SIDEBAR
»
S
I
D
E
B
A
R
«
ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแนวทางแก้ไข
มี.ค. 5th, 2016 by rungtiwa

ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแนวทางแก้ไข

บทคัดย่อ:

การเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา ทำให้เกิดสารประกอบคลอรีนและคลอไรด์ตกค้างในน้ำ เป็นผลให้ผู้ใช้น้ำไม่ว่าจะเป็นประชาชน หรือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมได้รับผลจากการตกค้างของคลอรีนและคลอไรด์ โดยในส่วนที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก คือ ผู้ประกอบการที่ต้องการน้ำที่ได้คุณภาพตามวัตถุประสงค์ของการผลิต ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากคลอรีนและคลอไรด์ในน้ำประปานั้นได้แก่ ปัญหาการกัดกร่อนโลหะ เนื่องจากคลอไรด์ ปัญหาการกัดกร่อนของเรซินและเยื่อเมมเบรนเนื่องจากคลอรีน ปัญหาการฟอกสีของสารเคมีที่ใช้ฟอกย้อมเนื่องจากคลอรีน ฯลฯ ดังนั้น สำหรับผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่ต้องหาแนวทางในการกำจัดคลอรีนและคลอไรด์ออกจากน้ำ ก่อนที่จะนำน้ำไปใช้ในกระบวนการผลิต โดยการกำจัดคลอรีนสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การตั้งทิ้งไว้ให้คลอรีนระเหยออก การใช้ถ่านกัมมันต์ดูดซัลคลอรีน การเติมก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อเปลี่ยนรูปคลอรีน หรือการเติมสารเคมีอื่นเพื่อเปลี่ยนรูปคลอรีน ในส่วนการกำจัดคลอไรด์สามารถทำได้โดยใช้ เรซินแลกเปลี่ยนอิออน

ธีรวิทย์ ปูผ้า ยิ่งเจริญ คูสกุลรัตน์ และ วรพจน์ กนกกันฑพงษ์. (2548). ปัญหาคลอรีน คลอไรด์ ในน้ำประปาที่ใช้ในอุตสาหกรรม และแนวทางแก้ไข. วารสาร มฉก.วิชาการ 8 (16), 97-105.

อ่านบทความฉบับเต็ม

ข้อผิดพลาดในการตรวจวัดควันดำจากระบบกระดาษกรอง
ก.พ. 28th, 2016 by rungtiwa

ข้อผิดพลาดในการตรวจวัดควันดำจากระบบกระดาษกรอง

Mistakes in Black Smoke Detection when using Filter Paper System

บทคัดย่อ:

ควันดำที่เกิดจากยานพาหนะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศสำหรับเมืองใหญ่ ยานพาหนะทุกคันที่มีอายุเกิน 7 ปีต้องได้รับการตรวจสภาพและตรวจสอบควันดำจากท่อไอเสีย มาตรฐานการตรวจวัดควันดำจากรถยนต์ดีเซลได้ระบุให้ใช้เครื่องมือวัดควันดำไว้สองระบบ คือ ระบบกระดาษกรอง และระบบวัดความทึบแสง ในปัจจุบันพนักงานเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ยังใช้เครื่องมือวัดควันดำแบบระบบกระดาษกรอง ซึ่งมักพบข้อผิดพลาดในการตรวจวัดที่ทำให้ผลการวัดค่าควันดำมีค่ามากกว่าปกติ เช่น การจัดสภาพของเครื่องยนต์ที่ยังไม่เหมาะสมในการตรวจวัด การเปิดแอร์ขณะตรวจวัด การไม่ทำความสะอาดเครื่อง ตรวจวัดควันดำหรือไม่ได้ไล่เขม่าจากท่อไอเสีย และข้อผิดพลาดที่ทำให้ผลการตรวจวัดควันดำมีค่าต่ำกว่าปกติ เช่น จังหวะในการเหยียบคันเร่งที่ไม่เหมาะสม เร่งเครื่องด้วยอัตราเร่งต่ำหรือเร่งเครื่องยนต์ไม่สุดคันเร่ง และการใช้กระดาษกรองผิดวิธีการนำกระดาษทึบแสงมารองอ่านค่าแทนกระดาษกรองสะอาด เป็นต้น จากข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นเหล่านี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับประชาชนที่ต้องทราบเพื่อให้สามารถหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะปรับปรุงสภาพเครื่องยนต์หรือซื้ออุปกรณ์ลดควันดำมาติดตั้ง ส่งผลให้ผลการตรวจวัดควันดำถูกต้องเป็นจริงและก่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ประชาชนสูงสุด Read the rest of this entry »

»  Substance:WordPress   »  Style:Ahren Ahimsa