ในระบบการสืบค้นฐานข้อมูล มักจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ใส่คำค้นในช่องทางการสืบค้นจากกล่องการสืบค้น จากเขตข้อมูลจากสืบค้นจากเขตข้อมูลที่ระบบนั้น ๆ กำหนดเป็นคำค้น สำหรับฐานข้อมูลห้องสมุด เช่นเดียวกัน เก็บคำค้นจากเขตข้อมูลใดบ้าง มักจะระบุในกล่องการสืบค้น เช่น ผู้แต่ง ชื่อเรื่อง คำสำคัญ หัวเรื่อง ISBN เป็นต้น
ตัวอย่าง กล่องการสืบค้นของระบบห้องสมุด WorldShare Management Services-WMS ระบบมีเขตข้อมูลเพื่อให้ผู้ใช้เลือกเป็นตัวช่วยค้น และมีตรรกะบูลีน (AND OR NOT) เพื่อเพิ่มเงื่อนไขในการสืบค้นให้ด้วย
รูปที่ 1 คำค้น (Index) ในกล่องการสืบค้น
นอกจากการสืบค้นจากกล่องหรือช่องทางการสืบค้นที่ระบบให้มา ดังกล่าวแล้ว ผู้ใช้หรือบรรณารักษ์ สามารถที่จะพิมพ์หรือใส่คำค้นในเขตข้อมูลที่ต้องการจะค้น ได้ด้วยตัวเอง แต่ต้องเรียนรู้ ตัวระบุเขตข้อมูลในการค้น หรือตัวที่ระบบนำมาทำเป็นคำค้น (Index labels) ซึ่งจะเป็นตัวย่อ เพื่อจะได้กำหนดการค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการมากขึ้น บทความนี้ สรุปความบางส่วนและนำตัวอย่างจาก Index labels and examples of an expert search in WorldCat [1] ซึ่งเสนอตัวย่อในการกำหนดคำค้น พร้อมตัวอย่าง และลักษณะของการเก็บคำค้น ทำให้สามารถที่จะค้นได้ตรงมากขึ้น
คำแนะนำในการค้น
1. ใช้เครื่องหมายโคลอน ( : ) หลังคำค้น เช่น au: wang ถ้าไม่แน่ใจคำค้น เช่น การสะกด
2. ใช้เครื่องหมาย เท่ากับ ( = ) หลังคำค้น เช่น au=saint-arroman, august สำหรับคำค้นที่ทราบคำที่แน่ชัด หรือถูกต้อง
Read the rest of this entry »
ระบบห้องสมุด WorldShare Management Services หรือ WMS เพิ่มฟังก์ชั่นช่วยในการสืบค้น ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้เป็นตัวช่วยใน (กรอง) การสืบค้น ได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการมากขึ้น ฟังก์ชั่นหรือทางเลือกที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
รูปที่ 1 ตัวกรองการสืบค้น
Current Search – Keep selections for subsequent searches
เมื่อเปิดใช้งานตัวเลือกนี้ search filters ที่ผู้ใช้ได้เลือกไปแล้วนั้นจะยังคงอยู่เพื่อใช้ในการค้นหาในครั้งต่อไป ถ้าปิดตัวเลือกนี้ search filters ที่เคยเลือกไว้จะถูกลบ เมื่อผู้ใช้ได้ค้นหาคำค้นครั้งใหม่ Read the rest of this entry »
ผู้เขียนได้เข้าฟังการบรรยาย เรื่อง บทบาทของบรรณารักษ์และการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ : ประสบการณ์จากการวิจัย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นฤตย์ นิ่มสมบุญ สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานสัมมนาทางวิชาการเรื่อง I-School and data science : knowledge and experience from South Korea วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องกิจกรรม ชั้น 2 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตสรุปความได้โดยสังเขป ดังนี้
การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ คือ การศึกษา และค้นคว้าสารสนเทศอย่างเป็นระบบแล้วนำมาสังเคราะห์ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง โดยต้องเป็นสารสนเทศที่น่าเชื่อถือได้ มีมาตรฐาน โดยการกำหนดเกณฑ์การคัดเลือก ที่มีการตกลงกันไว้ก่อน มีการกำหนดวิธีการสืบค้นที่แม่นยำ เที่ยงตรง และเชื่อถือได้ ดังนั้น การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ จึงมีหลักเกณฑ์ ดังนี้
บรรณารักษ์มีส่วนในการช่วยนักวิจัยในการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ บรรณารักษ์มีหลายบทบาท ตั้งแต่การเป็นผู้แนะนำฐานข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการสืบค้นข้อมูล บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย ในฐานะเป็นที่ปรึกษา ในฐานะเป็นผู้ให้การศึกษา Database Selection การพิจารณาคัดเลือกฐานข้อมูลในการสืบค้น เช่น
Librarian as co-researcher (บรรณารักษ์ในฐานะเป็นผู้ร่วมวิจัย)
มีงานวิจัยรองรับว่า การทำงานกับบรรณารักษ์สามารถเพิ่มคุณภาพในการสืบค้น โดยเฉพาะเมื่อบรรณารักษ์มีความรู้เกี่ยวกับการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ เพราะบรรณารักษ์เชี่ยวชาญด้านกระบวนการกำหนดคำสำคัญและกำหนดหัวเรื่อง Read the rest of this entry »
ในการทำรายงาน การเขียนรายงาน การทำวิทยานิพนธ์ การทำวิจัย หรือการเขียนทางวิชาการ ซึ่งจำเป็นต้องมีการอ้างอิงทรัพยากรสารสนเทศต่างๆ ผู้ใช้บริการมีตัวช่วยที่ทำให้การเขียนรายการอ้างอิง ได้ง่ายขึ้น โดยการสืบค้นจากระบบห้องสมุด WorldShare Management Services (WMS) ซึ่งมีฟังก์ชั่นที่ช่วยในการเขียนรายการอ้างอิงที่สะดวก และทำให้ผู้ใช้บริการจัดทำรายการอ้างอิงได้อย่างง่ายๆ โดย Read the rest of this entry »
ในปัจจุบันเรามักจะใช้โปรแกรม Microsoft Office Word ในการจัดทำเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของการให้ข้อมูล และเมื่อเราต้องการทำเอกสารนั้นให้อยู่ในรูปแบบเดิม หรือรักษาคุณสมบัติของเอกสารนั้นไว้ ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ การจัดหน้ากระดาษ และฟอนต์ จะต้องทำการ Export ไฟล์เอกสารให้อยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็ก และสามารถเปิดได้กับทุกอุปกรณ์
หากเราต้องนำไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF ไปเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือต้องการแชร์ให้ผู้อื่น เราสามารถกำหนดขอบเขตการใช้เอกสารได้โดยการใส่ metadata ให้ไฟล์ PDF เพื่อป้องกับการคัดลอกข้อความ หรือรูปภาพได้โดยง่าย ทำให้ผู้อ่านสามารถเปิดอ่านได้เพียงอย่างเดียว
นอกจากนี้ เอกสารที่ใส่ Metadata และถูกใช้เผยแพร่ลงอินเตอร์เน็ต จะสามารถถูกค้นด้วย Google หรือ Web Search Engine ได้ Search Engine จะหาไฟล์เอกสารเจอได้ จากการใส่ Keywords โดยระบุเป็นคำๆ และคั่นด้วยเครื่องหมาย comma ( , ) ประโยชน์ของ Search Engine คือ เอกสารของเราจะถูกค้นหามากขึ้นจากผู้ใช้ทั่วโลก ที่ค้นหาคำสำคัญ หรือ Keywords ตรงกันกับ Keywords ที่เราใส่ไว้ใน metadata ค่ะ
มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ มีการเรียนการสอนสหกิจศึกษา (Cooperative Education) เป็นระบบการศึกษาที่เน้นประสบการณ์จริงที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กรต่างๆ เสมือนเจ้าหน้าที่หรือ พนักงานชั่วคราว ระยะเวลาที่นักศึกษาไปฝึกปฏิบัติงาน ไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์ ( 1 ภาคการศึกษา) นักศึกษาสหกิจศึกษาต้องทำรายงานวิชาการในหัวข้อเนื้อหาที่นักศึกษาได้ปฏิบัติงานกับหน่วยงาน/องค์กร หรือ หัวข้อที่อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาในสาขาวิชา/ภาควิชากำหนด และมีการส่งตัวเล่มรายงานสหกิจศึกษา ให้กับทางศูนย์บรรณสารสนเทศ เพื่อให้บริการต่อไป
ศูนย์บรรณสารสนเทศ ได้ให้บริการสหกิจศึกษา โดยมีการลงข้อมูลต่างๆ เพื่อให้สืบค้นและเข้าถึงได้ ซึ่งจะได้นำเสนอวิธีการสืบค้นรายงานสหกิจศึกษา ดังนี้ Read the rest of this entry »