ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์ นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from South Korea วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
- กำหนดปัญหา
- รวบรวมข้อมูล
- ประเมินคุณภาพ
- การสังเคราะห์
- การแปลผล
บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา
Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น
- EBSCOhost
- Proquest
- CiteSeerx
- ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
- Google scholar
- Books
- Journal articles
- Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น
Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)
มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง
Librarian as consultant (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นที่ปรึกษา)
1.ให้ข้อมูลหรือแนะนำนักวิจัย ถึงมาตรฐานกระบวนการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เช่น IOM, PRISMA, Cochrance
2. ช่วยนักวิจัยในการค้นหาฐานข้อมูลที่มีความหลากหลาย
3. ช่วยจัดการเรื่องการอ้างอิงที่ซ้ำซ้อนกัน
4. จัดหาคู่มือเบื้องต้นในการคัดกรองข้อมูล
5. ช่วยนักวิจัยในการจัดหาเอกสารหรือข้อมูล โดยรวมเรื่องขั้นตอนหรือกระบวนการแบบ PRISMA การอ้างอิงและกลวิธีในการสืบค้น เป็นต้น
6. ช่วยแนะแนวทางในการเขียนผลงานตีพิมพ์
Librarian as educator (บรรณารักษ์ในฐานะผู้ให้ความรู้/ผู้ให้การศึกษา)
โดยการจัดหาหรือให้วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบให้กับผู้ใช้หรือนักวิจัย บนเว็บไซต์ควรมีข้อมูลเกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ มีเครื่องมือหรือ template ในการสืบค้นตามแบบ PICO หรือ PRISMA เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้ใช้ เป็นต้น ตัวอย่างเว็บไซต์ของการให้การศึกษาผู้ใช้ของมหาวิทยาลัยต่างประเทศ
New York University Library
New York University Library
The University of Texas : Health Science Center of Houston
University of Texas : Health Science Center at Houston
Cornell University Library
Cornell University Library
ความท้าทาย / โอกาส / ประโยชน์ ที่บรรณารักษ์จะได้รับจากการมีส่วนร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม
- ได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสืบค้นและจัดการข้อมูล
- ได้พัฒนาทักษะในวิชาชีพ
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ใช้ห้องสมุด/ กลุ่มวิจัยและห้องสมุด
- เพิ่มความตระหนักในคุณค่าของห้องสมุดในการสนับสนุนการวิจัย แก่สถาบันโดยเฉพาะสถาบันที่มีพันธกิจด้านการวิจัย
วิทยากรเสนอแนะว่า เว็บไซต์ของห้องสมุดในประเทศไทย ควรจะมีข้อมูลหรือการให้ความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้อาจารย์ นักวิจัยและนักศึกษาในการทำวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ได้เป็นอย่างดี