SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Utilizing Library Data
มี.ค. 5th, 2019 by supaporn

Utilizing Library Data เป็นหัวข้อที่ 2 ที่  Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library) เป็นวิทยากรบรรยายในงานสัมมนา เรื่อง  I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562

Prof. Dr. Sam Oh ได้กล่าวถึงเครือข่ายและระบบที่มีการจัดเก็บข้อมูลด้านห้องสมุด ได้แก่

National Library Statistics System (http://libsta.go.kr โดย กระทรวงวัฒนธรรม) มีการจัดเก็บข้อมูลห้องสมุดในด้านประเภทของห้องสมุด ความรับผิดชอบ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ เบอร์แฟกซ์ โฮมเพจ ยูอาร์แอล เป็นต้น  จัดทำรายงานผลเป็นรูปแบบ visualization

KOLIS-NET (The National Cataloging System by NLK) เป็นเครือข่ายที่ห้องสมุดประชาชนมากกว่า 1,400 แห่ง และห้องสมุดของรัฐบาลสามารถใช้ระบบในการลงรายการทางบรรณานุกรมร่วมกันเป็นระบบกลางผ่าน KOLIS-NET (https://www.nl.go.kr/kolisnet/) เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2001 มีการสนับสนุนให้มีมาตรฐานในการลงเมทาดาทาที่ได้รับการยอมรับ สาระสังเขป และสารบัญ ทั้งนี้ ประเทศเกาหลีใต้ มีการจัดทำ KOMARC  เพื่อเป็นมาตรฐานในการลงรายการทางบรรณานุกรมเป็นของประเทศตนเอง

National InterLibray Loan : Library One (https://www.nl.go.kr/nill/user/index.do) เป็นระบบการยืมระหว่างห้องสมุดแห่งชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งใช้เพียงบัตรเดียวก็สามารถยืมได้

OCLC Classify (http://classify.oclc.org/classify2/)

เป็นระบบที่เก็บข้อมูลทางบรรณานุกรมของสหบรรณานุกรมใน WorldCat ซึ่งพัฒนาโดย OCLC นำเมทาดาทาที่อยู่ในระบบมาวิเคราะห์ ซึ่งสามารถให้ข้อมูลเมทาดาทาอย่างง่ายพร้อมเลขหมู่ในระบบดิวอี้และระบบรัฐสภาอเมริกัน ช่วยให้บรรณารักษ์เห็นและเปรียบเทียบหัวเรื่องที่มีการให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังให้บรรณารักษ์ยืนยันข้อมูลผ่านระบบ VIAF (Virtual International Authority File) อีกด้วย เป็นการทำงานที่สัมพันธ์หรือเชื่อมโยงในระบบของ OCLC

OCLC Classify

Read the rest of this entry »

i-School and Information Science Education in South Korea
มี.ค. 2nd, 2019 by pailin

จากการเข้าร่วมสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง i-School and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh, Sungkyunkwan University, South Korea, SKKU Library  เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562  ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต สามารถสรุปเนื้อหาได้ ดังนี้

i-School เป็นภาคีความร่วมมือของสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการบริหารจัดการสารสนเทศ โดยมีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสารสนเทศจากหลากหลายสาขาในสถาบันต่างๆ มาร่วมกันแบ่งปัน องค์ความรู้ ประสบการณ์ ทรัพยากร เพื่อพัฒนาสร้างหลักสูตรด้าน Information Science ร่วมกัน ซึ่งมุ่งหวังในการผลิตบัณฑิตที่จบมาให้สามารถหางานได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มต้นจากการนำความต้องการในการทำงานจากภาคอุตสาหกรรมและบริษัทเอกชนมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร กำหนดโจทย์ให้นักศึกษาใช้ฝึกฝน เรียนรู้จากปัญหาที่พบในการทำงานจริง ทำให้ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้ประกอบการในการรับบัณฑิตกลุ่มนี้เข้าทำงาน โดย i-School เริ่มต้นในปี 2003 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และได้รับความมือจากทวีปอื่น เช่น ยุโรป เอเซีย ตามมา แต่สำหรับประเทศไทยยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิกของ i-School

เนื่องจากในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเราทุกคนได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตและการทำงาน เราจึงควรนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ตัวอย่างเช่น ที่ประเทศเกาหลีใต้ มีการนำข้อมูลจำนวนประชาชนที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์ในช่วงเวลาต่างๆ มาใช้เป็นเครื่องมือในการตัดสินใจว่า จะเลือกรถเมล์สายใดในการเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยวิเคราะห์ดูข้อมูลจากสถิติสัญญาณโทรศัพท์ที่กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ของป้ายรถเมล์ ดังนั้น ในการนำข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่รอบตัวเรามาใช้ให้เกิดประโยชน์นั้น จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความเข้าใจ ในหลักการของ Information Science ที่เป็นศาสตร์ในการศึกษา ความเชื่อมโยง ปฎิสัมพันธ์ ในความสัมพันธ์ของ 3 สิ่ง ได้แก่ มนุษย์ ข้อมูลสารสนเทศ และเทคโนโลยี โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บและบริหารจัดการสารสนเทศ ประมวลผลข้อมูลเหล่านั้น แล้วนำมาวิเคราะห์ให้มนุษย์ใช้ในการตัดสินใจ

วิทยากรได้แนะนำ i-School โดยมีลักษณะของการเป็นสมาชิกในหลากหลายรูปแบบ จุดเด่นของ i-School เช่น การเป็น i-School จะเป็นการนำไปสู่การเป็น Data Science และ Digital humanities ซึ่งทั้งสองเรื่องสำคัญมากพอๆ กัน iPerspective (หรือ information perspective)  จะยั่งยืนได้ต้องมีใจที่เปิดกว้าง พนักงานหรือบุคลากรที่มีนวัตกรรมจะเป็นตัวเชื่อมนักศึกษาและอุตสาหกรรมในการทำงาน โครงการแลกเปลี่ยนที่เป็นสากลจะทำให้นักศึกษาที่มุมมองที่กว้างขึ้น ฯลฯ

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea
ก.พ. 23rd, 2019 by supaporn

I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการสัมมนา เรื่อง I-School and Data Science: Knowledge and Experience from South Korea ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 มีผู้เข้าร่วมฟังการบรรยาย ประมาณ 120 คน ประกอบด้วยการบรรยาย 5 หัวข้อ ได้แก่

I-school and Information Science Education in South Korea โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

Utilizing Library Data โดย Prof. Dr. Sam Oh (Sungkyunkwan University, South Korea Dean, SKKU Library)

บทบาทของบรรณารักษ์กับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ: ประสบการณ์จากการวิจัย (Systematic review) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤตย์ นิ่มสมบุญ อาจารย์ประจำสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม (UX Design using Library Analytics) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิล ผู้อำนวยการหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การใช้แอปพลิเคชั่นไลน์แอดเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย นางสาวกรวรรณ ดีวาจา บรรณารักษ์ห้องสมุดนงเยาว์ ชัยเสรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa