SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Utilizing Library Data
มี.ค. 5th, 2019 by supaporn

Utilizing Library Data เป็นหัวข้อที่ 2 ที่  Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library) เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง  I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

Prof. Dr. Sam Oh ได้กล่าวถึงเครือข่ายและระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลด้านห้องสมุด ได้แก่

National Library Statistics System (http://libsta.go.kr โดย กระทรวงวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บข้อมูลห้องสมุดในด้านประเภทของห้องสมุด ความรับผิดชอบ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ โฮมเพจ ยูอาร์แอล เป็นต้น  จัดทำรายงานผลเป็นรูปแบบ visualization

KOLIS-NET (The National Cataloging System by NLK) เป็นเครือข่ายที่ห้องสมุดประชาชนมากกว่า 1,400 แห่ง และห้องสมุดของรัฐบาลสามารถใช้ระบบในการลงรายการทางบรรณานุกรมร่วมกันเป็นระบบกลางผ่าน KOLIS-NET (https://www.nl.go.kr/kolisnet/) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานในการลงเมทาดาทาที่ได้รับการยอมรับ สาระสังเขป และสารบัญ ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ มีการจัดทำ KOMARC  เพื่อเป็นมาตรฐานในการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นของประเทศตนเอง

National InterLibray Loan : Library One (https://www.nl.go.kr/nill/user/index.do) เป็นระบบการยืมระหว่างห้องสมุดแห่งชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้เพียงบัตรเดียวก็สามารถยืมได้

OCLC Classify (http://classify.oclc.org/classify2/)

เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของสหบรรณานุกรมใน WorldCat ซึ่งพัฒนาโดย OCLC นำเมทาดาทาที่อยู่ในระบบมาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเมทาดาทาอย่างง่ายพร้อมเลขหมู่ในระบบดิวอี้และระบบรัฐสภาอเมริกัน ช่วยให้บรรณารักษ์เห็นและเปรียบเทียบหัวเรื่องที่มีการให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังให้บรรณารักษ์ยืนยันข้อมูลผ่านระบบ VIAF (Virtual International Authority File) อีกด้วย เป็นการทำงานที่สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงในระบบของ OCLC

OCLC Classify

Read the rest of this entry »

บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย
ก.พ. 27th, 2019 by dussa

ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์  นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้

การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  1. กำหนดปัญหา
  2. รวบรวมข้อมูล
  3. ประเมินคุณภาพ
  4. การสังเคราะห์
  5. การแปลผล

บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา

Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น

  1. EBSCOhost
  2. Proquest
  3. CiteSeerx
  4. ฐานข้อมูลงานวิจัยไทย (https://www.researchgateway.in.th/)
  5. Google scholar
  6. Books
  7. Journal articles
  8. Google สืบค้นฐานข้อมูลหน่วยงานรัฐบาลและองค์กรเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น

Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)

มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa