SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ทัศนศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
มีนาคม 24th, 2019 by sirinun

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้เข้าร่วมศึกษาดูงานที่ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ตั้งแต่เวลา 10.00 -12.00 น. โดยมี น.ส. ฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยาย และนำชมห้องสมุด

คุณฉัตรรัตน์ แสงคง (วิทยากร)

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 7.00 น. ของวันถัดไป  เป็น Learning Commons มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริหารพื้นที่ เปิดแก่นักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สำหรับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ นอกเหนือจากการอ่านหนังสือ แบ่งพื้นที่ เป็น

  • ชั้นที่ 1 Business Zone ให้บริการร้านค้า ธนาคาร และมีจัดนิทรรศการ

  • ขั้นที่ 2 Tutoring Zone มีมุมให้อ่านหนังสือมากมาย นอกจากนี้ยังมีห้องประชุมกลุ่มย่อย ให้ทำรายงานมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตามโต๊ที่นั่งอ่านหนังสือ เพื่อให้บริการผู้ใช้อย่างเพียงพอ

  • ขั้นที่ 3 Reading Zone  มีพื้นที่อ่านหนังสือที่สบาย มีทั้งที่นั่งอ่านหนังสือแบบเดียว และแบบกลุ่ม

  • ชั้นที่ 4 Language Center ห้องฝึกภาษาด้วยตนเอง  มีห้องชมภาพยนต์ 2 ห้อง

  • ชั้นที่ 5 Roof garden เป็นร้านกาแฟ มีบริการเครื่องดื่ม นอกจากนี้ยังมีวิวทิวทัศน์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  มีพื้นที่ให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวก ดังนี้

  • ขนาดพื้นที่ 15,300 ตารางเมตร
  • ที่นั่งอ่าน 1,440 ที่นั่ง
  • ห้องประชุมกลุ่มย่อย 13 ห้อง
  • คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นและอินเตอร์เน็ต 180 ที่นั่ง
  • ห้องปฏิบัิตการทางภาษา 20 ห้อง
  • ห้องฉายภาพยนตร์ 2 ห้อง ขนาด 40 ที่นั่ง

จุดเด่น คือ การเปิดบริการ 365 วัน มีเจ้าหน้าที่ดูแล อาคารเรียนร้อยและแก้ไขปัญหาการใช้ อาคารเบื้องต้น (9.00-16.00 น.) เจ้าหน้าที่ประจำ 16.00-24.00 น.  (เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานล่วงเวลาราชการ) ปัจจัยที่ช่วยเหลือสามารถให้บริการได้ลต่อเนื่องเกิดจากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสนับสนุนการบริการ ได้แก่

  • ระบบประตูเข้าออกอัตโนมัติ
  • ระบบเครือข่ายไร้สาย ครอบคลุมทุกพื้นที่ของอาคาร
  • ระบบสิ่งพิมพ์ เอกสารผ่านอินเตอร์เน็ต (โควตาปรินท์ 2oo บาท/ต่อภาคการศึกษาดำเนินการโดย สทส) ห้องสมุดให้บริการพื้นที่ในการวางเครื่องพิมพ์
  • ระบบจองห้องออนไลน์
  • บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้าผ่าน LINE@

 

นอกจากยังได้เยี่ยมชมหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ซึ่งเชื่อมต่อกันอย่างสะดวก จากศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ให้บริการสารสนเทศด้านมนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เปิดบริการ วันจันทร์-วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 9:00 น. – 21:00 น. ปิดบริการในวันหยุดนักขัตฤกษ์ มีการสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

ระบบค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ

  • WorldCat & WorldShareILL : ระบบค้นหาทรัพยากรทรัพยากรสารสนเทศจาก OCLC
  • KOHA : ระบบห้องสมุดอัตโนมัติของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • TUIDX : ระบบค้นหาบทความวารสาร
  • TU Digital Collections : ระบบค้นหาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์

บริการสารสนเทศ

ที่หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มีบริการจองหนังสือด้วยตัวเองได้โดยไม่ต้องเสียเวลาไปหาหนังสือตามชั้นหนังสือ เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

การจองหนังสือด้วยตัวเอง

ขั้นตอนในการจองหนังสือ มีดังนี้

  1. เข้าเว็บไซต์ Library.tu.ac.th เลือกเมนู My Account
  2. เลือเมนู New & View your info
  3. login เข้าสู่ระบบ
  4. พิมพ์ชื่อหนังสือที่ต้องการจอง
  5. ใช้คำสั่ง “Place hold” คำสังและแสดงที่มุมขวาของหน้าจอ
  6. เลือกห้องสมุดที่จะรับตัวเล่ม

นอกจากนี้ยังมีบริการยืมหนังสือโดยเครื่องอัตโนมัติ มีวิธีการใช้งานเครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ ระบบใหม่ ดังนี้

  1. กดเมนู ยืมหนังสือ และแตะบัตรประจำตัวนักศึกษา (บัตรสมาร์ท เพิรส์)
  2. ใส่รหัสผ่าน
  3. วางหนังสือ และตรวจสอบรายการยืม
  4. พิมพ์สลิปวันกำหนดส่งหนังสือ

เครื่องยืมหนังสืออัตโนมัติ

สิทธิ์ในการยืมหนังสือ จำนวน 20 เล่ม / 15 วันในส่วนการคืนหนังสือก็มีตู้คืนหนังสืออัตโนมัติที่อยู่ด้านข้างของอาคารหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ สามารถคืนหนังสือได้ 24 ชม.

ในการคืนหนังสือหอสมุดยังมีตู้ Book Drop ไว้รับคืนหนังสือตามจุดต่าง ๆ เพื่อความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการ

หอสมุดมีตู้ Book Drop ไว้รับคืนหนังสือ

ตู้ Book Drop

สิ่งที่ผู้ใช้ต้องรับรู้ในของส่วนค่าปรับเกินกำหนดค้างส่ง มีดังนี้

  • หนังสือทั่วไป      5 บาท/เล่ม/วัน
  • หนังสือสำรอง   10 บาท/เล่ม/วัน

หอสมุดได้การปรับรูปแบบการชำระค่าปรับหนังสือด้วยบัตรสมาร์ท เพิรส์ แทนการใช้เงินสด ซึ่งอัตราค่าปรับ วันละ 5 บาท มี Limit สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาท และมีส่วนลดถ้ามีหนังสือจำนวนมากที่ค้างส่งเกินกำหนด  ในกรณีที่ยังไม่จ่ายค่าปรับที่ค้างส่งเกินกำหนดไม่สามารถยืมหนังสือได้ นักศึกษาที่ต้องการแจ้งจบการศึกษต้องจ่ายค่าปรับให้เรียบร้อยก่อน จึงจะแจ้งจบการศึกษาได้ นอกจากนี้นักศึกษาสามารถจองหนังสือด้วยตนเองได้

นอกจากนี้มีบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า เป็นการพัฒนาเชิงรุก เพื่อยกระดับความพึงพอใจผู้รับบริการด้วยนำแอพลิเคชั่น LINE@ มาประยุกต์ใช้ในการบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า บริการนำส่งและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชาของ 5 คณะ ได้แก่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ โดยการจัดทำรายชื่อหนังสือประกอบการเรียนการสอน (Reading list) แสดงข้อมูลในหน้าเว็บ OPAC ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลหนังสือประกอบการเรียนการสอนแต่ละวิชาได้จากรายชื่ออาจารย์ผู้สอนและรหัสวิชา

หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์มีพื้นที่ให้บริการที่อำนวยความสะดวก ดังนี้

  • ขนาดพื้นที่ 18,669 ตารางเมตร
  • ที่นั่งอ่าน 1,758 ที่นั่ง
  • ห้อง Study Room 6 ห้อง
  • ห้องมัลติมีเดีย (คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้น และอินเตอร์เน็ต) 65 ที่นั่ง
  • ห้องนิเทศการศึกษา (ห้องส่งเสริมการเรียนรู้สารสนเทศ) 27 ที่นั่ง
  • ห้องกิจกรรม 120 ที่นั่ง

ในการใช้ห้อง Study Room  ที่หอสมุดมีข้อปฏิบัติ ดังนี้

  1. ไม่อนุญาตให้ทำกิจกรรมอย่างอื่น ยกเว้นติวหนังสือเท่านั้น
  2. ไม่ส่งเสียงดังรบกวนห้องกลุ่มย่อยอื่น
  3. ไม่อนุญาตให้นำอาหาร ขนม และเครื่องดื่มทุกประเภท (ยกเว้นน้ำเปล่า)
  4. ห้ามนำเบาะนั่ง เข้ามาใช้ภายในห้องกลุ่มย่อย
  5. หลังจากใช้ห้องสมุดเสร็จแล้ว กรุณาแจ้งเจ้าหน้าที่ทุกครั้ง
  6. โปรดช่วยกันรักษาความสะอาจทุกครั้งที่ใช้ห้อง

ทรัพยากรห้องสมุด

  1. หนังสือ 966,459 เล่ม
  2. วารสาร 1,713 เล่ม
  3. เอกสาร 36,310 ชื่อเรื่อง
  4. ทรัพยากรในคลังหนังสือ 276,960 เล่ม
  5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ 41,236 รายการ
  6. ฐานข้อมูลออน์ไลน์ 64 ฐาน

ฐานข้อมูลออน์ไลน์

สิ่งที่น่าสนใจในการดูงาน คือ

1. การนำ Line@ มาใช้เพื่อตอบสนองการให้บริการมากขึ้น ถือว่าเป็นการนำสื่อสังคมออนไลน์มาใช้กับบริการของห้องสมุดได้อย่างดี

2. ความพยายามในการจัดทำป้ายเพื่อการให้ความรู้และสื่อสารกับผู้ใช้บริการ ที่มีถึง 5 ภาษา

3. การนำเทคโนโลยีมาใช้ในประโยชน์เพื่อแทนการใช้บุคลากรมาปฏิบัติงาน

 


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa