บทความตอนที่แล้ว ได้เขียนนำความถึงแนวทางในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ของ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ ผู้พิจารณาเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติเข้ามาในประเทศไทย ทำให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกลายเป็นผู้บุกเบิกและมีผู้เห็นด้วยในการเลือกซื้อระบบเดียวกันนี้ อีกหลายแห่ง แนวทางนี้ไม่ล้าสมัยเลย ผู้เขียนได้ยึดแนวทางนี้มาเป็นตัวตั้งต้น เช่นเดียวกัน
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
บวกกับต้องพิจารณาเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามาอีก 24 ปี นับจากปี พ.ศ. 2536 เพราะมีเทคโนโลยีที่ก้าวผ่านเข้ามาเกี่ยวข้องกับห้องสมุดเป็นอย่างมาก เช่น Web 2.0, Mobile Technology และ Cloud Computing เป็นจุดเปลี่ยนจากเดิมที่ห้องสมุด ทำหน้าที่เป็น pull model คือ acquire / store / lend / find กลายเป็น push model คือ acquire / store / broadcast / converse และยิ่งมาถึงยุค mobile technology ด้วยแล้ว การเข้าถึงสารสนเทศเข้าได้ง่าย เหมือนกับมีถนนทางเข้า มีถนนให้รถวิ่ง แต่รถวิ่งเข้ามาแล้ว พบอะไร ในห้องสมุดหรือไม่ เมื่อ Cloud technology เริ่มเข้ามามีบทบาทในการให้บริการมากขึ้น ก็ยิ่งเป็นประเด็นที่ทำให้เริ่มจับตามองบริการผ่าน cloud มากขึ้น Read the rest of this entry »
เมื่อครั้งเริ่มเข้ามาทำงานที่มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารระดับสูงในการพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ เพื่อมาทดแทนระบบเดิม ซึ่งไม่ได้มีการพัฒนาเพิ่มเติม และมีการหยุดชะงักของระบบเป็นหลายช่วง และผู้อำนวยการศูนย์บรรณสารสนเทศ คนก่อนได้ศึกษาไปบ้างแล้ว แต่ข้อมูลหลายอย่างๆ ยังไม่เพียงพอที่จะตัดสินใจ จึงได้มีการมอบหมายให้ศึกษาใหม่อีกครั้ง
การพิจารณาระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบใหม่ จึงเริ่มต้นด้วยการศึกษาวรรณกรรมที่กล่าวถึงพัฒนาการหรือเทคโนโลยีที่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ควรจะเป็นแบบใด และนำมารวมกับประสบการณ์ที่เคยทำงานเป็นบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศมานานถึง 18 ปี และคุ้นเคยกับระบบห้องสมุดอัตโนมัติระบบแรกที่ถูกนำมาใช้ในประเทศไทย ประสบการณ์ในการเริ่มต้นตั้งแต่การรับทราบปัจจัยในการเลือกระบบห้องสมุดอัตโนมัติของผู้บริหาร เมื่อครั้งที่ทำงานอยู่ที่สถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำได้ว่า ผู้อำนวยการในขณะนั้น คือ รองศาสตราจารย์ ดร. ประจักษ์ พุ่มวิเศษ (และเป็นผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ในขณะนี้) ได้เริ่มต้นศึกษา และมีการไปศึกษาดูงานระบบห้องสมุดอัตโนมัติในหลายประเทศ พร้อมกับให้บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเดินทางไปห้องสมุดต่างประเทศ เพื่อศึกษาการนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ สรุปสุดท้าย เมื่อพิจารณาระบบที่มีความเหมาะสมในขณะนั้นแล้ว การเป็นผู้บุกเบิกระบบใหม่ๆ หรือนวัตกรรมใหม่ หรือสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในห้องสมุด ล้วนต้องประสบกับการไม่รู้ เพราะไม่มีใครในประเทศไทยรู้เรื่องเหล่านี้ มาก่อน บรรณารักษ์รุ่นเด็กอย่างผู้เขียน ยังไม่หนักมากเท่าบรรณารักษ์รุ่นพี่ ที่ต้องพยายามผลักดันให้เกิดระบบและใช้งานจนได้ Read the rest of this entry »
“เอกสาร” จัดว่าเป็นหลักฐานการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ของหน่วยงานหรือองค์กร เอกสารที่อยู่ระหว่างปฏิบัติงานจะมีคุณค่าบริหารงานในช่วงเวลานั้นๆ แต่เมื่อสิ้นสุดการใช้งานที่เรียกว่า “เอกสารสิ้นกระแสการใช้” จะมีทั้งเอกสารที่ต้องทำลาย และเอกสารสำคัญที่มีคุณค่าในด้านบริหารงาน คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ คุณค่าด้านการศึกษาวิจัยต้องเก็บรักษาไว้ เราเรียกเอกสารนั้นว่า “เอกสารจดหมายเหตุ”
เมื่อปี พ.ศ.2540 ศาสตราจารย์ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย เข้ารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ท่านได้เสนอขอจัดตั้งหอจดหมายเหตุต่อสภามหาวิทยาลัยฯ เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมเอกสารที่สิ้นกระแสการใช้งานของหน่วยงานและเป็นเอกสารที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณค่ามาจัดเก็บในหอจดหมายเหตุ และเล็งเห็นว่า การที่จะทำให้หอจดหมายเหตุมหาวิทยาลัยฯ เข้มแข็ง จะต้องมีเอกสารที่มีคุณค่าส่งมาเก็บได้อย่างต่อเนื่อง ท่านจึงได้วางระบบจัดเก็บเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ขึ้น โดยการแต่งตั้งคณะทำงานชุดต่างๆ จัดระบบเอกสารของมหาวิทยาลัยฯ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ตั้งแต่การจัดระบบหมวดหมู่การจัดเก็บเอกสาร การกำหนดอายุเอกสาร การทำลายเอกสาร และการส่งมอบเอกสารให้กับหอจดหมายเหตุ ผ่านคณะทำงาน 3 ชุด คือ
Read the rest of this entry »
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ให้ความสำคัญของการเข้าร่วมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อร่วมกันศึกษาแนวทางการทำงานห้องสมุด เพื่อวางแผน พัฒนา ปรับปรุงการให้บริการห้องสมุด มุ่งเน้นประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพการบริหารจัดการของห้องสมุด
เครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา
สมาชิกเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา รอบที่ 1 ถึง รอบปีที่ 5 ดังนี้
ข้อตกลงเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุด ด้านประกันคุณภาพการศึกษา Read the rest of this entry »
ด้วยตำแหน่งคือ บรรณารักษ์ ทำหน้าที่ลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาจีน จึงขอแนะนำประโยคภาษาจีนไปใช้สนทนาในเบื้องต้น โดยได้กำกับคำอ่านภาษาไทยไว้ให้อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่ทำงานด้านห้องสมุดนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ (บางคำจะเป็นคำที่ใช้ในศูนย์บรรณสารสนเทศ)
คำศัพท์ที่ใช้บ่อยในห้องสมุด
ผมใช้ประโยชน์จากโปรแกรม Adobe Photoshop ในตอนเรียนเป็นอย่างมาก และยังมีโอกาสใช้ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง ผมเห็นว่า เป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มาก จึงขอแบ่งปันความรู้ การใช้โปรแกรมนี้ แต่คงเป็นเบื้องต้นก่อนนะครับ และอาจจะมีการแนะนำเทคนิคการใช้อื่นๆ อีกในตอนต่อไป ผมขอเริ่มจาก
1.การตั้งค่าพื้นฐาน
หลังจากเปิด Adobe Photoshop ขึ้นมา คลิ๊กที่เมนู File > New (icon File จะอยู่มุมซ้ายบนสุด) โปรแกรมจะให้เรากำหนดค่าต่างๆ
Name ตั้งชื่อภาพ ชื่อชิ้นงาน
Preset เลือกการตั้งค่าที่มีอยู่แล้ว
Width ความกว้างของภาพ
Height ความสูงของภาพ
Resolution ความละเอียด เลือกได้ ตั้งแต่ 72-300 DPI ยิ่งสูงขนาดไฟล์จะยิ่งมีขนาดใหญ่
Color mode เลือกระหว่าง RGB เหมาะกับสื่อดิจิตอล เช่น แบนเนอร์ และ CMYK เหมาะกับสิ่งพิมพ์ เช่น โปสเตอร์)
เมื่อทำการตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กปุ่ม OK เพื่อดำเนินการต่อไป Read the rest of this entry »
iQNewsClip คือบริการคลิปปิ้งข่าวออนไลน์ (กฤตภาคข่าว) ซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย นำเสนอข่าวที่ตัดจากหนังสือพิมพ์กว่า 30 ฉบับ ในรูปแบบของคลิปข่าวที่เป็นภาพสีและขาวดำที่มีความคมชัดสูง จัดเก็บไว้เป็นหมวดหมู่โดยมีฟังก์ชั่นในการสืบค้นข่าวแบบ Full-Text เพื่อความสะดวกในการใช้งาน สามารถเลือกดาวน์โหลดเป็นคลิปข่าวที่เป็นภาพสี หรือขาวดำ ตัวหนังสือสะอาดคมชัดอ่านง่าย และการสืบค้นเป็นแบบ Full-Text คือ สืบค้นได้ถึงเนื้อหาข่าว มิใช่เพียงแค่หัวข้อข่าว สิ่งที่กำหนดประเภทของ iQNewsClip คือ ระยะเวลาของข้อมูลย้อนหลัง ซึ่งมีให้เลือก 2 แบบ คือ (1) ย้อนหลัง 30 วัน และ (2) ย้อนหลัง 30 วัน ณ วันที่เริ่มรับบริการโดยสะสมต่อเนื่องตราบเท่าที่ยังรับบริการอยู่ หากผู้ใช้งานต้องการใช้ข้อมูลย้อนหลังเพื่อการสืบค้นมากกว่า 30 วัน ควรเลือกรับบริการแบบ (2)
ผู้เขียนซึ่งได้รับมอบหมายในการคัดเลือกข่าวตัดจากหนังสือพิมพ์ เสนอผู้บริหาร จึงขอแบ่งปันความรู้ในเรื่องการรวบรวมข่าวกฤตภาคจากการทำงานเป็นขั้นตอนที่เข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้รับความรู้และนำไปใช้ประโยชน์ได้บ้าง
หน้าจอภาพ IQNewsClip
จุลสาร หรือ Pamphlet
เป็นสิ่งพิมพ์อีกประเภทหนึ่ง ที่ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้รวบรวมและจัดหมวดหมู่ พร้อมทั้งลงรายการทางบรรณานุกรมเพื่อให้ผู้ใช้เข้าถึงเนื้อหาที่บรรจุในจุลสารเล่มนั้นๆ หรือเรื่องนั้นๆ ได้
คำว่า จุลสาร สื่อให้ทราบถึงสาระที่เป็นสื่อชิ้นเล็กๆ หรือเล่มเล็กๆ คำว่า จุลสาร บางหน่วยงาน จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่กิจกรรม ใช้ขึ้นต้น เช่น จุลสาร (ชื่อหน่วยงาน) ออกเป็นวาระ ลักษณะเหมือนวารสาร แต่ในบริบทของห้องสมุด จะเก็บสิ่งพิมพ์ประเภท จุลสาร ซึ่งมิได้หมายความถึง การออกเป็นวาระ เหมือนวารสาร แต่เนื่องจากจุลสารมีลักษณะที่เป็นเล่มเล็ก มีจำนวนหน้าไม่มากนัก หรืออาจจะเท่ากับหนังสือเล่มทั่วไป แต่เนื่องจากขนาดของหนังสือเล็กหรือมีความบางเกินไป เมื่อนำมาจัดวางไว้ที่ชั้นหนังสือรวมกับหนังสือที่มีขนาดทั่วๆ ไป จะทำให้ หนังสือเล่มเล็กเหล่านี้ หลุดหรือตกออกจากชั้นหนังสือ ซึ่งอาจจะทำให้ไม่สามารถจัดเรียงได้ตามปรกติ
ดังนั้น ห้องสมุด มักจะจัดเก็บจุลสาร แยกออกมาจากชั้นหนังสือทั่วไป โดยแยกเก็บเป็นคอลเลคชั่นพิเศษ หรือจัดเก็บพิเศษ มีการกำหนดหมวด ซึ่งกำหนดโดยห้องสมุดเอง โดยส่วนมากจะเป็นคำว่า จุลสาร และตามด้วยหมายเลขของจุลสาร หรืออาจจะใช้คำย่อว่า จล เป็นต้น
ศูนย์บรรณสารสนเทศ จะได้รับจุลสาร ในลักษณะที่เป็นการได้รับบริจาค หรือเป็นจะเป็นการแจกจ่าย หรือได้รับเป็นอภินันทนาการ มีการพิจารณาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรหรือเนื้อหา หรือกลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ คัดแยกและจัดหมวด โดยกำหนดว่า จุลสาร และ ตามด้วยหมายเลข ซึ่งเป็นลำดับที่ของจุลสารที่เข้ามา ลงรายการทางบรรณานุกรมเหมือนกับสิ่งพิมพ์ทั่วๆ ไป และให้บริการที่ชั้น 6 Read the rest of this entry »
บรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ต้องศึกษาพัฒนาการในการลงรายการทางบรรณานุกรม เพื่อให้สามารถจัดการกับข้อมูลที่ลงรายการให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ใช้ห้องสมุดให้มากที่สุด การลงรายการทางบรรณานุกรม ก็เพื่อต้องการสร้างช่องทางในการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศ การแสดงผลทรัพยากรสารสนเทศ เพื่อให้มีการสืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อผู้ใช้ข้อมูล
ปัจจุบัน คำว่า RDA หรือ Resource Description and Access เป็นคำที่ได้ยินกันหนาหูในกลุ่มบรรณารักษ์วิเคราะห์และทำรายการทางบรรณานุกรม ว่าจะมาแทนที่ AACR II ผู้เขียน จึงได้ศึกษาและสรุป RDA จากผู้รู้ ไว้ดังนี้
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับมาตรฐาน RDA Read the rest of this entry »
ปัญหาที่พบบ่อยในห้องสมุดอีกข้อหนึ่งก็คือ ก็คือ หนังสือชำรุด อาจมีสาเหตุมาจาก
วิธีการดูแลหนังสืออย่างถูกวิธี
1. หยิบด้วยมือที่แห้ง
2.เปิดหนังสือให้ถูกวิธี โดย