมุด ซึ่งในส่วนของการดูงานหอสมุด นั้น มี ดร.อภิภู  สิทธิภูมิมงคล รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการและพันธกิจพิเศษ เป็นผู้บรรยาย และนำชม


หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา เปิดให้บริการ ตั้งแต่ 08.00 – 21.00 น. และช่วงสอบปลายภาค เปิดให้บริการ ถึง 24.00 น. ในอนาคตหอสมุดจะเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง

การให้บริการยืม-คืนหนังสือของมหาวิทยาลัยมหิดล

เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดล มีหลายวิทยาเขต หากจะยืมหนังสือจากหอสมุดฯ สามารถแจ้งขอรับบริการได้ที่เคาน์เตอร์ฯ ของห้องสมุดเครือข่าย หรือส่งคำขอใช้บริการออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของหอสมุดฯ โดยระบุชื่อหอสมุดที่สะดวกในการรับหนังสือที่จะยืมหรือส่งคืน โดยหอสมุดกลาง มีบริการรถรับ-ส่งหนังสือเป็นประจำทุกวัน ผู้ใช้บริการสามารถยืมหนังสือจากที่ไหนก็ได้ สะดวกที่ไหนก็ยืมหนังสือได้ที่นั่นเลย โดยไม่เสียค่าบริการใดๆ

การให้บริการตอบคำถามออนไลน์

อีกหนึ่งบริการที่น่าสนใจของทางหอสมุดฯ คือ มีนักประชาสัมพันธ์ คอยตอบคำถามต่างๆ ทางออนไลน์ ที่เว็บไซต์ของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา  www.li.mahidol.ac.th   Read the rest of this entry »

เมื่อได้มาดูงานศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
เม.ย. 4th, 2019 by piyanuch

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  โดยมี นางสาวฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยายและนำชมห้องสมุด เริ่มต้นการสรุปแนวทางการบริหารงานของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Read the rest of this entry »

Library Care the Bear
มี.ค. 29th, 2019 by supaporn

การแถลงข่าว Library care the bear

Library Care the Bear เป็นโครงการความร่วมมือเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก ระหว่างตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ผ่านเครือข่ายห้องสมุดทั่วประเทศ โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ขยายความร่วมมือจากหน่วยงานและบริษัทที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อรณรงค์ให้บริษัท และหน่วยงานมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคม ภายใต้โครงการ Care the bear  “Change the Climate Change” ลดคาร์บอนจากงานEvent ลดโลกร้อน โดยขั้นตอนง่ายๆ 6 ขั้นตอน

Care the bear

Read the rest of this entry »

Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21
มี.ค. 28th, 2019 by supaporn

จากการเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการประจำปี เรื่อง Data Science Data Analytics ในการบริหารห้องสมุดในศตวรรษที่ 21  เมื่อวันที่  15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562  ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วยการบรรยาย  5 หัวข้อ ได้แก่

  • AI and Big Data in KU  โดย ผศ. ดร. ภุชงค์ อุทโยภาส (รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • Library Analytic and Matrix Using Data to Driven Decision Services โดย Dr.Jin Chen (Shanghai Jiao Tong University Library)
  • AI กับงานห้องสมุด โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ (ภาควิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  • การเสวนาวิชาการเรื่อง Data Analytics จากประสบการณ์สู่การประยุกต์ใช้เพื่อการบริหารจัดการห้องสมุด  โดย ผศ. ดร สุกรี สินธุภิญโญ อาจารย์สาโรช เมาลานนท์ (ผู้อำนวยการสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ) ผศ. ดร. ศจี ศิริไกร (สาขาวิชาบริหารปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)  และนายอภิยศ เหรียญวิพัฒน์ (นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ดำเนินรายการโดย รศ. ดร. สมชาย นำประเสริฐชัย (ผู้อำนวยการ สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
  • SciVal เครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย โดย นางสาวมณีรัตน์ จอมพุก (ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยมหิดล

จะขอสรุปในส่วนที่เกี่ยวข้องกับห้องสมุด ดังนี้ Read the rest of this entry »

ทัศนศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
มี.ค. 24th, 2019 by sirinun

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ตั้งแต่เวลา 10.00 -12.00 น. โดยมี น.ส. ฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยาย และนำชมห้องสมุด

คุณฉัตรรัตน์ แสงคง (วิทยากร)

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 7.00 น. ของวันถัดไป  เป็น Learning Commons มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริหารพื้นที่ เปิดแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือ แบ่งพื้นที่ เป็น

  • ชั้นที่ 1 Business Zone ให้บริการร้านค้า ธนาคาร และมีจัดนิทรรศการ

  • ขั้นที่ 2 Tutoring Zone มีมุมให้อ่านหนังสือมากมาย นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมกลุ่มย่อย ให้ทำรายงานมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตามโต๊ที่นั่งอ่านหนังสือ เพื่อให้บริการผู้ใช้อย่างเพียงพอ

  • ขั้นที่ 3 Reading Zone  มีพื้นที่อ่านหนังสือที่สบาย มีทั้งที่นั่งอ่านหนังสือแบบเดียว และแบบกลุ่ม

  • ชั้นที่ 4 Language Center ห้องฝึกภาษาด้วยตนเอง  มีห้องชมภาพยนต์ 2 ห้อง

  • ชั้นที่ 5 Roof garden เป็นร้านกาแฟ มีบริการเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีวิวทิวทัศน์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

Read the rest of this entry »

Utilizing Library Data
มี.ค. 5th, 2019 by supaporn

Utilizing Library Data เป็นหัวข้อที่ 2 ที่  Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library) เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง  I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

Prof. Dr. Sam Oh ได้กล่าวถึงเครือข่ายและระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลด้านห้องสมุด ได้แก่

National Library Statistics System (http://libsta.go.kr โดย กระทรวงวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บข้อมูลห้องสมุดในด้านประเภทของห้องสมุด ความรับผิดชอบ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ โฮมเพจ ยูอาร์แอล เป็นต้น  จัดทำรายงานผลเป็นรูปแบบ visualization

KOLIS-NET (The National Cataloging System by NLK) เป็นเครือข่ายที่ห้องสมุดประชาชนมากกว่า 1,400 แห่ง และห้องสมุดของรัฐบาลสามารถใช้ระบบในการลงรายการทางบรรณานุกรมร่วมกันเป็นระบบกลางผ่าน KOLIS-NET (https://www.nl.go.kr/kolisnet/) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานในการลงเมทาดาทาที่ได้รับการยอมรับ สาระสังเขป และสารบัญ ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ มีการจัดทำ KOMARC  เพื่อเป็นมาตรฐานในการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นของประเทศตนเอง

National InterLibray Loan : Library One (https://www.nl.go.kr/nill/user/index.do) เป็นระบบการยืมระหว่างห้องสมุดแห่งชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้เพียงบัตรเดียวก็สามารถยืมได้

OCLC Classify (http://classify.oclc.org/classify2/)

เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของสหบรรณานุกรมใน WorldCat ซึ่งพัฒนาโดย OCLC นำเมทาดาทาที่อยู่ในระบบมาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเมทาดาทาอย่างง่ายพร้อมเลขหมู่ในระบบดิวอี้และระบบรัฐสภาอเมริกัน ช่วยให้บรรณารักษ์เห็นและเปรียบเทียบหัวเรื่องที่มีการให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังให้บรรณารักษ์ยืนยันข้อมูลผ่านระบบ VIAF (Virtual International Authority File) อีกด้วย เป็นการทำงานที่สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงในระบบของ OCLC

OCLC Classify

Read the rest of this entry »

i-School and Information Science Education in South Korea
มี.ค. 2nd, 2019 by pailin

จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง i-School and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh, Sungkyunkwan University, South Korea, SKKU Library  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562  ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้

i-School เป็นภาคีความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสารสนเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศจากหลากหลายสาขาในสถาบันต่างๆ มาร่วมกันแบ่งปัน องค์ความรู้ ประสบการณ์ ทรัพยากร เพื่อพัฒนาสร้างหลักสูตรด้าน Information Science ร่วมกัน ซึ่งมุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตที่จบมาให้สามารถหางานได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนำความต้องการในการทำงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาใช้ฝึกฝน เรียนรู้จากปัญหาที่พบในการทำงานจริง ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการในการรับบัณฑิตกลุ่มนี้เข้าทำงาน โดย i-School เริ่มต้นในปี 2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับความมือจากทวีปอื่น เช่น ยุโรป เอเซีย ตามมา แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ i-School

เนื่องจากในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราทุกคนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เราจึงควรนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีการนำข้อมูลจำนวนประชาชนที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์ในช่วงเวลาต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า จะเลือกรถเมล์สายใดในการเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ดูข้อมูลจากสถิติสัญญาณโทรศัพท์ที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของป้ายรถเมล์ ดังนั้น ในการนำข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของ Information Science ที่เป็นศาสตร์ในการศึกษา ความเชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์ ในความสัมพันธ์ของ 3 สิ่ง ได้แก่ มนุษย์ ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและบริหารจัดการสารสนเทศ ประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์ให้มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจ

วิทยากรได้แนะนำ i-School โดยมีลักษณะของการเป็นสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ จุดเด่นของ i-School เช่น การเป็น i-School จะเป็นการนำไปสู่การเป็น Data Science และ Digital humanities ซึ่งทั้งสองเรื่องสำคัญมากพอๆ กัน iPerspective (หรือ information perspective)  จะยั่งยืนได้ต้องมีใจที่เปิดกว้าง พนักงานหรือบุคลากรที่มีนวัตกรรมจะเป็นตัวเชื่อมนักศึกษาและอุตสาหกรรมในการทำงาน โครงการแลกเปลี่ยนที่เป็นสากลจะทำให้นักศึกษาที่มุมมองที่กว้างขึ้น ฯลฯ

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( UX Design Using Library Analytics)
มี.ค. 1st, 2019 by matupode

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิลได้บรรยายถึงที่มาของ “การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม
ในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 
สรุปความได้ดังนี้

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม เกิดจากความต้องการใช้บริการของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป  ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และงบประมาณที่หอสมุดมีอย่างจำกัด ทำให้ต้องเริ่มศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้บริการในด้านการใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือต่างๆ และพบคำว่า “UBIQUITOUS” ซึ่งหมายถึง การให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ ทุกช่องทาง จึงได้นำคำดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการให้บริการของสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของหอสมุดที่ว่า  “To be one of the best provider in ubiquitous learning and researching in Asia”

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดแนวทางในการพัฒนางานบริการออกเป็น 5 ระดับ โดยอ้างอิงทฤษฎีกรอบแนวความคิดจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประกอบด้วย

1. EMPATHIZE

2. DEFINE

3. IDEATE

4. PROTOTYPE

5. TEST

 

จากกรอบแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์  กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสัมภาษณ์ สรุปผล และระดมความคิดเพื่อจัดทำรูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ ดังรายละเอียด ดังนี้

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa