SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลเชิงพฤติกรรม ( UX Design Using Library Analytics)
มีนาคม 1st, 2019 by matupode

ผู้ช่วยศาสตราจารย์เอกรินทร์ ยลระบิลได้บรรยายถึงที่มาของ “การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม
ในงานสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from  South Korea  วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 
สรุปความได้ดังนี้

การออกแบบประสบการณ์ให้ผู้ใช้งานด้วยข้อมูลพฤติกรรม เกิดจากความต้องการใช้บริการของนักศึกษาที่เปลี่ยนไป  ประกอบกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และงบประมาณที่หอสมุดมีอย่างจำกัด ทำให้ต้องเริ่มศึกษาพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้ใช้บริการในด้านการใช้ชีวิต การใช้เครื่องมือต่างๆ และพบคำว่า “UBIQUITOUS” ซึ่งหมายถึง การให้บริการทุกที่ ทุกเวลา ทุกเครื่องมือ ทุกช่องทาง จึงได้นำคำดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการให้บริการของสำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของหอสมุดที่ว่า  “To be one of the best provider in ubiquitous learning and researching in Asia”

สำนักหอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนดแนวทางในการพัฒนางานบริการออกเป็น 5 ระดับ โดยอ้างอิงทฤษฎีกรอบแนวความคิดจากมหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด ประกอบด้วย

1. EMPATHIZE

2. DEFINE

3. IDEATE

4. PROTOTYPE

5. TEST

 

จากกรอบแนวความคิดดังกล่าว ได้นำมาจัดทำแบบสัมภาษณ์  กำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับสัมภาษณ์ สรุปผล และระดมความคิดเพื่อจัดทำรูปแบบการให้บริการสำหรับผู้ใช้บริการ ดังรายละเอียด ดังนี้

1. แบบสัมภาษณ์ ประกอบด้วย

– ข้อมูลส่วนตัว

– คำถามหลักๆ เช่นถ้าคิดถึงห้อสมุดที่ชอบที่สุดจะนึกถึงห้องสมุด?  ให้ผู้ใช้บริการประเมินหอสมุดธรรมศาสตร์?  สิ่งที่ชอบและไม่ชอบในหอสมุดธรรมศาสตร์? ในอนาคตอยากเห็นหอสมุดธรรมธรรมศาสตร์เป็นอย่างไร?

 

 

 

2. กลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ ประกอบด้วย

– ผู้บริหาร

– นักศึกษา (นักศึกษาทั่วไป นักศึกษาแลกเปลี่ยน นักศึกษาพิเศษ)

– นักวิจัย

– บุคลากร

– ผู้ใช้บริการภายนอก

 

 

3. สรุปผล สรุปผลความต้องการของแต่ละกลุ่ม ว่าแต่ละกลุ่มต้องการให้หอสมุดจัดทำบริการด้านใดบ้าง

4. จัดทำรูปแบบการให้บริการหลังจากรวบรวมข้อมูลหอสมุดได้จัดทำรูปแบบการให้บริการในลักษณะ  “WOW Services” ประกอบด้วย

– TU e-Thesis

– Book Delivery

– Research Support Service

– Reading List

– Library  come to you

– Deep Quiet Zone

– Sign, Directory 5 Languages

– New Access Control

จากรูปแบบการให้บริการที่หอสมุดแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จัดทำขึ้น มีกระแสตอบรับที่ดีมากจากผู้ใช้บริการ จะเห็นได้จากจำนวนยอดผู้ติดตามผ่าน Facebook ของหอสมุด จำนวนเกือบ 70,000 คนในปัจจุบัน(https://www.facebook.com/Thammasat-University-Library-100107346702609/)


Comments are closed

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa