ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ
บทคัดย่อ:
ISO22000 ระบบมาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นระบบมาตรฐานสากลกลางที่จัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก 23 ประเทศ เช่น แคนาดา ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน อังกฤษ เบลเยี่ยม อินโดนีเซีย อเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลี และไทย รวมทั้งตัวแทนองค์กรจากอุตสาหกรรมอาหาร เช่น Codex Alimentarius Commission, FAO (Food and agriculute Organization) เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับอาหารมีมาตรฐานเดียวกันในการบริหารจัดการความปลอดภัยด้านอาหาร ซึ่งครอบคลุมทุกองค์กรในห่วงโซ่อาหาร (Food Chain) ตั้งแต่ผู้ผลิตชั้นต้น (Primary Producer) จนถึงผู้บริโภคชั้นสุดท้าย (Final Consumer) ซึ่งเป็นการสร้างความมั่นใจระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย ในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ปัจจุบันมาตรฐานนี้ได้ผ่านการรับรองแล้ว และประกาศใช้ในวันที่ 1 กันยายน 2548 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอาหารให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้น ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารของไทย จะต้องเร่งดำเนินการจัดทำระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ทั้งนี้ เพื่อให้สินค้าอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับในตลาดต่างประเทศ ไม่ถูกกีดกัน สามารถขายได้มากขึ้น และก้าวสู่การเป็นครัวของโลกต่อไป บทความนี้นำเสนอ สาเหตุที่ต้องจัดทำระบบมาตรฐานระบบการรับรองคุณภาพอาหาร มาตรฐานต่างๆ ที่ผู้ประกอบการอาหารควรรู้จัก ระบบมาตรฐานความปลอดภัยด้านอาหาร ISO22000 และรายละเอียดข้อกำหนด ประโยชน์ของระบบ ISO22000
พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2548). ISO22000 : มาตรฐานการบริหารความปลอดภัยด้านอาหาร ที่ต้องใส่ใจ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 54-63.
อ่านบทความฉบับเต็ม
ควอนตัมคอมพิวเตอร์
จากหลักแห่งความไม่แน่นอนของเวิร์นเนอร์ ไฮเซนเบิร์ก (Werner Heisenberg) และอัลกอริทึมของปีเตอร์ ชอร์ (Peter Shor) ได้นำมาสู่การสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีตัวคิวบิต (qubit) หรือควอนตัมบิตเป็นหน่วยแสดผลข้อมูลได้สามสถานะ คือ “0” หรือ “1” หรือ “0,1” ได้พร้อมกันในคราวเดียว โดยที่สถานะการแสดงผลแบบ “0.1” นี้เรียกในทางฟิสิกส์ว่า “superposition state” ขณะที่คอมพิวเตอร์ทั่่วไปแสดงผลข้อมูลเป็นบิต (bit) ได้เพียงสองสถานะคือ “0” หรือ “1” ส่งผลให้ควอนตัมคอมพิวเตอร์มีศักยภาพในการประมวลผลสูงกว่าคอมพิวเตอร์ทั่วไปหรือซูเปอร์คอมพิวเตอร์ อันมีประโยชน์ในการคำนวณโจทย์คณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนและการเข้ารหัสลับ (encryption) เป็นต้น หัวใจสำคัญอีกอย่างหนึ่งของควอนตัมคอมพิวเตอร์ คือ gate operation และ ion traps ซึ่งเหมือนกับการกระทำพื้นฐานทางตรรกศาสตร์ในการสร้างเกทรูปแบบต่างๆ เช่น AND gate OR gate และ XOR gate เป็นต้น พัฒนาการของควอนตัมคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง
ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2548). ควอนตัมคอมพิวเตอร์. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 46-53.
การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
Creating Pattern Practice for Thai ก Clusters for Huachiew Chalermprakiet University Students
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของกลุ่มตัวอย่างนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการพูดเพื่อการสื่อสาร ภาคการศึกษา 1/2547 จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยโดยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าโปรแกรมการอ่านออกเสียงตามแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำที่สร้างขึ้นจำนวน 25 แบบฝึก โดยทำการฝึกในเวลาเรียน 1 ชั่วโมง/ครั้ง/สัปดาห์ และฝึกนอกเวลาเรียน 1 ชั่วโมง/คร้้ง/สัปดาห์ ตลอดระยะเวลา 13 สัปดาห์ แล้วทำการวัดผลด้วยแบบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเสียงควบกล้ำที่ได้ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นจนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าเฉลี่ยและ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผ่านการฝึกการอ่านออกเสียงควบกล้ำมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนการฝึก 72.7 เป็น 95.2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 บ่งชี้ว่าโปรแกรมการฝึกและฝึกการอ่านออกเสียงควบกล้ำนี้มีประสิทธิภาพที่จำนำไปใช้กับนักศึกษาได้ต่อไป
ปราโมทย์ ชูเดช. (2548). การสร้างแบบฝึกอ่านออกเสียงคำควบกล้ำสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ. วารสาร มฉก.วิชาการ 9 (17), 36-45.
การศึกษารูปแบบการสอนกระบวนการพยาบาลที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณต่อความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
A Study of the Methods of Nursing Process Teaching Through Critical Thinking Procedures and Assessment of Decision – Making Ability of HCU Nursing Students
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกระบวนการพยาบาลระหว่างนักศึกษาพยาบาลที่ได้รับการสอนแบบปกติและการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่กำลังศึกษาวิชากระบวนการพยาบาลและการประเมินภาวะสุขภาพ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2546 จำนวน 66 คน ซึ่งได้จากการแบ่งนักศึกษาในชั้นเรียนตามผลการเรียน แล้วสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจากแต่ละกลุ่มผลการเรียน เป็นกลุ่มควบคุม 33 คน กลุ่มทดลอง 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการสอนกระบวนการพยาบาลที่เป็นการสอนแบบปกติและแผนการสอนที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 2) แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 3) แบบประเมินความสามารถในการใช้กระบวนการพยาบาล 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องกระบวนการพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-tes) ผลการศึกษาพบว่า Read the rest of this entry »
ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง
แรงงานเป็นทรัพยากรการผลิตที่สำคัญและมีคุณค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานที่มีทักษะฝีมือ เช่น แรงงานไทย ตลาดการค้าโลกในปัจจุบันมีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ผู้ประกอบการจึงแสวงหาแหล่งผลิตสินค้าที่ดีมีคุณภาพและราคาถูก จึงทำให้บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่มาลงทุนตั้งสถานประกอบการในประเทศไทย ผลตอบแทนที่ได้คือ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สินค้าส่งออกจำนวนมาก ภายใต้การผลิต ในสถานประกอบการยังมีระบบการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม คือ การจ้างเหมาค่าแรง ซึ่งเป็นการจ้างงานที่มีสภาพการทำงานเหมือนพนักงานประจำ แต่ได้รับค่าแรงและสวัสดิการที่ไม่เท่าเทียมกับพนักงานประจำ ไม่ได้รับการดูแลเรื่องสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ลูกจ้างจะถูกผู้ทำธุรกิจนายหน้าค้าแรงงาน ความไม่เท่าเทียมของการจ้างงาน ปัญหาที่คนงานรับเหมาช่วงค่าแรงได้รับข้อสังเกตของการจ้างเหมาช่วงค่าแรง ตัวอย่างการจ้างเหมาช่วงค่าแรงในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และอุตสาหกรรมสิ่งทอ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นเสียงสะท้อนไปยังผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะได้หาแนวทางการแก้ไขต่อไป
พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์. (2549). ปัญหาด้านความปลอดภัยของคนงานรับเหมาช่วงค่าแรง. วารสาร มฉก.วิชาการ 10 (19), 80-89.
การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
An Evaluation of General Education Curriculum, Huachiew Chalermprakiet University
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไประดับปริญญาตรีปีพุทธศักราช 2542 ของมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินชิปป์ (CIPP Model) 4 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยเบื้องต้น กระบวนการ และผลผลิต โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษา จำนวน 329 คน อาจารย์ประจำผู้สอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน 50 คน อาจารย์ที่ปรึกษา จำนวน 105 คน และผู้บังคับบัญชาบัณฑิต จำนวน 299 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3 รูปแบบคือ การวิเคราะห์เอกสาร การสำรวจความคิดเห็น โดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่่วไป คุณลักษณะนักศึกษาตามวัตถุประสงค์ แบบประเมินคุณลักษณะบัณฑิต และการสนทนากลุ่ม (Focus Group discussion) การวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยใช้วิธีการทางสถิติ โดยการคำนวณคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ t-test ได้ผลการประเมิน ดังนี้ Read the rest of this entry »
การศึกษาคุณภาพและดัชนีชี้วัด การดูแลอย่างต่อเนื่องที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
The study of quality and Indicators of family-centred continuing care
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพและดัชนีชี้วัดในการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยครอบครัวเป็นศูนย์กลางตามมุมมองของผู้ป่วย ครอบครัว พยาบาล โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยการวิเคราะห์เปรียบเทียบเชิงเนื้อหา ระหว่างการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ป่วย ผู้ดูแล ครอบครัว และการสนทนากลุ่มกับกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ และการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับแนวคิดการดูแลต่อเนื่องและแนวคิดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง Read the rest of this entry »
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดสมุทรปราการ
A Study of the Relationship between Ethics in Working and the Efficient Administration of the Sub-District Administration Organization (S.D.A.O) in Samutprakarn Province.
การวิจัยเชิงปริมาณเรื่อง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ในจังหวัดสมุทรปราการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. 2) น้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานแต่ละด้านส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. 3) ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานกับประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. และ 4) เปรียบเทียบน้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานแต่ละด้านที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานของ อบต. ที่วิเคราะห์จากผู้บริหาร อบต. และพนักงานส่วนตำบล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหาร อบต. 316 คน และพนักงานส่วนตำบล 165 คน จาก อบต. 16 แห่ง ในจังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม 2 ชุด เพื่อวัดประสิทธิภาพ และวัดองค์ประกอบด้านจริยธรรมในการทำงานของกลุ่มตัวอย่าง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางสังคมศาสตร์ด้วยคอมพิวเตอร์ Read the rest of this entry »
ข้อผิดพลาดในการตรวจวัดควันดำจากระบบกระดาษกรอง
Mistakes in Black Smoke Detection when using Filter Paper System
ควันดำที่เกิดจากยานพาหนะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศสำหรับเมืองใหญ่ ยานพาหนะทุกคันที่มีอายุเกิน 7 ปีต้องได้รับการตรวจสภาพและตรวจสอบควันดำจากท่อไอเสีย มาตรฐานการตรวจวัดควันดำจากรถยนต์ดีเซลได้ระบุให้ใช้เครื่องมือวัดควันดำไว้สองระบบ คือ ระบบกระดาษกรอง และระบบวัดความทึบแสง ในปัจจุบันพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังใช้เครื่องมือวัดควันดำแบบระบบกระดาษกรอง ซึ่งมักพบข้อผิดพลาดในการตรวจวัดที่ทำให้ผลการวัดค่าควันดำมีค่ามากกว่าปกติ เช่น การจัดสภาพของเครื่องยนต์ที่ยังไม่เหมาะสมในการตรวจวัด การเปิดแอร์ขณะตรวจวัด การไม่ทำความสะอาดเครื่อง ตรวจวัดควันดำหรือไม่ได้ไล่เขม่าจากท่อไอเสีย และข้อผิดพลาดที่ทำให้ผลการตรวจวัดควันดำมีค่าต่ำกว่าปกติ เช่น จังหวะในการเหยียบคันเร่งที่ไม่เหมาะสม เร่งเครื่องด้วยอัตราเร่งต่ำหรือเร่งเครื่องยนต์ไม่สุดคันเร่ง และการใช้กระดาษกรองผิดวิธีการนำกระดาษทึบแสงมารองอ่านค่าแทนกระดาษกรองสะอาด เป็นต้น จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่ต้องทราบเพื่อให้สามารถหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์หรือซื้ออุปกรณ์ลดควันดำมาติดตั้ง ส่งผลให้ผลการตรวจวัดควันดำถูกต้องเป็นจริงและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนสูงสุด Read the rest of this entry »
อุปกรณดักจับฝุนละออง
Particle Collection Devices
การบำบัดฝุ่นละอองที่เกิดจากแหล่งกำเนิดที่อยู่กับที่ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม ทำได้โดยใช้อุปกรณ์ดักจับฝุ่นซึ่งมีทั้งสิ้น 5 ประเภท ได้แก่ ระบบคัดแยกที่อาศัยการตกเนื่องจากน้ำหนักฝุ่น ระบบไซโคลน เครื่องดักจับด้วยหยดน้ำ ถุงกรอง และเครื่องดักฝุ่นแบบไฟฟ้าสถิตย์ โดยถุงกรองจัดเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการดักจับฝุ่นที่มีขนาดเล็กมาก (น้อยกว่า 0.1 ไมครอน) แต่ต้องการพื้นที่ในการติดตั้งมาก ในขณะที่ระบบอื่นไม่สามารถดักจับฝุ่นขนาดเล็กมากได้ แต่ก็ใช้พื้นที่น้อยกว่า เช่น ระบบไซโคลน บางระบบควบคุมการทำงานได้ง่ายกว่า เช่น เครื่องดักจับด้วยหยดน้ำ นอกจากนี้ การออกแบบระบบที่ต่างกัน เช่น การใช้ระยะมาตรฐานของระบบไซโคลน หรือการใช้ระบบทำความสะอาดถุงกรองในการออกแบบ รวมทั้งลักษณะของอุปกรณ์ ราคา และตัวชี้วัดในการควบคุมการทำงาน ก็เป็นอีกปัจจัยในการพิจารณาเลือกใช้อุปกรณ์บำบัดฝุ่น Read the rest of this entry »