SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
การจัดการชั้นหนังสือ (Shelf Management)
ต.ค. 17th, 2020 by supaporn

ห้องสมุดทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ (ซึ่งก็เป็นหนังสือที่มีสัดส่วนมากกว่าสื่อหรือทรัพยากรสารสนเทศอื่น ๆ) จัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เป็นระบบ ระเบียบ และมีเครื่องมือสืบค้น เพื่อให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทรัพยากรสารสนเทศที่ห้องสมุดให้บริการ เริ่มเปลี่ยนเป็นดิจิทัลมากขึ้น ความสนใจในการอ่านตัวเล่มหนังสือเริ่มลดน้อยลง บทบาทของห้องสมุดในแง่ของการเข้าใช้ห้องสมุดเพื่อการอ่านหนังสือลดลง ห้องสมุดต้องปรับการจัดหาหนังสือเป็นรูปแบบดิจิทัลมากขึ้น ปรับบทบาทการให้บริการผ่านออนไลน์มากกว่าเดิม ปรับบทบาทจากการใช้พื้นที่เพื่อการนั่งอ่านหนังสือ  และในยุคการเรียนการสอนศตวรรษที่ 21 ห้องสมุดต้องปรับพื้นที่นั่งอ่าน ให้เป็นพื้นที่ที่รองรับการใช้งานของผู้เรียนในยุคนี้มากขึ้น  เพราะการเรียนการสอนต้องพัฒนาทักษะของนักศึกษา คือ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Skills) คือ 4 ทักษะที่จำเป็น หรือ 4Csได้แก่ การคิดสร้างสรรค์ (Creativity and Innovation) คิดนอกกรอบและต่อยอดเป็น มีวิจารณญาณ (Critical Thinking and Problem Solving) คิดอย่างมีวิจารณญาณและแก้ปัญหาเองได้ การสื่อสาร (Communication) สื่อสารได้ถูกต้องเหมาะสม และ การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Collaboration)

การปรับพื้นที่ในห้องสมุด ในขณะที่ยังมีหนังสืออยู่เต็มชั้นหนังสือ ห้องสมุดแต่ละแห่งคงจะมีนโยบายในการจัดการตามบริบทของตนเอง เช่น บางแห่งมีพื้นที่ในการจัดเก็บหนังสือแยกต่างหากจากชั้นหนังสือที่ให้บริการทั่วไป เป็นอาคารหรือสถานที่ ที่สามารถใช้เป็นคลังเก็บหนังสือ บางแห่งอาจจะไม่มีพื้นที่จัดเก็บเลย เพราะไม่มีอาคารที่นอกเหนือจากอาคารที่ให้บริการ แต่ไม่ว่าจะเข้าข่ายลักษณะใดก็ตาม การจะดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือที่ให้บริการ ห้องสมุดแต่ละแห่งต้องวางนโยบายในการดึงหนังสือออก

ปัจจัยใดบ้างที่ต้องนำมาพิจารณาในการดึงหนังสือออกจากชั้นหนังสือ Read the rest of this entry »

Shelf management กรณีวิทยานิพนธ์
พ.ค. 4th, 2019 by kalyaraksa

ศูนย์บรรณสารสนเทศมีนโยบายในการจัดพื้นที่ของทรัพยากรสารสนเทศที่ให้บริการ เนื่องจากต้องมีการบริหารจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะในแง่ของการเพิ่มพื้นที่นั่งอ่าน ซึ่งมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายในการขยายพื้นที่ของศูนย์บรรณสารสนเทศ หรือมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ศูนย์บรรณสารสนเทศจึงต้องพิจารณาแนวทางในการจัดการพื้นที่ โดยเริ่มพิจารณาจากทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาทรัพยากรสารสนเทศ ดังนี้

1. ทรัพยากรสารสนเทศประเภททีไม่มีจำเป็นในการให้บริการในลักษณะที่เป็นสิ่งพิมพ์ เนื่องจากมีการดำเนินการในลักษณะที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์แล้ว เช่น วิทยานิพนธ์
2. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีจำนวนมากเกินความต้องการหรือการให้บริการ
3. ทรัพยากรสารสนเทศที่มียอดจำนวนการยืมน้อย
4. ทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเก่า ล้าสมัย เช่น กฎหมาย พระราชบัญญัติต่างๆ เป็นต้น Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa