SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
เมื่อได้มาดูงานศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ หอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
เมษายน 4th, 2019 by piyanuch

เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2562  ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ศึกษาดูงานที่ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)  โดยมี นางสาวฉัตรรัตน์ แสงคง  เป็นผู้บรรยายและนำชมห้องสมุด เริ่มต้นการสรุปแนวทางการบริหารงานของหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิสัยทัศน์

เป็นหนึ่งในผู้นำด้านส่งเสริมการเรียนรู้และการวิจัยทุกที่ทุกเวลาในระดับเอเชีย

พันธกิจ
1. บริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
2. ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศและสิ่งอำนวยความสะดวก
3. พัฒนาองค์กรสู่ความเป็นสากลอย่างยั่งยืน

ค่านิยม
T   Thammasat Spirit     จิตวิญญาณธรรมศาสตร์
U   Unity                            ทีมมุ่งมาดสามัคคี
L   Leadership                   ด้วยวิถีแห่งผู้นำ
I    Innovative                   ใช้นวัตกรรมล้ำสมัย
B   Benevolence                มีจิตใจให้บริการ
S   Sharing                        เอื้อเฟื้องานและแบ่งปัน

ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์   (Krom Luang Naradhiwas Rajanagarinda Learning Centre) หรือ ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเองแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (Self Access Learning Center) เป็นอาคาร 5 ชั้น มีการจัดสรรพื้นที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองได้อย่างดียิ่งและสวยงาม มีพื้นที่ให้บริการประมาณ 15,300 ตารางเมตร  ประกอบด้วย ที่นั่งอ่าน 1,440 ที่นั่ง ห้องประชุมกลุ่มย่อย 13 ห้อง คอมพิวเตอร์เพื่อการสืบค้นและอินเตอร์เน็ต 180 ที่นั่ง ห้องปฏิบัติการทางภาษา 20 ห้อง และห้องฉายภาพยนตร์ 2 ห้อง ขนาด 40 ที่นั่ง

การจัดสรรพื้นที่การเรียนรู้ด้วยตนเอง

ชั้นที่ 1: โซนธุรกิจ (BUSINESS ZONE AND TEMPORARY EXHIBITION)

ชั้นที่ 2: โซนทบทวนความรู้ (TUTORING ZONE) ห้องประชุมกลุ่มย่อย

ชั้นที่ 3: โซนอ่านหนังสือ (LIVING ZONE)

ชั้นที่ 4: ศูนย์ภาษา ห้องชมภาพยนตร์ (LANGUAGE CENTER AND MINI THEATER)

ชั้นที่ 5: ร้านกาแฟ (COFFEE SHOP)

จุดเด่น ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์  

การเปิดบริการ 365 วัน มีเจ้าหน้าที่ดูแลอาคารเพียง 1 คน ในการดูแลความเรียบร้อยและแก้ไขปัญหาการใช้อาคารเบื้องต้น เวลา 09.00-16.00 น.  และมีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานล่วงเวลา 16.00-24.00 น. จึงมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสนับสนุนการบริการและการบริหารจัดการแทนบุคลากร ได้แก่

1 ระบบประตูเข้าออกอัตโนมัติ

2. ระบบเครือข่ายไร้สายครอบคลุมทุกพื้นที่ของอาคาร ห้องสมุดสาขาทุกแห่งมีระบบ Wi-Fi ให้บริการสำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับอาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยการ login ด้วย username และ password ที่มหาวิทยาลัยกำหนดให้

 

3. ระบบสั่งพิมพ์เอกสารผ่านอินเตอร์เน็ต (โควตปริ้นท์ 200 บาท/ต่อภาคการศึกษา) นักศึกษาสามารถ print งานเอกสารต่างๆ ได้ที่ ชั้น 4 ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อความสะดวกของนักศึกษาในการทำรายงาน print เอกสารต่างๆ

4. ระบบจองห้องออนไลน์ (Tutoring) เป็นหนึ่งในการพัฒนานวัตกรรมการบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่นักศึกษาในการเข้าใช้บริการห้อง โดยสามารถจองล่วงหน้าก่อนเข้าใช้งานจริง

5. การนำแอปพลิเคชั่นไลน์แอด (Line@) มาช่วยในการให้บริการ เช่น การให้บริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า การกบริการช่วยหาหนังสือที่หาไม่พบ การประชาสัมพันธ์ การบริการรับ-ส่งหนังสือ และกิจกรรมเชิงรุกของห้องสมุด เป็นต้น

พื้นที่การเรียนรู้ที่ ศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์

ในภาพอาจจะมี สถานที่ในร่ม

ส่วนหอสมุดป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ได้มีการสร้างทางเชื่อมต่อกับศูนย์การเรียนรู้กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เพื่อให้สามารถเดินมาใช้บริการได้อย่างสะดวก

หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ให้บริการสารสนเทศด้านมนุษยศาสตร์  สังคมศาสตร์  วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ เปิดบริการ วันจันทร์-วันอาทิตย์ เวลา 09.00 – 21.00 น. (ในช่วงสอบ เปิดถึง 24.00 น.) ภายในมีบริการยืม-คืน หนังสือทุกประเภท  วิทยานิพนธ์ หนังสือหายาก นวนิยาย นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ ทั้งยังมีบริการ คอมพิวเตอร์ พร้อมอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง ปริ้นท์เอกสารฟรีไว้คอยบริการ พร้อมติดตั้งเครือข่ายไร้สายภายในห้องสมุด ตามโครงการ Wireless Campus

ในปีงบประมาณ 2561 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มีการพัฒนาเชิงรุก เพื่อยกระดับความพึงพอใจผู้รับบริการด้วยการนำแอบพิเคชั่น line@ มาประยุกต์ใช้ในงานตอบคำถามและช่วยค้นคว้า รับคำร้องกรณีหาหนังสือไม่พบบริการนำส่งและรับคืนทรัพยากรสารสนเทศแก่อาจารย์และนักวิจัย นอกจากนี้ได้พัฒนาช่องทางการเข้าถึงสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนรายวิชา 5 คณะ ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ โดยการจัดทำรายชื่อหนังสือประกอบการเรียนการสอน (Reading list) แสดงข้อมูลหน้า OPAC ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลหนังสือประกอบการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาได้จากรายชื่ออาจารย์ผู้สอนและรหัสวิชา

ระบบค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

  • ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ KOHA มาช่วยในการบริหารจัดการงานห้องสมด KOHA เป็นซอฟต์แวร์แบบ Open source
  • นำระบบ One Search ของบริษัท EBSCOhost และระบบ WorldCat Local & WorldShareILL ระบบค้นหาทรัพยากรทรัพยากรสารสนเทศจาก OCLC
  • TUIDX : ระบบค้นหาบทความวารสาร
  • TU Digital Collections : ระบบค้นหาทรัพยากรอิเล็กทรอนิกส์
  • การเข้าถึงเครือข่ายด้วยการตั้งค่า PROXY บนเว็บเบราเซอร์ การตั้งค่า Proxy บนเว็บเบราเซอร์ ช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้งานทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดและเข้าถึงบริการต่างๆ ได้ไม่จำกัดเสมือนอยู่ภายในที่ตั้งของมหาวิทยาลัย

การสื่อสารกับผู้ใช้บริการ

มีการจัดป้าย เพื่อการสื่อสารให้ใช้บริการทราบถึง วัตถุประสงค์การให้บริการ คุณภาพการให้บริการ ระเบียบการใช้ห้องสมุด การเข้าถึงสารสนเทศ การขอความร่วมมือ  เช่น

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

ระเบียยการใช้ห้องสมุด

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

วัตถุประสงค์คุณภาพ

 

ป้ายข้อความวิธีการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ เช่น

 

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

การยืมต่อหนังสือ

 

การจองหนังสือด้วยตัวเอง

ป้ายข้อความในการขอความร่วมมือ เช่น

การบริหารจัดการชั้นหนังสือ

          

มีป้ายบอกหมวดหมู่หนังสือที่เป็นระเบียบ ชัดเจน และสวยงาม

มี Line@ ช่วยในการบริการตอบคำถาม งานบริการช่วยค้นหาหนังสือ รวมถึงมีเบอร์ติดต่อ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน เป็นต้น

มีป้ายบอกวิธีการจัดเรียงหนังสือบนชั้น และตารางการปฏิบัติงานเรียงหนังสือขึ้นชั้น

การจัดสรรพื้นที่อ่านได้สวยงาม รวมถึงมีที่สำรองที่นั่งอ่านผู้ใช้ Wheelchair

การเตรียมพร้อมสำหรับการจำหน่ายหนังสือออก

ในเบื้องต้น มีการคัดหนังสือที่ไม่มีสถิติการยืม หนังสือบริจาค หนังสือเก่าล้าสมัย วิทยานิพนธ์ที่เป็นไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เป็นต้น

ผู้เขียนขอขอบคุณ ผู้บรรยายและบุคลากรที่ให้คำอธิบายในแต่ละพื้นที่ มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa