SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
Index labels ตัวช่วยในการสืบค้นที่ควรรู้จัก
ม.ค. 13th, 2021 by supaporn

ในระบบการสืบค้นฐานข้อมูล มักจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ใส่คำค้นในช่องทางการสืบค้นจากกล่องการสืบค้น จากเขตข้อมูลจากสืบค้นจากเขตข้อมูลที่ระบบนั้น ๆ กำหนดเป็นคำค้น  สำหรับฐานข้อมูลห้องสมุด เช่นเดียวกัน เก็บคำค้นจากเขตข้อมูลใดบ้าง มักจะระบุในกล่องการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง ISBN เป็นต้น

ตัวอย่าง กล่องการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services-WMS  ระบบมีเขตข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้เลือกเป็นตัวช่วยค้น และมีตรรกะบูลีน (AND OR NOT) เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการสืบค้นให้ด้วย

รูปที่ 1 คำค้น (Index) ในกล่องการสืบค้น

นอกจากการสืบค้นจากกล่องหรือช่องทางการสืบค้นที่ระบบให้มา ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้หรือบรรณารักษ์ สามารถที่จะพิมพ์หรือใส่คำค้นในเขตข้อมูลที่ต้องการจะค้น ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเรียนรู้ ตัวระบุเขตข้อมูลในการค้น หรือตัวที่ระบบนำมาทำเป็นคำค้น (Index  labels) ซึ่งจะเป็นตัวย่อ เพื่อจะได้กำหนดการค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการมากขึ้น บทความนี้ สรุปความบางส่วนและนำตัวอย่างจาก Index labels and examples of an expert search in WorldCat [1]  ซึ่งเสนอตัวย่อในการกำหนดคำค้น พร้อมตัวอย่าง และลักษณะของการเก็บคำค้น ทำให้สามารถที่จะค้นได้ตรงมากขึ้น

คำแนะนำในการค้น

1. ใช้เครื่องหมายโคลอน  ( : )  หลังคำค้น เช่น au: wang  ถ้าไม่แน่ใจคำค้น เช่น การสะกด

2. ใช้เครื่องหมาย เท่ากับ ( = ) หลังคำค้น เช่น au=saint-arroman, august สำหรับคำค้นที่ทราบคำที่แน่ชัด หรือถูกต้อง

Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa