ในระบบการสืบค้นฐานข้อมูล มักจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ใส่คำค้นในช่องทางการสืบค้นจากกล่องการสืบค้น จากเขตข้อมูลจากสืบค้นจากเขตข้อมูลที่ระบบนั้น ๆ กำหนดเป็นคำค้น สำหรับฐานข้อมูลห้องสมุด เช่นเดียวกัน เก็บคำค้นจากเขตข้อมูลใดบ้าง มักจะระบุในกล่องการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง ISBN เป็นต้น
ตัวอย่าง กล่องการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services-WMS ระบบมีเขตข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้เลือกเป็นตัวช่วยค้น และมีตรรกะบูลีน (AND OR NOT) เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการสืบค้นให้ด้วย
รูปที่ 1 คำค้น (Index) ในกล่องการสืบค้น
นอกจากการสืบค้นจากกล่องหรือช่องทางการสืบค้นที่ระบบให้มา ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้หรือบรรณารักษ์ สามารถที่จะพิมพ์หรือใส่คำค้นในเขตข้อมูลที่ต้องการจะค้น ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเรียนรู้ ตัวระบุเขตข้อมูลในการค้น หรือตัวที่ระบบนำมาทำเป็นคำค้น (Index labels) ซึ่งจะเป็นตัวย่อ เพื่อจะได้กำหนดการค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการมากขึ้น บทความนี้ สรุปความบางส่วนและนำตัวอย่างจาก Index labels and examples of an expert search in WorldCat [1] ซึ่งเสนอตัวย่อในการกำหนดคำค้น พร้อมตัวอย่าง และลักษณะของการเก็บคำค้น ทำให้สามารถที่จะค้นได้ตรงมากขึ้น
คำแนะนำในการค้น
1. ใช้เครื่องหมายโคลอน ( : ) หลังคำค้น เช่น au: wang ถ้าไม่แน่ใจคำค้น เช่น การสะกด
2. ใช้เครื่องหมาย เท่ากับ ( = ) หลังคำค้น เช่น au=saint-arroman, august สำหรับคำค้นที่ทราบคำที่แน่ชัด หรือถูกต้อง
Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น
Current Search – Keep selections for subsequent searches
เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »
บทบาทของห้องสมุดมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นเรื่อย ๆ จากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็นสำคัญ รวมทั้งการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ที่ทำให้ไลฟ์สไตล์การอ่านหนังสือ และการใช้ห้องสมุดเปลี่ยนไป
การใช้หนังสือในห้องสมุดลดลง เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็นดิจิทัลเข้ามาแทนที่ ทำให้เข้าถึงได้ทางออนไลน์ บทบาทในการเน้นการยืมหนังสือเล่มจึงลดน้อยลง ลักษณะทางกายภาพเริ่มไม่ตอบสนองกับการใช้บริการในปัจจุบัน ห้องสมุดต้องปรับบทบาทเพื่อเสริมการเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ เป็นแหล่งเสริมทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ห้องสมุดที่อยู่ในยุคที่เกิดมาพร้อมกับสื่อดิจิทัล
ห้องสมุดมีการปรับเปลี่ยนการใช้ประโยชน์จากการใช้พื้นที่ (Space Utilization) เพื่อตอบสนองความต้องการพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน การทำงานกลุ่ม การศึกษาค้นคว้าร่วมกัน เพื่อมุ่งส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา (Critical Thinking and Problem Solving) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration ) รวมทั้งการสื่อสาร (Communication) และจากคำกล่าวของ จอห์น ซีลีย์ บราวน์, 2000 อ้างถึงใน วัฒนชัย วินิจจะกูล, 2560 น.61 ที่ว่า “การเรียนรู้ทุกประการเริ่มต้นที่การสนทนา” ทำให้ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ได้ปรับพื้นที่เพื่อการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีความร่วมมือในหลาย ๆ ด้านกับหอสมุดแห่งชาติ เริ่มจากความร่วมมือเพื่อการดิจิไทซ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย เพื่อเป็นการอนุรักษ์หนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย มีการจัดเก็บในระยะยาวและเพื่อให้สามารถสืบค้นได้ ศูนย์บรรณสารสนเทศ มีพัฒนาการความร่วมมือในด้านต่างๆ กับหอสมุดแห่งชาติ ดังนี้
ศูนย์บรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการบันทึกความร่วมมือทางวิชาการกับหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ในโครงการจัดทำสำเนาหนังสือพิมพ์จีนในประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551 ในการนำหนังสือพิมพ์ภาษาจีนเก่าทุกฉบับที่ตีพิมพ์ในประเทศไทย ทั้งรายวัน รายสองวัน และรายสัปดาห์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2460 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นเอกสารอันมีคุณค่า เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสงวนรักษาหนังสือพิมพ์จีน และเพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้าวิจัย
การลงนามความร่วมมือระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ณ ห้องรับรอง ชั้น 4 อาคารอำนวยการ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
การลงนามความร่วมมือการทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่างสำนักหอสมุดแห่งชาติและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
สาระสำคัญของบันทึดข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การทำสำเนาหนังสือพิมพ์ภาษาจีนในประเทศไทย ระหว่าง กรมศิลปากร กับ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ Read the rest of this entry »
ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)
การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก
ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ Read the rest of this entry »
จากการฟังสัมภาษณ์รองศาสตราจารย์ ดร. ศากุน บุญอิต อาจารย์ประจำสาขาบริหารการปฏิบัติการ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับโลกหลายฉบับ เรื่องการทำงานวิจัย โดย ศ.ดร.นภดล ร่มโพธิ์ ผ่าน YouTube https://youtu.be/mLu5iing7Tk น่าสนใจทีเดียว ขอสรุปสั้น ๆ ดังนี้
ในแง่ของนักศึกษาระดับปริญญเอก
อาจารย์ ศากุน แชร์ให้ฟังว่า การสอนในระดับปริญญาเอก จะเริ่มต้นด้วยการให้อ่านมาก ๆ ให้ตึกผลึกก่อน แล้วค่อยหาหัวข้อ วิจัย หลังการเรียน course work ควรเป็นเรื่องของการอ่าน ไม่อย่างนั้นจะไม่เป็น high abstract thinking
การทำวิจัย การเรียนปริญญาเอก การตีพิมพ์ คล้าย ๆ กัน คือ เป็นการเดินทาง (journey) ดังนั้น ต้องไม่ท้อใจ ต้องเรียนรู้ว่าเป็น journey พอเป็น journey ก็ต้องพบอะไรต่อมิอะไร แต่อย่าเพิ่งท้อใจ และเลิกไป จะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ไปทำงาน ไปสอน ก็ไม่จบ ต้องไปทางหลักจึงจะถึงจุดหมาย
ในแง่ของอาจารย์
การเป็นอาจารย์มีหน้าหลัก ๆ 3 อย่าง คือ สอน ทำวิจัย และบริการวิชาการ ซึ่ง 3 อย่างนี้เลือกไม่ได้ ต้องทำทุกอย่าง ครู กับ อาจารย์ นักวิชาการ ความหมายต่างกัน ครู หน้าที่หลัก คือ ทำหน้าที่สอน แต่พอเป็นอาจารย์และนักวิชาการ หน้าที่หลักมี 3 อย่าง ตามที่บอก วิจัย คือ 1 ในนั้น ดังนั้น อาชีพอาจารย์ การทำวิจัยไม่ใช่ทางเลือก แต่ต้องทำ ถึงต้องมีเกณฑ์ว่า เท่านั้น ปี ต้องตีพิมพ์ แล้วถึงต่อสัญญา ซึ่ง จริง ๆ ก็ถูก เพราะเป็นพันธกิจของอาจารย์ที่ต้องทำ ถ้าวิจัยในอาชีพอาจารย์ เป็น A Must ก็ต้องแบ่งเวลามาทำ ถ้าทำวิจัยวันละ 2 ชม. มี paper ออกมาแน่นอน ปัญหาหลัก คือ ไม่ทำมากกว่า เพราะมีทางเลือก จึงไม่ทำ ต้องเริ่มที่ mindset ว่า วิจัย เป็น A Must ที่ต้องทำ ไม่ใช่ทางเลือก เหมือนกับเป็นอาจารย์ ก็ต้องไปสอน
การทำวิจัยให้คิด 3 เรื่อง
1. โจทย์วิจัยมีความสำคัญหรือไม่ สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติ
2. กระบวนการทำวิจัย เข้มข้น เข้มแข็งพอหรือไม่ มีความชัดเจน หรือไม่
3. ผลที่ได้น่าเชื่อถือ กับโจทย์ที่ตั้งมาหรือต้องการวัดหรือไม่
อ้างอิง
ศากุน บุญอิต. (2563, พฤษภาคม 10) การทำวิจัย. [Video file). สืบค้นจาก https://youtu.be/mLu5iing7Tk
เป็นเทศกาลประจำปีตามประเพณี(年节หรือ传统节日) ที่สำคัญของชาวจีน ที่แสดงออกถึงความกตัญญูความเคารพและการระลึกถึงบรรพบุรุษ คำว่า”เช็งเม้ง”นั้นเรียกตามสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางเรียกว่า “ชิงหมิง” เมื่อพูดคำเต็มว่า”ชิงหมิงเจี๋ย”ก็หมายถึงเทศกาลเช็งเม้งนั่นเองเทศกาลนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยชุนชิว (ก่อนคริสตศักราช 770 ปี ถึงก่อนคริสตศักราช 476ปี) เทศกาลนี้นอกจากเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษแล้ว ยังให้ความสำคัญกับข้าราชการตงฉินชื่อเจี้ยจื่อทุย (介子推) แห่งรัฐจิ้น (晋国) ด้วย โดยทางการห้ามมีการก่อไฟในบ้าน (禁火) และให้กินอาหารเย็นๆ เรียกว่า”หานสือ”(寒食) เป็นช่วงเวลายาวกว่า 3 เดือน เมื่อหมดช่วงหานสือชาวบ้านจะได้เชื้อไฟจากในวังที่พระจักพรรดิ์ทรงพระราชทานให้เหล่าเสนาบดี จากนั้นแล้ว ชาวบ้านจึงสามารถติดไฟปรุงอาหารร้อนได้ ต่อมาทางการเห็นว่าไม่สมควร ในสมัยราชวงศ์ถัง(ค.ศ.618-ค.ศ.907) จึงลดวัน”หานสือ” ให้น้อยลง และเน้นความสำคัญในการเซ่นไหว้บรรพบุรุษมากขึ้น รวมทั้งการทำความสะอาดสุสาน การอาบน้ำที่ริมแม่น้ำที่เรียกว่า”ฝูเซีย”(祓褉) เพื่อเป็นสิริมงคลให้ห่างไกลจากภัยพิบัติ การท่องเที่ยวนอกเมือง ในสมัยพระเจ้าถังเสวียนจง (唐玄宗)(ค.ศ.712 –ค.ศ.742) ทรงมีพระราชบัญชาให้ราษฏรหยุดในเทศกาลนี้ 4 วัน ข้อมูลเกี่ยวกับวันเทศกาลนี้ดูได้จากหนังสือ”ถังฮุ่ยเย้า ตอนที่ 82” (《唐会要》卷82) มาถึงสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ(北宋)(ค.ศ.960-ค.ศ.1127 )เทศกาลเช็งเม้งและหานสือได้หยุดรวม 7 วัน ดังที่กล่าวไว้ในหนังสือ ”เหวินชังจ๋าลู่” (《文昌杂录》) ของผังหยวนอิง (庞元英) ในปี ค.ศ.1935 รัฐบาลประเทศจีน (中华民国) ก่อนตั้งประเทศใหม่ ได้กำหนดวันที่ 5 เดือน 4 ของปีคริสตศักราชเป็นวันเช็งเม้งประจำปี และให้เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการหนึ่งวัน ต่อมาในปี ค.ศ.2007 เดือน 7 วันที่ 12 รัฐบาลมีประกาศให้หยุดวันเช็งเม้งอย่างเป็นทางการ โดยหยุดตามวันที่ปฏิทินจีน หรือปฏิทินหนงลี่ (农历) กำหนดไว้ Read the rest of this entry »
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อิ่มสำราญ (2563) รองคณบดีคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน ได้กล่าวถึง การนำอุปรากร “งิ้ว” มาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน ดังนี้
คณะภาษาและวัฒนธรรมจีน เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรักษา สืบทอด และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับภาษาและวัฒนรรมจีนให้กับนักศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมจีน ซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฉลิมพระเกียรติ
ดังนั้นทางคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน จึงได้นำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีน ซึ่งงิ้ว หรือ อุปรากรจีน (จีน: 戏曲 ; พินอิน: xìqǔ ; อังกฤษ: Chinese opera) เป็นการแสดงที่ผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องราว โดยสมัยนั้นได้นำเอาเหตุการณ์ต่าง ๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง รวมทั้งยังมีการนำเอาความเชื่อทางประเพณีและศาสนาเข้าไปผสมผสานกับการแสดงงิ้วด้วย
การนำความรู้เกี่ยวกับการแสดง งิ้ว หรือ อุปรากรจีน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชาจีนศึกษา และรายวิชาวัฒนธรรมจีนนั้น จะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงความเป็นมาและความสำคัญของวัฒนธรรมจีน โดยผ่านการแต่งกาย การแต่งหน้าของตัวละคร คำร้องและเนื้อหาของการแสดงงิ้ว ได้อย่างง่าย และลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น
ในรายวิชานักศึกษาจะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของงิ้ว และได้มีโอกาสชมการแสดงงิ้ว ได้พูดคุยกับนักแสดงจากคณะงิ้วที่มีชื่อเสียง ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงศิลปและวัฒนธรรมของการแสดงงิ้วอย่างถูกต้อง และเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะภาษาและวัฒนะรรมจีนของทางมหาวิทยาหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติด้านจีนอีกด้วย
ชมคลิป ได้ที่ https://www.facebook.com/tanes.imsamran/videos/10156594345646946/
รายการอ้างอิง
ธเนศ อิ่มสำราญ. (2563, 6 กุมภาพันธ์). เรียนภาษาและวัฒนธรรมจีนโดยผ่านการแสดงอุปรากรจีน“งิ้ว” โดยคณะภาษาและวัฒนธรรมจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. [บทสัมภาษณ์]
ถอดรหัสความหมายภาพมงคลตรุษจีน บรรยายโดย ดร.เจษฎา นิลสงวนเดชะ อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ ห้อง 1111 C ชั้น 11 อาคาร ซี.พี.ทาวเวอร์ ถ.สีลม กทม. จัดโดย อาศรมสยาม-จีนวิทยา วิทยากรได้นำภาพมงคลต่าง ๆ มาเป็นตัวอย่าง และกล่าวถึงที่มาของภาพ ซึ่งภาพมงคลของจีนแต่ละภาพ ล้วนต้องมีความหมาย
ภาพมงคล (จี๋เสียงถูอ้าน (ถูอ้าน = ภาพ)) คือ ภาพที่เป็นศิริมงคล สิ่งที่นำมา เพื่อความเป็นมงคล ของจีนต้องนำมาในสิ่งที่ต้องการ คำว่า จี๋เสียง เริ่มใช้สมัยจ้านกว๋อ จนถึงสมัยราชวงศ์ถัง เป็นเรื่องราวความสุข วาสนา มงคล กุศลธรรม คำว่า เสียง เป็นมิติหมายแห่งความปิติยินดี เฉลิมฉลอง มีความหมายเหมือนกับภาษาไทย คือ สิริมงคล เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ ภาพวาดมงคลนี้ ใช้ติดในเทศกาลตรุษจีน เป็นภาพงานฝีมือ ใช้เวลาในการวาด 4-5 เดือน จึงมีราคาสูง กลายเป็นของขวัญล้ำค่า ภาพที่ติดให้เห็นทั่วไป มักจะเป็นภาพพิมพ์จากภาพวาด ภาพเหล่านี้แฝงอยู่ในชีวิตประจำวันของจีน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ ลายผ้า ภาพวาด ลายตุ๊กตา ลายกระเป๋า ภาพมงคลของจีน ภาพต้องมีความหมาย ความหมายต้องเป็นมงคล ภาพที่เป็นมงคล ต้องมีมงคล 4 ประการ คือ ฟู่ (ทรัพย์สินเงินทอง) กุ้ย (ล้ำค่า มีค่ามาก) โซ่ว (อายุยืนยาว) สี่ (ยินดี)
คนจีนทำความสะอาดบ้านแล้วจะหาซื้อภาพ (ภาพที่วาดในกระดาษ (เหนียนฮว้า = จื่อฮว้า)) มาติด ประดับประดา เนื้อหายุคแรกจะเป็นเทพเจ้า เช่น เทพทวารบาล เพื่อป้องกันสิ่งที่ไม่ดีเข้ามา ติดที่หน้าพระราชวัง พระตำหนักต่างๆ
วิทยากรได้นำภาพจากหมู่บ้านหยางหลิ่วชิง (หยาง คือ ต้นหยาง หลิ่วชิง คือ มีความเขียวขจี) เมืองเทียนจิน อยู่ใกล้ปักกิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ทำภาพวาดทั้งหมู่บ้าน ทุกบ้านมีความถนัดในการวาดภาพ ลงสี ระบายสี แต่ทุกวันนี้ ก็จะลดน้อยลง มีกระดาษ ที่ใช้เขียนพู่กันจีน สารส้ม ใส่ในสี เพราะสีจะไม่หลุดง่าย น้ำหมึก สีหลากหลาย เน้น ยี่ห้อตราหัวม้า เพราะคงทน สีฉูดฉาดสวยงาม
ขั้นตอนการทำมี 5 ขั้นตอน ดังนี้
ทั้งนี้สามารถติดตามชมการบรรยายได้ที่
คลิปบรรยาย
หรือ https://www.youtube.com/watch?v=DCU5Y6m_hQE
เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563 อาศรมสยาม-จีนวิทยา จัดบรรยายหัวข้อ การเรียนรู้ภาษาจีนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 โดย ดร. พิมพร วัฒนากมลกุล อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ บพิตรพิมุข จักรวรรดิ ณ ห้อง 4-0806 ชั้น 8 อาคาร CP All Academy สถาบันจัดการปัญญาภิวัฒน์ โดยมีหัวข้อในการบรรยาย 4 หัวข้อ ได้แก่
ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การเรียนรู้และนวัตกรรม ผ่านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี เพื่อชีวิตและการทำงาน ดังนั้นในการสืบค้นสารสนเทศ จะต้องทราบว่า ต้องการค้นหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร รู้จักแหล่งสารสนเทศหรือเครื่องมือที่จะใช้ค้นหา และต้องรู้จักวิธีการใช้แหล่งสารสนเทศ ฐานข้อมูล หรือเครื่องมือที่ใช้ค้นหา
การสืบค้นสารสนเทศ
เราจึงควรต้องเรียนรู้แหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ และวิธีการค้นหาแหล่งสารสนเทศ หรือเครื่องมือ ให้เหมาะสมกับเรื่องที่้ต้องการค้นหา วิทยากรได้แนะนำ Read the rest of this entry »